คุณลักษณะและพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวอาเซียนและแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ตอบสนองต่อนักท่องเที่ยวอาเซียน

ผู้แต่ง

  • อาหวัง ล่านุ้ย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

บทคัดย่อ

                 การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา คุณลักษณะและพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวอาเซียน และแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ตอบสนองต่อนักท่องเที่ยวอาเซียน โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรเป็นนักท่องเที่ยวอาเซียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ 150 ราย ใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่า IOC เท่ากับ 0.83 รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าสถิติ การวิจัยเชิงคุณภาพสัมภาษณ์เจาะลึกนักท่องเที่ยวที่เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 15 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิเคราะห์เนื้อหา
                ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20-29 ปี สถานภาพโสด มาจากมาเลเซีย การศึกษาระดับอนุปริญญา-ปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทรายได้ต่อเดือน 20,001-30,000 บาท มีคนที่รู้จักพื้นที่หรือสามารถสื่อสารกับคนในพื้นที่เป็นผู้นำกลุ่มเข้ามาช่วงวันหยุด โดยเดินทางผ่านด่านสะเดาและใช้รถทัวร์-รถตู้เป็นพาหนะ ได้รับข้อมูลข่าวสารจากประสบการณ์ของตนเองหรือเพื่อนในกลุ่ม เดินทางเข้ามากับเพื่อนครั้งละ 1-3 วัน ปีละ 1-5 ครั้ง พักค้างคืนที่โรมแรม เสียค่าใช้จ่ายครั้งละ 10,000-20,000 บาท โดยมีเป้าหมายหลักอยู่ที่เขตเมืองหาดใหญ่ หลังจากนั้นจะไปท่องเที่ยวในพื้นที่อื่นๆ ในพื้นที่จังหวัดแดนภาคใต้ นักท่องเที่ยวเข้ามาเพื่อพักผ่อน ซื้อสินค้า รับประทานอาหารไทยฮาลาล เยี่ยมญาติ ร่วมเทศกาลงานบุญนักท่องเที่ยวตอบสนองต่อแหล่งท่องเที่ยวทุกประเภทอันได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ สถานบันเทิง แหล่งซื้อสินค้า ศาสนสถาน และแหล่งธรรมชาติ อยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาการท่องเที่ยวคือบริการรถรับ-ส่งจากที่พักไปสถานที่ท่องเที่ยว สภาพแวดล้อมบริเวณที่พักไม่เอื้อต่อการ พักผ่อน ไม่มีแหล่งซื้อสินค้า/ของที่ระลึก ไม่สามารถสื่อสารได้อย่างชัดเจนกับบุคคลที่เกี่ยวข้องในการ ท่องเที่ยว

References

กรมการท่องเที่ยว. (ม.ป.ป.). แผนปฏิบัติการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพของประเทศ พ.ศ. 2558 – 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กฤษณ์ รักชาติเจริญ. (2555). ความสำเร็จของการนำนโยบายบริหารแหล่งท่องเที่ยวไปปฏิบัติ. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 8(1), 81-90.

จุฬารัตน์ โฆษะโก, สุนีย์วรกุลชัยวัฒน์, จุฑาภรณ์ คชสารทักษิณ และ จิดาภา ช่วยพันธุ์. (2558). การพัฒนาภาคการท่องเที่ยวเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคใต้สัมมนาวิชาการเศรษฐกิจภาคใต้ ปี 2558: 13 พฤศจิกายน 2558. ส่วนเศรษฐกิจภาค สำนักงานภาคใต้ ธนาคารแห่งประเทศไทย.

ชลลดา แสงมณีศิริสาธิตกิจ และธีรศักดิ์อุ่นอารมณ์เลิศ. (2557). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวตลาดน้ำ ภาคใต้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 6(1), 66-79.

เถกิงศักดิ์ ชัยชาญ. (2556). การพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). การกำหนดขนาดตัวอย่างในการทดสอบสมมุติฐานวิจัย.เอกสารประกอบการบรรยายโครงการ Research Zone จัดโดยศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

พิชัย นิรมานสกุล. (2554). พฤติกรรมการท่องเที่ยวการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ภาพลักษณ์และการยอมรับคุณค่าแบรนด์เมืองท่องเที่ยวไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด, อัครพงศ์ อั้นทอง, พรทิพย์ เธียรธีรวิทย์กุลดา เพ็ชรวรุณ และนุกุล เครือฟู. (2556). เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการท่องเที่ยว. เชียงใหม่: สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ.

ราชกิจจานุเบกษา. (2554). ประกาศคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ เรื่องแผนพัฒนาการ ท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙.สืบค้นจาก http://www.mots.go.th/download/ImplementationOfThePolicy/NotificationOfTheNationalTourismPolicy.PDF

วราพร ฉายกี่. (2556). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อการเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วิมล จิโรจพันธุ์, ประชิด สกุณะพัฒน์ และอุดม เชยกีวงศ์. (2548). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว.

ศิริเพ็ญ ดาบเพชร. (2557). การเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวครั้งแรกและนักท่องเที่ยวซ้ำ. วารสารบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร,9 (2),39-59.

สกุล จริยาแจ่มสิทธิ์ และกวิน วงศ์ลีดี. (2555). การศึกษาเส้นท่องเที่ยวของอาเซียนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). รายงานการศึกษาเรื่องการ พัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=2647

สิริพร อิ่มหุ่น, อำนวย ตันพานิชย์ และธีรนันท์ ตันพานิชย์. (2558). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬาผจญภัย. วารสารศิลปะศาสตร์และวิทยาการจัดการ, 2(2), 202-224.

สุจิตราภรณ์ จุสปาโล. (2556). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา. สุทธิปริทัศน์, 27(84), 28-54.

อกัณห์มณี ลียาชัย และณักษ์ กุลิสร์. (2556). ปัจจัยและผลกระทบของสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีผลต่อธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กในอำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ,4(2), 18-40.

อะหะมะสะมาแอ และ ฮูเซน หมัดหมัน. (2559).ความเห็นของผู้นำชุมชนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐใน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสาร AL-NUR,11(1), 151-164.

Askew,M,& Cohen, E. (2004). Pilgrimage and Prostitution: Contrasting Modes of Border Tourism in Lower South Thailand, Tourism Recreation Research,29(2), 89-104.

IMT-GT. (2015).Green City Action Plan for Songkhla and Hat Yai Municipalities. Retrieved from http://www.adb.org/sites/default/files/related/41572/imt-gt-green-city-action-plan-songkhla-hat-yai-municipalities-march-2015.pdf

Lanui, A. & Bunnag, S. (2017). The Responses of Halal Tourism of Tourism Entrepreneurs in Southern Border Provinces of Thailand. Canadian International Journal of Social Science and Education,12(1), 269-283.

Maud, J. (2011). Sacred tourism and the state: paradoxes of cross-border religious patronage in southern Thailand. Gottingen: Max Planck Institute for the Study of Religious and Ethnic Diversity.

Panakera, C., Willson, G., Ryan, C., & Liu, G. (2011).Considerations for Sustainable Tourism Development in Developing Countries: Perspectives from the South Pacific.TOURISMOS: An International Multidisciplinary Journal of Tourism,6(2), 241-262.

Ramona, F., & Carmen, P.G. (2009).The Relationship between Tourism and Sustainable Development in the European Context. International Business and European Integration, (XVIII),293-298.

Srinivasan, P., Santhosh Kumar, P.K., & Ganesh, L. (2012).Tourism and Economic Growth in Sri Lanka: An ARDL Bounds Testing Approach. The Romanian Economic Journal, XV (45), 211-226.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22