เฮท สปีช ฮูลิแกน ฟุตบอล จากพื้นที่ออนไลน์สู่พื้นที่ออฟไลน์
คำสำคัญ:
เฮท สปีช, ฮูลิแกน, ฟุตบอลบทคัดย่อ
กลุ่มแฟนบอลที่มักจะใช้ความรุนแรงตีกันทำร้ายกันระหว่างแฟนบอล ซึ่งการก่อเหตุอาจมีการเตรียมการนัดหมายกันมาก่อน หรือเป็นเหตุความรุนแรงหลังจากเกมฟุตบอลได้แข่งจบลงแล้ว หากมีเหตุการณ์ลุกลามมาสู่ภายนอกที่ไม่ใช่บริเวณสนามฟุตบอลแล้ว นั่นคือลักษณะของแฟนบอล “ฮูลิแกน (Hooligans)” สำหรับวงการฟุตบอลลีกในประเทศไทยนั้น ความรุนแรงอาจเป็นจุดเปลี่ยนให้กีฬาฟุตบอลตกต่ำลงก็เป็นได้ ปัจจุบันสำหรับแฟนบอลไทยแล้ววิธีการสื่อสารที่ใช้กันมากที่สุดคือสื่อสังคมออนไลน์ การใช้ เฮทสปีช (Hate Speech) หรือวาจาที่สร้างความเกลียดชังหรือประทุษวาจา เพื่อสร้างความเกลียดชังและเป็นการดูถูกดูหมิ่นต่อทีมคู่แข่งจากเพียงคำพูด Hate Speech ในโลกออนไลน์ก็ได้ลุกลามออกมาเป็นพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงจริงในโลกออฟไลน์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นความรุนแรงระดับที่ 3 ของ เฮทสปีช คือ มีการยั่วยุให้เกิดการใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มเป้าหมาย การสร้างจิตสำนึกที่ดีให้แก่แฟนบอลถือเป็นสิ่งสำคัญ การรู้แพ้รู้ชนะ การพอใจในผลงานและมาตรฐานของทีมที่ตนรัก และการเข้าใจว่าเกมการแข่งขันฟุตบอลเป็นกิจกรรมเพื่อความบันเทิง เป็นช่วงเวลาของการได้ปลดปล่อยอารมณ์จากความตึงเครียดที่ได้ถูกกดเก็บไว้ในช่วงเวลางานจะช่วยลดความรุนแรง ฟุตบอลก็จะเป็นเกมแห่งจิตวิญญาณของมิตรภาพและความสามัคคี และจรรโลงสังคมไทยต่อไป ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรหาวิธีป้องกันกลุ่มแฟนบอลฮูลิแกนในโลกออนไลน์เพื่อไม่ให้ออกมาสู่โลกออฟไลน์ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อวงการกีฬาในภาพรวมได้ในอนาคต
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2543) สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
กาญจนา แก้วเทพและสมสุข หินวิมาน. (2553). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
ดวงพร บุญกมลสวัสดิ์. (2549). พฤติกรรมการชมฟุตบอลต่างประเทศผ่านสื่อโทรทัศน์ของแฟน บอลชาวไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์, ภาควิชาการสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน.
ธีร์ คันโททอง. (2561). วัฒนธรรมประชานิยมจากการชมและเชียร์กีฬาฟุตบอลไทยลีก. วารสารสุทธิปริทัศน์, 32(104), 223-236.
บี แหลมสิงห์. (2559, 16 กันยายน). แฟนบอลไทยควรรู้...เปิด “ตำราฮูลิแกน”! แหกกฎ!แค่“ผู้ก่อการร้ายแห่งโลกลูกหนัง”. สืบค้นจาก https://www.naewna.com/sport/235583
วิทยากร บุญเรือง. (2554, 26 มิถุนายน) เรียนรู้ประวัติความรุนแรงในเกมฟุตบอล. สืบค้นจาก http://radicalfootball.blogspot.com/2011/03/blog-post.html
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. (2554, 10 กุมภาพันธ์). แฟนบอลคิดอย่างไรกับการพัฒนาฟุตบอลสปอนเซอร์ไทยพรีเมียร์ลีก. สืบค้นจาก https://bangkokpoll.bu.ac.th/poll/result/poll518.php? pollID=374&Topic
ศศธร ตันติหาชัย. (2555). การพัฒนาแนวทางการป้องกันพฤติกรรมความรุนแรงในการชมกีฬาฟุตบอล.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, บัณฑิตวิทยาลัย.
อาจินต์ ทองอยู่คง. (2557). ฟุตบอลไทย: ประวัติศาสตร์ อำนาจ การเมือง และความเป็นชาย. ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. เชียงใหม่: ห้างหุ้นส่วนจำกัดวนิดาการพิมพ์.
Carnibella, G., Fox, A., Fox, K., McCann, J., Marsh, J., and Marsh, P. (1996). Football Violence in Europe. Oxford: The Social Issues Research Centre. p.82-83.
Elias, N. and Eric, D. (2008[1986]). Quest for Excitement: Sport and Leisure in the Civilising Process. Dunning. E. (ed.). Dublin: University College Dublin Press.
Grossberg, L. et al (1998). MediaMaking: Mass Media in Popular Culture. Thousand Oaks: Sage.
kapook.com. (2559). Hate Speech คืออะไร ปรากฏการณ์ใหม่ใช้วาจาสร้างความเกลียดชัง. สืบค้นจาก http://hilight.kapook.com/view/98194)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.