บทบาทของสื่อมวลชนกับการรายงานข่าวในภาวะวิกฤต

ผู้แต่ง

  • พัชราภา เอื้ออมรวนิช คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

บทบาทสื่อ, การรายงานข่าว, ภาวะวิกฤต

บทคัดย่อ

               สื่อมวลชน ถือได้ว่าเป็นฐานันดรหนึ่งที่มีบทบาทอย่างมากทางสังคม ทำหน้าที่หลักในการนำเสนอข่าวสาร เหตุการณ์ ความเป็นไปต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมให้ประชาชนได้รับทราบด้วยความรวดเร็วบนพื้นฐานของความถูกต้อง รอบด้าน และมีความเป็นกลาง การรายงานข่าวสารในภาวะวิกฤตถือเป็นเหตุการณ์ที่สื่อมวลชนต้องเตรียมความพร้อมเป็นอย่างมาก เพื่อทำการสื่อสารให้สาธารณชนไม่เกิดความตระหนกกับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น การเกิดขึ้นของสื่อใหม่ทำให้การรายงานข่าวกลายเป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้น และย่อมส่งผลต่อการรายงานข่าวของสื่อกระแสหลักที่ต้องแข่งขันกับสื่อใหม่บนพื้นฐานความรวดเร็ว แต่ทั้งนี้สื่อมวลชนต้องมีหน้าที่หลักในการกำหนดวาระข่าวสารในภาวะวิกฤตให้ทีความชัดเจนว่าประเด็นใดควรนำเสนอ หรือไม่ควรนำเสนอ เพื่อลดความตื่นตระหนกแก่ผู้รับสาร อีกทั้งยังต้องมีการคัดกรองข้อมูลให้มีความถูกต้องก่อนนำเสนอเสมอ เพราะข้อได้เปรียบของสื่อกระแสหลักคือ เรื่องของความน่าเชื่อถือ ดังนั้นสื่อมวลชนควรเลือกรายงานข่าวบนพื้นฐานของความถูกต้องเป็นหลักก่อนความรวดเร็ว เพราะเมื่อใดก็ตามที่สื่อกระแสหลักพยายามแข่งกับสื่อใหม่แล้ว ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการรายงานข่าวจะลดทอนความน่าเชื่อถือของสื่อกระแสหลักลงไปได้ และอาจส่งผลให้ภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นอยู่เลวร้ายมากขึ้นจากการทำงานของสื่ออีกด้วย

Author Biography

พัชราภา เอื้ออมรวนิช, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต

References

กฤชณัท แสนทวี. (2555). บทบาทหน้าที่ในการนำเสนอข่าวการเมืองของสื่อมวลชนไทย.(รายงานการวิจัย) วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กฤติยา รุจิโชค. (2553). กระบวนการทำข่าวของสำนักข่าวต่างประเทศในประเทศไทย กรณีวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2552-2553. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สื่อสารมวลชน) คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฐานเศรษฐกิจ. (8 กุมภาพันธ์ 2563). กสทช. สั่งห้ามไลฟ์สด จ่าสิบเอกคลัง. สืบค้นจาก https://www.thansettakij.com/content/421118

พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2562). สื่อสังคมออนไลน์ แหล่งข่าวยุคดิจิทัล. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม,9(2), 1-9.

พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2561). สิทธิส่วนบุคคลกับการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน. สืบค้นจาก http://www.presscouncil.or.th/wp-content/uploads/2018/09/610928สิทธิส่วนบุคคลกับการนำเสนอข่าวของสื่อ.pdf

พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2560). สื่อมวลชน : เสรีภาพ และความรับผิดชอบ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 11(4), 9-18.

มาลี บุญศิริพันธ์. (2556). วารสารศาสตร์เบื้องต้น: ปรัชญา และแนวคิด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัฒณี ภูวทิศ. (2551). การสื่อข่าวและการเขียนข่าว. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิริพร วีระโชติ. (2548). ข่าวขั้นสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ. (2563). แนวทางการปฏิบัติงานของสื่อมวลชนในภาวะวิกฤต.สืบค้นจาก http://www.presscouncil.or.th/archives/5186

สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย. (9กรกฎาคม 2561). แถลงการณ์สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.newtv.co.th/news/18211

Hanitzsch, T., & Hoxha, A. (2014). News Production: Theory and Conceptual Framework Generic and conflict influences on the news production process. INFOCORE WP1 Working Paper, 1-21. Retrieved from https://www.infocore.eu/results/

Ma, R. (2005). Media, Crisis, and SARS: An Introduction. Asian Journal of Communication, 15(3), 241-246.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22