https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JVU_HS/issue/feed วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2024-12-27T15:08:44+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราพรรณ ตั้งจาตุรโสภณ ajcharapan_tan@vu.ac.th Open Journal Systems <p><strong> วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ISSN : 2985-0428 (Online) </strong></p> <p> เริ่มจัดทำวารสารฉบับแรกเมื่อปี พ.ศ.2566 (ปัจจุบันยังไม่ได้ขอรับการตรวจประเมินคุณภาพวสารสารเพื่อขอเข้าฐานข้อมูล TCI)</p> <p> รับตีพิมพ์เผยแพร่บทความด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ สหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สังคมวิทยา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิเทศศาสตร์ สื่อสารมวลชน ศิลปศาสตร์ ประชากรศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ การจัดการ การตลาด การเงิน การลงทุน การบัญชี ธุรกิจระหว่างประเทศ การท่องเที่ยวและโรงแรม และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง </strong></p> <p><strong> *สามารถดูคู่มือการเตรียมบทความเพื่อขอรับการตีพิมพ์ (เพิ่มเติม) ได้ที่ <a href="https://drive.google.com/file/d/1UGnTMbPRXMAdttiQsXzw7HjBoTWhOSbF/view?usp=sharing">https://drive.google.com/file/d/1UGnTMbPRXMAdttiQsXzw7HjBoTWhOSbF/view?usp=sharing</a></strong></p> <p><strong> **ประเภทบทความที่รับตีพิมพ์ และแบบฟอร์มการเขียนบทความ (แบบ PDF) สามารถดาวน์โหลดได้ที่</strong></p> <p><strong><a href="https://drive.google.com/file/d/1LVm1IHvg3o5_iXjz6byiOXz8PqHd1IaD/view?usp=sharing">https://drive.google.com/file/d/1LVm1IHvg3o5_iXjz6byiOXz8PqHd1IaD/view?usp=sharing</a></strong></p> <p><strong> ทั้งนี้ หากท่านต้องการแบบฟอร์มการเขียนบทความ (แบบ Word) สามารถติดต่อได้ที่ </strong><strong>E-mail: suchada_sni@vu.ac.th</strong></p> https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JVU_HS/article/view/1809 การนำเสนอกรอบการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าและส่วนประสมทางการตลาดในธุรกิจร้านอาหารเกาหลี 2024-12-26T11:50:29+07:00 ชลิต เฉียบพิมาย chalit@nmu.ac.th.com ณัชชา ศรีชื่น Natcha6834@gmail.com ชนานันท์ หวลศรีไทย Chananan@nmu.ac.th ทิพย์มณฑา บรรยงกะเสนา Thipmontha@nmu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าและส่วนประสมทางการตลาดในธุรกิจร้านอาหารเกาหลี โดยใช้แนวคิดพฤติกรรมลูกค้าและแนวคิดส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ รวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิจากการทบทวนวรรณกรรมจากเอกสาร งานวิจัย บทความวิชาการ และดำเนินการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษานี้นำไปสู่แนวทางการพัฒนาธุรกิจดังกล่าวให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ผู้ประกอบการสามารถนำผลจากการศึกษาไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของธุรกิจร้านอาหาร</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JVU_HS/article/view/1810 การสมรสเท่าเทียม : สิทธิในการสมรสสำหรับบุคคลทุกเพศของประเทศไทย 2024-12-26T11:59:39+07:00 วรวิทย์ ชายสวัสดิ์ worawit_cha@vu.ac.th <p><strong> </strong>ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ให้การยอมรับและเห็นถึงความสำคัญของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ LGBTQ เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายตามหลักความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยจะเห็นได้จากของคำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะของศาลรัฐธรรมนูญที่ ๒๐/๒๕๖๔ ที่ว่ารัฐธรรมนูญและกฎหมายปัจจุบันไม่ได้ห้ามเพศเดียวกันใช้ชีวิตคู่ร่วมกันและมีเพศสัมพันธ์กัน ไม่ได้ห้ามจัดพิธีแต่งงาน ไม่ได้ห้ามทำประกันชีวิตระบุให้คู่ชีวิตเป็นผู้ได้รับประโยชน์ โดยเสนอแนะให้รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสมควรพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมาย เพื่อรับรองสิทธิและหน้าที่ของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างเหมาะสมต่อไป อีกทั้งประเทศไทยยังมีพันธกรณีตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 23 ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีและได้ให้สัตยาบันในปี ค.ศ. 1996 ดังนั้น จึงมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายและพาณิชย์ โดยเฉพาะในบรรพ 5 ครอบครัว สาระสำคัญที่เป็นจุดเด่นของการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้คือ การแก้ไขถ้อยคำที่ระบุเพศจากแต่เดิมใช้คำว่า “ชาย” และ “หญิง” เปลี่ยนมาใช้คำว่า “บุคคล,” “ผู้หมั้น,” “ผู้รับหมั้น,” และ “คู่หมั้น” เพื่อให้สามารถทำการหมั้นหรือทำการสมรสได้ การแก้ไขอายุการหมั้นและการสมรสของบุคคลจากอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์เป็นอายุสิบแปดปีบริบูรณ์ การเปลี่ยนจากคำว่า “สามีภริยา” เป็นคำว่า “คู่สมรส” การแก้ไขถ้อยคำกรณีเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจากคำว่า “ในทำนองชู้สาว” เป็นคำว่า “ในทำนองชู้” และเพิ่มเหตุฟ้องหย่าให้สอดคล้องกับลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสเพศเดียวกันโดยเพิ่มเหตุ “กระทำการหรือยอมรับกระทำเพื่อสนองความใคร่” ถึงแม้ว่าการแก้ไขกฎหมายในครั้งนี้จะมุ่งเน้นแก้กฎหมายเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการสมรส เพื่อรับรองสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวแก่บุคคลทุกเพศโดยไม่นำเหตุแห่งเพศสภาพหรือเพศวิถีมาเป็นข้อจำกัดในการจดทะเบียนสมรสดังเช่นกฎหมายในปัจจุบันที่ยังจำกัดว่าการสมรสจะทำได้เฉพาะกรณีทั้งสองฝ่ายเป็นชายและหญิงเท่านั้น แต่ก็ต้องถือว่าในสายของกฎหมายได้ให้การยอมรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศให้มีสถานะทางกฎหมายของการเป็น “คู่หมั้น” หรือ “คู่สมรส” ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายขึ้นระหว่างบุคคลทั้งสอง เช่น หน้าที่ในการอยู่กินกันฉันคู่สมรส หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน สิทธิในการเรียกค่าทดแทน สิทธิในการฟ้องชู้ สิทธิในการรับมรดก เป็นต้น</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JVU_HS/article/view/1804 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการแอปพลิเคชัน GHB ALL GEN ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ในจังหวัดนครราชสีมา 2024-12-26T10:19:28+07:00 ชนิดา สงวนศักดิ์ chanida_sa-@vu.ac.th พิทยา ผ่อนกลาง Pittaya_pon@vu.ac.th <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทดสอบความมีอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปฟลิเคชั่น GHB ALL GEN ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ จังหวัดนครราชสีมา และ 2) ทดสอบความมีอิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีที่มีต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปฟลิเคชั่น GHB ALL GEN ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม จำนวน 400 ตัวอย่างและสถิติที่ใช้ประกอบไปด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ</span></span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"> ผลการวิเคราะห์การทดสอบความมีอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาด พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านส่งเสริมการตลาด มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปพลิเคชัน GHB ALL GEN ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ ด้วยขนาดผลกระทบ 0.446, 0.102 และ 0.422 ตามลำดับ มีค่าพยากรณ์เท่ากับร้อยละ 67.9 ยกเว้น ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปฟลิเคชัน GHB ALL GEN ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์</span></span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"> ผลการวิเคราะห์การทดสอบความมีอิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยี พบว่า ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี ทุกด้าน มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปฟลิเคชัน GHB ALL GEN ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ ด้วยขนาดผลกระทบ 0.686 และ 0.290 มีค่าพยากรณ์เท่ากับร้อยละ 84.5</span></span></p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JVU_HS/article/view/1805 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงามในจังหวัดนครราชสีมา 2024-12-26T10:42:03+07:00 กาญจนาภรณ์ พวงสมบัติ Kanchanaporn_pua@vu.ac.th อธิต ทิวะศะศิธร์ atit_tiw@vu.ac.th <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทดสอบผลกระทบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงามของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา และ 2) ทดสอบผลกระทบปัจจัยคุณภาพบริการที่มีต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงามของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา ใช้แบบสอบถาม โดยการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง จำนวน 400 ตัวอย่าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความปรวนแปรทางเดียว และการวิเคราะห์แบบถดถอยเชิงพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 59.50 โดยส่วนใหญ่มีอายุ 26 – 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 29.25 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 56.75 มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน คิดเป็นร้อยละ 32.75 และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000 – 35,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 48.75 ซึ่งระดับความคิดเห็นของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ คุณภาพการให้บริการ ระดับการตัดสินใจใช้บริการ ในภาพรวมทั้ง 3 ปัจจัย อยู่ในระดับมาก และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงามของผู้บริโภค โดยพบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านกระบวนการ มีอิทธิพลทางตรงต่อการเลือกใช้บริการคลินิกเสริมความงามของผู้บริโภค โดยมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ร้อยละ 41.3 และปัจจัยคุณภาพบริการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงามของผู้บริโภค พบว่า ความเป็นรูปธรรมของบริการ การตอบสนองต่อลูกค้า และการให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า มีอิทธิพลทางตรงต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงามของผู้บริโภค โดยมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ร้อยละ 59.1</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JVU_HS/article/view/1806 พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการจับจ่ายสินค้าที่ระลึกโดยรอบอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา 2024-12-26T10:50:04+07:00 ณัฏฐพงษ์ ฉายแสงประทีป nattapong_chai@vu.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการจับจ่ายสินค้าที่ระลึกโดยรอบอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนคราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 305 คน โดยใช้โปรแกรม G*Power และเก็บกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และสถิติทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่เดินทางมาเที่ยวกับครอบครัว/ญาติ พักที่บ้านเพื่อน/บ้านญาติ ใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในการเดินทาง จับจ่ายสินค้าที่ระลึกเพื่อเป็นสินค้าที่ระลึก และจับจ่ายสินค้าที่ระลึกฝากญาติในโอกาสต่าง ๆ เดินทางมาในวันหยุดนักขัตฤกษ์ (สงกรานต์/ปีใหม่/ตรุษจีน) ค่าใช้จ่าย 501-1,000 บาท ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการจับจ่ายสินค้าที่ระลึกโดยรอบอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านผลิตภัณฑ์มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีเพศและสถานภาพสมรสต่างกัน มีความพึงพอใจในการจับจ่ายสินค้าที่ระลึกไม่แตกต่างกัน ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอื่น ๆ ได้แก่ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการจับจ่ายสินค้าที่ระลึกโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณารายคู่ด้วย Sheffe พบว่า ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐาน</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JVU_HS/article/view/1807 การศึกษาทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดสุรินทร์ 2024-12-26T11:31:49+07:00 โชคดี คู่ทวีกุล pu.chokdee@gmail.com ชวลีย์ ณ ถลาง chawalee.na@up.ac.th <p><strong> </strong>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (9P’s) ของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดสุรินทร์ และ 2) ศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยและทัศคติต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (9P’s) ในการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดสุรินทร์ การวิจัยเชิงปริมาณนี้เก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยในอำเภอเมือง อำเภอท่าตูม อำเภอสำโรงทาบ และอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ รวม 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ อัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติการทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว.โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (9P’s) ด้านบุคลากรมากที่สุด และ 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน สรุปว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์ทุกด้าน ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน การศึกษาสูงสุด สถานภาพ ที่แตกต่างกัน ไม่ทำให้ความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (9P’s) ในการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดสุรินทร์แตกต่างกัน</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JVU_HS/article/view/1808 สมรรถนะทางวิชาชีพบัญชี การบริหารความเสี่ยงที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย 2024-12-26T11:38:55+07:00 ธาริณี อังค์ยศ Tharinee_aun@vu.ac.th สมทรง คันธนที somsong_kha@vu.ac.th พรพิมล ตันประวัติ Tponpimon@yahoo.com <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะทางวิชาชีพบัญชี การบริหารความเสี่ยงที่ส่งผลต่อคุณภาพของรายงานทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 390 ตัวอย่าง ใช้เทคนิคการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) วิธีการสุ่มแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non-Probability sampling) และแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติวิเคราะห์ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM)</p> <p> ผลการพัฒนาแบบจำลองสมการโครงสร้างของสมรรถนะทางวิชาชีพบัญชี และการบริหารความเสี่ยงที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งสมรรถนะทางวิชาชีพบัญชี และการบริหารความเสี่ยงสามารถร่วมกันอธิบายคุณภาพรายงานทางการเงินได้ร้อยละ 65 (R<sup>2</sup> = 0.65) โดยคุณภาพรายงานทางการเงินได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกสูงสุดจากการบริหารความเสี่ยง มีค่าอิทธิพลทางตรง 𝛽 = 0.65 รองลงมาสมรรถนะทางวิชาชีพบัญชีมีค่าอิทธิพลทางตรง 𝛽 = 0.19 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01</p> <p> สรุป วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมควรให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง ได้แก่ ด้านการประเมินความเสี่ยง ด้านการจัดการความเสี่ยง ด้านการระบุความเสี่ยง ด้านการติดตามประเมินผลและการรายงาน และความสำคัญของสมรรถนะทางวิชาชีพบัญชี ได้แก่ ทักษะด้านการจัดการบุคคล ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสาร ทักษะด้านการจัดการองค์กร ทักษะด้านปัญญา และทักษะด้านความรู้ความสามารถเชิงเทคนิค ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ความเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม ความสามารถเข้าใจได้ ความน่าเชื่อถือ และความสามารถเปรียบเทียบได้</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024