พฤติกรรมและความคาดหวังของนักท่องเที่ยวชาวจีนในการเดินทางกลับมาท่องเที่ยวซ้ำประเทศไทย ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • ยี่เถา เหวย สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการและการทองเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • อธิป จันทร์สุริย์ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการและการทองเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, ความคาดหวัง, นักท่องเที่ยวชาวจีน, สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีน 2) ศึกษาความคาดหวังของนักท่องเที่ยวชาวจีน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีน 4) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์กับความคาดหวังของนักท่องเที่ยวชาวจีน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบสะดวกจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวจีนที่จะเดินทางกลับมาท่องเที่ยวซ้ำในประเทศไทย จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลในระยะเวลา 2 เดือน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยไคสแควร์  t-test และ One-way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า 1) นักท่องเที่ยวชาวจีนเลือกเดินทางในประเทศไทยเพราะมีแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม/มีชื่อเสียง เดินทางไปจังหวัดภูเก็ตกับครอบครัว ใช้วันหยุดพักร้อนประจำปี งบประมาณโดยเฉลี่ยต่อวัน1,001-5,000 บาท เดินทางท่องเที่ยว 1-5 วัน เข้าร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เลือกเข้าพักโรงแรม เคยท่องเที่ยวในประเทศไทย 2 ครั้ง 2) ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวชาวจีนทุกด้านอยู่ในระดับมาก 3) ลักษณะประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.001 4) ลักษณะประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกันมีความคาดหวังของนักท่องเที่ยวชาวจีนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.001

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). ข้อมูลสถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเดือนมกราคม ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562. สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www. mots.go.th/news/category/585.

กรุงไทย คอมพาส. (2563). เจาะพฤติกรรมท่องเที่ยวใน New Normal: เมื่อโควิดทำชีวิตเปลี่ยน. สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2564, จาก https://rb.gy/evwy5q.

เกศินี โพธิ์เพชร สุพิศ ฤทธิ์แก้ว และสมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2563). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในแหล่งท่องเที่ยวขนอมจังหวัดนครศรีธรรมราช. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธัญญา สีมายา. (2563). การรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวจีนต่อความเสี่ยงทางการท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาเยือนเมืองพัทยาซ้ำ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

น้ำฝน จันทร์นวล. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวจีน ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 6(2), 53-60.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.

พิศาล แก้วอยู่ ประกอบศิริ ภักดีพินิจ และวารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2563). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางท่องเที่ยวแบบอิสระในพื้นที่อารยธรรมล้านนา ประเทศไทย. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 9(3), 102-112.

เลิศพร ภาระสกุล. (2558). แรงจูงใจและทัศนคติที่ส่งผลต่อความพึงพอใจโดยรวมของนักท่องเที่ยวชาวจีนต่อการท่องเที่ยวประเทศไทย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วีรพร รอดทัศนา. (2559). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยว วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (วัดเล่งเน่ยยี่ 2) จังหวัดนนทบุรี. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). ทฤษฏีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริมา ทองสว่าง. (2564). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนในจังหวัดชลบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(8), 307-324.

ศุภลักษณ์ อัครางกูร. (2555). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.

ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย. (2563). เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภคชาวจีน. สืบค้น 25 ธันวาคม 2564, จาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/ Documents/Thai-E-Commerce_Chinese.pdf

สรรเพชญ ภุมรินทร์ และ อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2560). การวิเคราะห์แบ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนตามพฤติกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารวิชาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(1), 99-132.

สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล. (2564). นักท่องเที่ยวจีน จะไม่กลับมาเร็วอย่างที่คิด. สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/969360.

อินทร์ชญาณ์ เอกธนวัฒน์. (2559). ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวจีนต่อคุณลักษณะจุดหมายปลายทางของแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษา : เมืองพัทยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Buhalis, D. (2000). Marketing the competitive destination in the future. Tourism Management. 21(1). 97-116.

Cochran, W.G., and William, G. (1977). Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons.

Kaewta, P. (2561). จีนครองแชมป์เที่ยวเมืองไทย 7 ปีซ้อน. สืบค้น 25 ธันวาคม 2564, จาก https://new s.m thai.com /w orld-news/704369.html.

March, R. and Woodside, A.G. (2005). Tourism Behaviour: Travellers’ Decisions and Actions. Wallingfor, UK: CABI Publishing.

Mill, R. C., & Morrison, A. M., (1992). The Tourism System: An Introductory Text. New Jersey: Prentice-Hall international.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-10