การปรับปรุงกระบวนการผลิตและกำลังคนต่อการผลิตเพื่อลดต้นทุนด้านแรงงาน ในอุตสาหกรรมฟาร์มลูกไก่โรงงานปิดจังหวัดชลบุรี -
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้างานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตและกำหนดจำนวนพนักงานที่ใช้ต่อสายการผลิตให้เหมาะสม ซึ่งส่งผลให้สายการผลิตที่มีประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น โดยมุ่งเน้นการลดความสูญเปล่าจาก การทำงานของพนักงานให้น้อยลง และกระบวนการ การออกลูกไก่ ซึ่งการศึกษาค้นคว้างานวิจัยนี้ได้นำหลักการ การศึกษางานและศึกษาเวลาในการทำงาน วิเคราะห์โดยใช้แผนภูมิการทำงานของพนักงานและเครื่องจักร และนำหลักการ ECRS คือทฤษฎีที่ช่วยลดความสูญเสียจากต้นทุนเกิดความเสียหาย หรือต้นทุนที่ไม่ได้สร้างผลตอบแทนใด ๆ ให้กับองค์กร นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มผลผลิตและกำไรให้มากขึ้น เข้ามาวิเคราะห์และหาแนวทางในการปรับปรุงเพื่อลดความสูญเปล่าจากการทำงาน
จากผลการศึกษาพบว่า กระบวนการที่สนใจในการแก้ปัญหาสามารถปรับปรุงและกำหนดมาตรฐานของจำนวนพนักงานได้โดยพิจารณาจากประชากร ได้แก่ พนักงานในฟาร์ม พนักงาน จำนวน 36 คน หัวหน้า จำนวน 4 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 14 และก่อนปรับปรุงเวลาที่ใช้ในการออกลูกไก่ 1 ครั้ง ใช้เวลา 15 ชั่งโมง/ครั้ง หลังจากการปรับปรุงกระบวนการแล้วก็จะใช้เวลาลดลงเหลือ 10 ชั่วโมง/ครั้ง เวลาที่ลดลงได้ เท่ากับ 5 ชั่วโมง และยังส่งผลให้สามารถลดต้นทุนแรงงานลงจากประมาณ 190,512 บาทต่อเดือนเหลือ 126,000 บาทต่อเดือน ต้นทุนแรงงานคนที่ลดลงได้เท่ากับ 64,512 บาทต่อเดือน ถึงแม้ว่าการปรับปรุงมีการลงทุนซื้อเครื่องจักร แต่จากการลดต้นทุนแรงงาน ทำให้มีจุดคุ้มทุน 6-7 เดือน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลธิดา อาษากิจ. (2566). การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์กำเนิดสัญญาณความถี่ด้วยเทคนิคการศึกษางาน, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะวิทยาศาสตร์, ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรมจักรกฤษณ์
จิรวัฒน์ ศรีเอี่ยม. (2566). ฮิวริสติกสำหรับการจัดกำลังคนของสายประกอบที่หลากหลายเพื่อลดต้นทุนแรงงาน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, คณะวิศวกรรมศาสตร์,ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและระบบการผลิต
สุนันท์ ฤกษ์ศิระทัย. (2566). การศึกษาการทำงานเพื่อเพิ่มผลผลิตสำหรับทดสอบหัวอ่านฮาร์ดดิสก์,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, คณะวิศวกรรมศาสตร์, ภาควิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหการ
วุฒิพรศรี ไพโรจน์, เสมอจิตรหอม รสสุคนธ์. (2015). การปรับปรุงกระบวนการผลิตและกำลังคนต่อสายการผลิตเพื่อลด ต้นทุนแรงงาน (No. 90593). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปฐมพงษ์ หอมศรี, จักรพรรณ คงธนะ. (2013). การปรับปรุงประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรม: กรณีศึกษาโรงงานผลิตซอสและ น้ำจิ้มไก่ขนาดกลางและขนาดย่อย. Kasem Bundit Engineering Journal, 3(2), 26-47.
ฉัตรณรงค์ ศักดิ์สุธรรมดี, ประมุข ศรีชัย วงษ์, สามารถ สินทร, ศาสตร์ศิลป์ ละม้ายศรี, กันตินันท์ นามตะ, ธานี ถังทอง. (2565). การพัฒนา ระบบและถ่ายทอดนวัตกรรมเทคโนโลยีการเลี้ยงไก่พื้นเมืองอินทรีย์เชิงธุรกิจแบบครบวงจรเพื่อยก ระดับรายได้ของชุมชนตำบลเก่าย่าดีอำเภอแก้งคร้อจังหวัดชัยภูมิ. วารสารการบริหารการปกครอง และนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(1), 1-14.
Monmongkol, T. (2022). การ ปรับปรุง กระบวนการ ขึ้น รูป แป้งฝุ่น อัด แข็ง เพื่อ ลด ความ สูญ เปล่า: กรณี ศึกษา สาย การ ผลิต แป้งฝุ่น อัด แข็ง บริษัท ตัวอย่าง. Journal of Industrial Technology and Innovation, 1(1), 246556-246556.
Ngamsaard, W., Nakseedee, P., & Ingprasert, N. (2023). การ ปรับปรุง กระบวนการ ผลิต เสื้อผ้า สำเร็จรูป เพื่อ เพิ่ม ประสิทธิภาพ ใน การ ผลิต: กรณี ศึกษา บริษัท ABC จำกัด. The Journal of Industrial Technology, 19(3), 160-176.
ปฐมพงษ์ หอมศรี, & จักรพรรณ คงธนะ. (2013). การปรับปรุงประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรม: กรณีศึกษาโรงงานผลิตซอสและน้ำจิ้มไก่ขนาดกลางและขนาดย่อย. Kasem Bundit Engineering Journal, 3(2), 26-47.
ฉัตรณรงค์ ศักดิ์สุธรรมดี, ประมุข ศรีชัย วงษ์, สามารถ สินทร, ศาสตร์ศิลป์ ละม้ายศรี, กันตินันท์ นามตะ, & ธานี ถังทอง. (2565). การพัฒนาระบบและถ่ายทอดนวัตกรรมเทคโนโลยีการเลี้ยงไก่พื้นเมืองอินทรีย์เชิงธุรกิจแบบครบวงจรเพื่อยกระดับรายได้ของชุมชนตำบลเก่าย่าดีอำเภอแก้งคร้อจังหวัดชัยภูมิ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(1), 1-14.
วุฒิพรศรี ไพโรจน์, & เสมอจิตรหอม รสสุคนธ์. (2015). การปรับปรุงกระบวนการผลิตและกำลังคนต่อสายการผลิตเพื่อลดต้นทุนแรงงาน (No. 90593). การประชุมวิชาการระดับชาติวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วุฒิ ภัทร แก้ว สุวรรณ, & วัน ชัย รัตน วงษ์. (2020, August). ศึกษาแนวทางการลดความสูญเสียของเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต กรณีศึกษา โรงงาน ผลิต เครื่องดื่มแบบบรรจุกระป๋อง. In Rangsit Graduate Research Conference: RGRC (Vol. 15, No. 2563), pp. 1331-1342).