ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซักของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • อังควิภา แนวจำปา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • รัชนี งาสระน้อย ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฝ่ายวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

ร้านสะดวกซัก, การตัดสินใจใช้บิรการ, จังหวัดนครราชสีมา

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมการใช้บริการ ระดับความคิดเห็นปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการใช้บริการร้านสะดวกซัก ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 ตัวอย่าง ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2565- มกราคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณา โดยใช้สถิติค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean)  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ด้วยวิธี Enter

         ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และปัจจัยด้านส่งเสริมการตลาด สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซัก ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ร้อยละ 61 ดังสมการ

         Y = 0.096 + 0.182 ด้านผลิตภัณฑ์ (X1) + 0.148 ด้านส่งเสริมการตลาด (X4)

References

กัลยา ตรีสุชน และอิทธิกร ขำเดช. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการซัก อบ รีดของคนทำงานที่พักอาศัยในคอนโดมิเนียม ในกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 1(1), 116-128.

กอบกาญจน์ เหรียญทอง. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตเศรษฐาสตร์. มหาวิทยาลัยสยาม.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

นภวรรณ คณานุรักษ์. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพท์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: กรีนแอปเปิ้ล กราฟฟิค พริ้นติ้ง.

แบรนด์บุปเฟ่. (2565). ร้านสะดวกซัก. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2566 , จาก https://www.brandbuffet.in.th.

แบรนด์อินไซท์. (2564). เจาะลึกร้านสะดวกซัก Laundry Bar ธุรกิจจากปัจจัย 4 ไม่ต้องใช้พนักงานไม่ต้องเก็บสต็อก. สืบค้น 7 เมษายน 2566 , จาก https://brandinside.asia/laundrybar-laundromat-business.

พรพิณ ประกายสันติสุข. (2550). ลักษณะส่วนบุคคล ค่านิยม ทรัพยากรการท่องเที่ยวและพฤติกรรมการท่องเที่ยว ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนของนักท่องเที่ยวชาวไทยในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เพ็ญรุ่ง จุรีมาศ. (2528). การตลาดของธุรกิจบริการซัก อบ รีดโดยใช้เครื่องในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วชิรวัชร งามละม่อม.(2558). แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับลักษณะประชากรศาสตร์. สืบค้น 17 พฤษภาคม 2566, จาก http://learningofpublic.blogspot.com.

วรินทร์ชญา ภูดิทพรสวัสดิ์ และมนตรี ศรีราชเลา. (2562). ธุรกิจซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญเพื่อลูกฝังวัฒนธรรมการใช้และการรับบริการ ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(1), 263-273.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สุภนิดา รัตนสูตร์. (2564). ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการต่อส่วนประสมการตลาดและความสัมพันธ์ของแบรนด์ตามหมวดหมู่สินค้าที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการแบรนด์ซักผ้าหยอดเหรียญในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). John Wiley & Sons.

Kotler, P., & Keller, K. (2016). Marketing Management (15th ed.). New Jersey: Pearson Education.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Rovinelli, R. J., & Hambleton R. K. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-12