การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น
  • บทความที่จะเสนอขอรับการตีพิมพ์ในวารสารต้องผ่านการตรวจสอบอักขราวิสุทธิ์แล้ว โดยความซ้ำซ้อนและการคัดลอกผลงานของผู้อื่นต้องไม่เกิน 25%
  • เอกสารที่ต้องจัดเตรียม คือ ไฟล์บทความ (ในรูปแบบ Microsoft Word)

คำแนะนำผู้แต่ง

รายละเอียดการส่งบทความต้นฉบับเพื่อขอรับการตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)

 รูปแบบการพิมพ์บทความ

  1. การพิมพ์บทความ พิมพ์ต้นฉบับด้วยโปรแกรม Microsoft Word ขนาดกระดาษ A4 มีความยาวรวมทุกรายการ จำนวน 10-15 หน้า ระยะห่างระหว่างบรรทัด 1 บรรทัด
  2. ระยะขอบการพิมพ์บทความ ด้านบน 2.5 ซม. ด้านล่าง 2 ซม. ด้านซ้าย 3 ซม. ด้านขวา 2 ซม.
  3. ตัวอักษร ใช้แบบอักษร TH SarabunPSK ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีรายละเอียดแต่ละรายการดังต่อไปนี้

รายการ

ลักษณะตัวอักษร

การจัดหน้า

ขนาดตัวอักษร

3.1 ชื่อบทความ

หนา

จัดกึ่งกลาง

20

3.2 ชื่อผู้แต่ง

เอน

ชิดซ้าย

16

3.3 หัวข้อหลัก

หนา

ชิดซ้าย

18

3.4 หัวข้อรอง

หนา

-

16

3.5 บทความ/เนื้อหา

ปกติ

-

16

3.6 การเน้นความ

หนา

-

16

3.7 ชื่อตาราง

หนา

ชิดซ้าย

16

3.8 หัวข้อในตาราง

หนา

ด้านบนตาราง และจัดกึ่งกลาง

14

3.9 ข้อความในตาราง

ปกติ

ชิดซ้าย/จัดกึ่งกลาง

14

3.10 ชื่อภาพ/แผนภูมิ

หนา

ด้านล่างภาพ/แผนภูมิ และจัดกึ่งกลาง

14

 

    *สามารถดูรายละเอียดการส่งบทความเพื่อขอรับการตีพิมพ์ (เพิ่มเติม) ได้ที่

https://drive.google.com/file/d/1xuXpCCpPm14YBtyodIErCj5lj20m9aV2/view?usp=sharing   

       **ประเภทบทความที่รับตีพิมพ์ และแบบฟอร์มการเขียนบทความ (แบบ PDF) สามารถดาวน์โหลดได้ที่

https://drive.google.com/file/d/1MxOZeJumk7DC0fpMJKEjGISho9SlZBFY/view?usp=sharing

     ทั้งนี้ หากท่านต้องการแบบฟอร์มการเขียนบทความ (แบบ Word) สามารถติดต่อได้ที่ E-mail: suchada_sni@vu.ac.th

บทความวิจัย

บทความวิจัย (Research article) เป็นผลงานที่นำข้อมูลมาจากรายงานการวิจัยมาประมวล หรือสรุปออกมาเป็นองค์ความรู้ในรูปแบบที่นำเสนอให้ผู้ประเมินบทความเข้าใจประเด็นต่าง ๆ เช่น ปัญหาวิจัย วิธีการที่นักวิจัยดําเนินการวิจัย สิ่งที่ค้นพบและความหมายของข้อค้นพบ โดยการเผยแพร่อาจนำเสนอในที่ประชุมทางวิชาการ การประชุมวิชาการระดับชาติ การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ วารสารวิชาการระดับชาติ วารสารวิชาการระดับนานาชาติ ซึ่งผลงานวิจัยอาจรวมเป็นเอกสารจากการประชุมวิชาการ หรือการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ

บทความวิชาการ

บทความวิชาการ (Academic article) เป็นงานเขียนขนาดสั้น ซึ่งมีการกำหนดประเด็นที่ชัดเจนโดยผู้เขียนเรียบเรียงจากผลงานทางวิชาการของตนเอง หรือของผู้อื่นในลักษณะที่เป็นการวิเคราะห์ วิจารณ์ หรือเสนอแนวความคิดใหม่ ๆ จากพื้นฐานทางวิชาการนั้น ๆ

บทความปริทัศน์

บทความปริทัศน์ (Review article) เป็นการสำรวจงานวิจัยที่มีอยู่แล้ว เป็นบทความที่ให้ข้อมูลแก่ผู้อ่านบทความ แสดงความเป็นมา อภิปราย และชี้แนวทางการทำวิจัยที่ควรจะเกิดขึ้น บทความที่เรียบเรียงต้องมีการวิเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบกับวรรณกรรมที่มีการดำเนินการมาแล้ว ทำให้เกิดการพัฒนาต่อยอดเป็นองค์ความรู้ใหม่ และมีประโยชน์ต่อวงวิชาการ

บทวิจารณ์หนังสือ

บทวิจารณ์หนังสือ (Book review) เป็นการค้นหาข้อดีและข้อไม่ดีของเรื่องที่จะวิจารณ์ ชี้ให้เห็นข้อบกพร่อง พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขให้ดีขึ้น เป็นการวิจารณ์เพื่อสร้างสรรค์ เป็นการถ่ายทอดความคิดเห็น ชี้จุดเด่น จุดด้อยตลอดจนความรู้สึกเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ อย่างสมเหตุสมผล เช่น ผลงานด้านศิลปกรรม งานวรรณกรรม ข่าวสารบ้านเมือง เหตุการณ์ในสังคม เรื่องราวของบุคคล เป็นต้น มีข้อมูลสนับสนุนความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีอคติต่อสิ่งที่วิจารณ์ ดังนั้น ผู้วิจารณ์ต้องมีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับเรื่องที่วิจารณ์เป็นอย่างดี จะต้องรู้ว่าเป็นหนังสือประเภทใด ใครเป็นผู้แต่ง มีเนื้อเรื่อง วิธีการแต่ง การใช้ภาษาเป็นอย่างไร แล้วจึงสามารถวินิจฉัยคุณค่าของสิ่งที่จะวิจารณ์ได้ว่าดีหรือไม่อย่างไร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประเมินบทความในการตัดสินใจ เลือกชม เลือกอ่านสิ่งนั้น