การพัฒนาระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
คำสำคัญ:
ระบบฐานข้อมูล,, การพัฒนาระบบ,, ศิษย์เก่าบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการติดตามข้อมูลศิษย์เก่า 2. เพื่อวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า 3. เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า และ 4. เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจในการใช้ระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี โดยการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 ทำการสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการติดตามข้อมูล และสิ่งที่คาดหวังจากระบบฐานข้อมูลศึกษาเก่า ทำการเก็บข้อมูลกับอาจารย์และเจ้าหน้าที่ จำนวน 7 คนศิษย์เก่า จำนวน 60 คน ซึ่งได้นำข้อมูลไปวิเคราะห์ออกแบบ และพัฒนาเป็นระบบฐานข้อมูล โดยพัฒนาจากโปรแกรม PHP (Professional Home Page) และโปรแกรม MySQL และทำการศึกษาต่อในระยะที่ 2 คือการนำระบบฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้และประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ จำนวน 232 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อการติดตามข้อมูลศิษย์เก่าคือปัญหาในการเก็บข้อมูลไม่เป็นระบบ ทำให้ติดต่อกับศิษย์เก่าได้ยาก จึงได้วิเคราะห์และออกแบบระบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่าอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.82 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.351) ผลการประเมินความพึงพอใจของระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่าอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.08 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.836)
References
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. (2564). ประวัติความเป็นมา ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ
และข้อมูลหลักสูตรของคณะวิทยาการจัดการ. สืบค้นจาก https://manage.dru.ac.th/.
ณัฏฐนันท์ ศูนย์จันดา. (2560). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บริษัท ล๊อคอินโฟ จำกัด. (2557). โปรแกรม PHP (Professional Home Page). สืบค้นจาก http://support.loxinfo.co.th/tutorial.asp?where=hosting/php.
ฝ่ายตำราวิชาการคอมพิวเตอร์. (2558). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พีรณัฐ ทองมี และทัศนันท์ ชูโตศรี. (2562). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลนักศึกษาและศิษย์เก่า แขนงวิชาสารสนเทศศึกษา สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2. (1816-1830) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ภาณุพงศ์ ปัญญาดี. (2559). โปรแกรม MySQL. สืบค้นจาก http://www.appserv.org/th.
วิเชียร เปรมชัยสวัสดิ์. (2555). ระบบฐานข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
สมควร สากำ. (2559). ระบบจัดการฐานข้อมูล. กรุงเทพมหานคร: แม็คเอ็ดดูเคชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). นโยบายและแผนเฉพาะด้าน การส่งเสริมและพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 – 2565) (แผนปฏิบัติการ). หน้า 31.
สุจิตรา อดุลย์เกษม และวรัฐา นพพรเจริญกุล. (2560). ระบบฐานข้อมูล (Database systems) (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ท้อป.
อนุชา จ่าสิงห์ และณัฐพงศ์ พลสยม. (2558). การพัฒนาระบบศิษย์เก่าออนไลน์ สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 1(2), 1-8.
อรยา ปรีชาพานิช. (2557). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Design) ฉบับสมบูรณ์. นนทบุรี: ไอดีซี.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2558). ระบบฐานข้อมูล (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2560). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Shelly, G.B. and Rosenblatt H. J. (2012). System Analysis and Design. (Ninth Edition). Boston: Course Technology.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.