วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JVU_HS <p><strong> วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ISSN : 2985-0428 (Online) </strong></p> <p> เริ่มจัดทำวารสารฉบับแรกเมื่อปี พ.ศ.2566 (ปัจจุบันยังไม่ได้ขอรับการตรวจประเมินคุณภาพวสารสารเพื่อขอเข้าฐานข้อมูล TCI)</p> <p> รับตีพิมพ์เผยแพร่บทความด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ สหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สังคมวิทยา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิเทศศาสตร์ สื่อสารมวลชน ศิลปศาสตร์ ประชากรศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ การจัดการ การตลาด การเงิน การลงทุน การบัญชี ธุรกิจระหว่างประเทศ การท่องเที่ยวและโรงแรม และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง </strong></p> <p><strong> *สามารถดูคู่มือการเตรียมบทความเพื่อขอรับการตีพิมพ์ (เพิ่มเติม) ได้ที่ <a href="https://drive.google.com/file/d/1UGnTMbPRXMAdttiQsXzw7HjBoTWhOSbF/view?usp=sharing">https://drive.google.com/file/d/1UGnTMbPRXMAdttiQsXzw7HjBoTWhOSbF/view?usp=sharing</a></strong></p> <p><strong> **ประเภทบทความที่รับตีพิมพ์ และแบบฟอร์มการเขียนบทความ (แบบ PDF) สามารถดาวน์โหลดได้ที่</strong></p> <p><strong><a href="https://drive.google.com/file/d/1MxOZeJumk7DC0fpMJKEjGISho9SlZBFY/view?usp=sharing">https://drive.google.com/file/d/1MxOZeJumk7DC0fpMJKEjGISho9SlZBFY/view?usp=sharing</a></strong></p> <p><strong> ทั้งนี้ หากท่านต้องการแบบฟอร์มการเขียนบทความ (แบบ Word) สามารถติดต่อได้ที่ </strong><strong>E-mail: suchada_sni@vu.ac.th</strong></p> th-TH วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) บทความพิเศษ : สมรสแท้ สมรสเทียม สมรสปลอม https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JVU_HS/article/view/1283 <p>-</p> ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-10 2024-06-10 2 1 1 9 การจัดการประสบการณ์การท่องเที่ยวของชุมชนต้นแบบจาก CBT Thailand Standard 2020 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JVU_HS/article/view/1277 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบริบทพื้นที่ของชุมชนต้นแบบจาก CBT Thailand Standard 2020 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ (2) วิเคราะห์การจัดการประสบการณ์ท่องเที่ยวของชุมชนต้นแบบจาก CBT Thailand Standard 2020 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วมกับผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้นำชุมชนต้นแบบจาก CBT THAILAND STANDARD 2020 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ จำนวน 5 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า &nbsp;&nbsp;</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บริบทการท่องเที่ยวของชุมชนต้นแบบจาก CBT Thailand Standard 2020 กลุ่มภาคเหนือ มีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่หลากหลายมีกิจกรรมท่องเที่ยวทั้งหมด 41 กิจกรรม 3 รูปแบบ ประกอบด้วย 1) รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ 5 กิจกรรม 2) รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม 31 กิจกรรม และ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;3) รูปแบบการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ 5 กิจกรรม จำแนกรายละเอียดรูปแบบการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคเหนือทั้งหมด 7 รูปแบบการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 1) การท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตในชนบท 2) การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ 3) การท่องเที่ยวชมวัฒนธรรมประเพณี 4) การท่องเที่ยวเชิงอาหาร 5) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ&nbsp; 6) การท่องเที่ยวเชิงเกษตร และ 7) การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การจัดการประสบการณ์การท่องเที่ยวของชุมชนต้นแบบจาก CBT Thailand Standard 2020 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ พบว่า มีประสบการณ์ที่ดีที่น่าจดจำมอบให้สำหรับนักท่องเที่ยว ประกอบด้วย 1) การจัดการประสบการณ์นักท่องเที่ยวที่เน้นลงมือปฏิบัติ 4 ชุมชน &nbsp;2) การจัดการประสบการณ์นักท่องเที่ยวที่เน้นเรื่องราว 4 ชุมชน 3) การจัดการประสบการณ์นักท่องเที่ยวที่ใช้ความโดดเด่นของสถานที่ 4 ชุมชน 4) การจัดการประสบการณ์นักท่องเที่ยวที่เน้นทางอารมณ์ความรู้สึก 4 ชุมชนและ 5) การจัดการประสบการณ์นักท่องเที่ยวที่ใช้เหตุการณ์งานประเพณีไม่ปรากฎในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ</p> นรุตม์ชัย สมใจ เฉลิมเกียรติ เฟื่องแก้ว Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-10 2024-06-10 2 1 10 25 พฤติกรรมและความคาดหวังของนักท่องเที่ยวชาวจีนในการเดินทางกลับมาท่องเที่ยวซ้ำประเทศไทย ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JVU_HS/article/view/718 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีน 2) ศึกษาความคาดหวังของนักท่องเที่ยวชาวจีน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีน 4) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์กับความคาดหวังของนักท่องเที่ยวชาวจีน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบสะดวกจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวจีนที่จะเดินทางกลับมาท่องเที่ยวซ้ำในประเทศไทย จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลในระยะเวลา 2 เดือน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยไคสแควร์ t-test และ One-way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า 1) นักท่องเที่ยวชาวจีนเลือกเดินทางในประเทศไทยเพราะมีแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม/มีชื่อเสียง เดินทางไปจังหวัดภูเก็ตกับครอบครัว ใช้วันหยุดพักร้อนประจำปี งบประมาณโดยเฉลี่ยต่อวัน1,001-5,000 บาท เดินทางท่องเที่ยว 1-5 วัน เข้าร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เลือกเข้าพักโรงแรม เคยท่องเที่ยวในประเทศไทย 2 ครั้ง 2) ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวชาวจีนทุกด้านอยู่ในระดับมาก 3) ลักษณะประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.001 4) ลักษณะประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกันมีความคาดหวังของนักท่องเที่ยวชาวจีนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.001</p> ยี่เถา เหวย อธิป จันทร์สุริย์ Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-10 2024-06-10 2 1 26 39 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก ในเขตเทศบาลจังหวัดนครราชสีมา https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JVU_HS/article/view/1279 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากการใช้แอปพลิเคชันติ๊กต๊อก ในเขตพื้นที่เทศบาลจังหวัดนครราชสีมา และปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าการใช้แอปพลิเคชันติ๊กต๊อก ในเขตพื้นที่เทศบาลจังหวัดนครราชสีมา โดยการแจกแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 385 ตัวอย่าง ทำการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็นด้วยวิธีเจาะจงเลือกเพื่อตอบวัตถุประสงค์ โดยใช้สถิติการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ไคสแควร์ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ในทุกด้านมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก โดยในด้านรายได้ต่อเดือนมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกมากกว่าด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด ในทุกด้านมีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก โดยด้านผลิตภัณฑ์ มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์ในระดับ ปานกลาง ด้านราคา มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์ในระดับ ต่ำ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์ในระดับ ปานกลาง และด้านการส่งเสริมการตลาด มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์ในระดับ ปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ปิยพงษ์ นฤมิตสุวิมล พิทยา ผ่อนกลาง Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-10 2024-06-10 2 1 40 56 ปัจจัยส่วนประสมการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารประเภทปิ้งย่างของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JVU_HS/article/view/1280 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยเรื่อง ปัจจัยส่วนประสมการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารประเภทปิ้งย่างของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านอาหารประเภทปิ้งย่าง ระดับความคิดเห็นปัจจัยส่วนประสมการตลาด ระดับความคิดเห็นการตัดสินใจเลือกร้านอาหารประเภทปิ้งย่าง และศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาด (7P) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารประเภทปิ้งย่าง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคอาหารประเภทปิ้งย่างในเขตจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 385 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธี Enter</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนประสมการตลาด (7P) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารประเภทปิ้งย่าง ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R<sup>2</sup>) เท่ากับ 0.907 แสดงว่า ตัวแปรอิสระ คือ ปัจจัยส่วนประสมการตลาด (7P) มีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม คือ การตัดสินใจเลือกร้านอาหารประเภทปิ้งย่าง ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา ร้อยละ 90.70 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีเพียง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากร (X<sub>5</sub>) ด้านส่งเสริมการตลาด (X<sub>4</sub>) และด้านราคา (X<sub>2</sub>) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารประเภทปิ้งย่างของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา Y = -0.008 + 0.684(X<sub>5</sub>) + 0.410(X<sub>4</sub>) – 0.087(X<sub>2</sub>)</p> อังควิภา แนวจำปา รัชนี งาสระน้อย Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-10 2024-06-10 2 1 57 73 เจิดเกิบ: การละเล่นพื้นบ้านในจังหวัดศรีสะเกษ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JVU_HS/article/view/1191 <p> เจิดเกิบ เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่ได้รับนิยมในอดีตของเด็กในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษและหลายจังหวัดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปกรณ์ประกอบการเล่นและวิธีการเล่นเจิดเกิบที่นิยมเล่นในจังหวัดศรีสะเกษ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและทบทวนจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 ใช้แบบสอบถามปลายเปิดที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นนักศึกษา จำนวน 100 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง ขั้นตอนที่ 3 ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม ในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักที่เคยมีประสบการณ์การเล่นเจิดเกิบ จำนวน 28 คน และขั้นตอนที่ 4 ทดลองเล่นจริง โดยใช้ผู้ให้ข้อมูลหลักที่เคยมีประสบการณ์การเล่น จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการตรวจสอบสามเส้าเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ ผลการศึกษาพบว่า การละเล่นเจิดเกิบที่พบในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ มี 4 รูปแบบ คือ การละเล่นเจิดเกิบรูปแบบพื้นฐาน รูปแบบสร้างกระโจม รูปแบบสร้างพีระมิด และรูปแบบวงกลม โดยอุปกรณ์ประกอบการเล่นที่สำคัญของทั้ง 4 รูปแบบคือ รองเท้าแตะจำนวน 1 คู่ ส่วนรูปแบบสร้างกระโจมใช้ซี่ไม้ไผ่ประกอบการเล่น และรูปแบบพีระมิดใช้กระป๋องประกอบการเล่น ซึ่งจำนวนผู้เล่น สถานที่ในการเล่น (สนาม) กฎ กติกา วิธีการเล่น และการแพ้-ชนะ ไม่แตกต่างกันมากนัก เน้นเพื่อความสนุกสนานมากกว่าการแพ้ชนะ</p> เตชภณ ทองเติม เมธาวุฒิ พงษ์ธนู พิทักษ์ มีดี น้ำผึ้ง ท่าคล่อง จีรนันท์ แก้วมา Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-10 2024-06-10 2 1 74 87 แนวทางการพัฒนาแหล่งนันทนาการเพื่อการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาสวนสาธารณะและสวนพฤกษชาติศรีนครเขื่อนขันธ์ ตำบลบางกระเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JVU_HS/article/view/1072 <p> บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวทางของการพัฒนาแหล่งนันทนาการ เพื่อการท่องเที่ยวกรณีศึกษาสวนสาธารณะและสวนพฤกษชาติศรีนครเขื่อนขันธ์ตำบลบางกระเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นกรณีศึกษานำไปสู่การนำเสนอแนวทางการพัฒนาแหล่งนันทนาการเพื่อการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับบริบทเชิงพื้นที่และสอดคล้องตามแผนพัฒนานันทนาการแห่งชาติ โดยใช้วิธีการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิจากการทบทวนวรรณกรรม เพื่อศึกษาบริบทเชิงพื้นที่และแนวคิดและทฤษฎีที่สอดคล้องกับประเด็นที่ทำการศึกษาเพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นที่ศึกษา และการศึกษาข้อมูลปฐมภูมิจากการสำรวจศักยภาพของพื้นที่โดยใช้แบบประเมินเป็นเครื่องมือในการศึกษา นำไปสู่การเสนอแนวทางการพัฒนาแหล่งนันทนาการเพื่อการท่องเที่ยวให้แก่สวนสาธารณะและสวนพฤกษชาติศรีนครเขื่อนขันธ์ ตำบลบางกระเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ประกอบด้วย แนวทางการพัฒนาศักยภาพและมาตรฐานบุคลากรนันทนาการ แนวทางการพัฒนาแหล่งนันทนาการ สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับนันทนาการให้มีมาตรฐาน แนวทางการบริหารจัดการนันทนาการให้มีมาตรฐาน แนวทางการจัดหาแหล่งทุน/งบประมาณ สนับสนุนภารกิจการพัฒนางานนันทนาการทั้งระบบ และแนวทางการพัฒนากฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการ</p> ชลิต เฉียบพิมาย ยี่เถา เหวย สุดสันต์ สุทธิพิศาล Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-10 2024-06-10 2 1 88 104 ภาพยนตร์ไทยกับการสร้างเมืองเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JVU_HS/article/view/1281 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งเสริมการท่องเที่ยวจากภาพยนตร์ไทย เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ในการเลือกใช้เมืองในภาพยนตร์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและความมั่นคง และเพื่ออธิบายความเกี่ยวข้องระหว่างการเลือกช่วงเวลายุคสมัยภาพจำของเมืองในอดีต โดยการยกตัวอย่างภาพยนตร์ที่เอาเหตุการณ์ในอดีตมาเป็นจุดขายในการสร้างภาพยนตร์เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ เรื่องเพื่อนที่ระลึก, สุขสันต์วันโสด, คิดถึงวิทยา ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ยกตัวอย่างภาพยนตร์ที่มีความสวยงามทางธรรมชาติและทั้งทางด้านวัฒนธรรมรวมถึงภาพยนตร์ที่มีภาพจำเชิงสัญญะเชื่อมโยงถึงอดีตประกอบกับการหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษาพบว่า ผู้กำกับภาพยนตร์มี Concept (แนวคิด) ที่แตกต่างกัน ภาพยนตร์ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักเลือกใช้เมืองที่มีธรรมชาติที่สวยงาม และส่วนมากเกี่ยวกับการเดินทางค้นหาตัวเองปราศจากสังคมเมือง แต่ในบางภาพยนตร์ก็เลือกใช้เมืองเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อสารถึงอดีตก็สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เช่นกัน จึงขึ้นอยู่รสนิยมการรับชม เพราะภาพยนตร์มีหลายมุมมองให้เลือกชม แต่ทั้งสองแบบสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ สามารถทำให้ชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาเยี่ยมชมและเดินทางตามรอยภาพยนตร์ได้เหมือนกัน</p> ชุติมา แก่นจันทร์ พงษ์พัฒน์ ด่านอุดม กรกฏ จำเนียร ชวัลรัตน์ ศรีนวลปาน บำรุง ศรีนวลปาน Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-10 2024-06-10 2 1 105 117