การประเมินหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ. 2561 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ตามแนวคิดซิปป์ โมเดล
คำสำคัญ:
การประเมินหลักสูตร, นิเทศศาสตร์, ซิปป์ โมเดลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประเมินหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ. 2561 ของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล โดยใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam : CIPP-Model) จำนวน 4 ด้านของหลักสูตร ประกอบด้วย ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product)
กลุ่มประชากรประกอบด้วย อาจารย์สาขาวิชานิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ศิษย์เก่า นักศึกษาปัจจุบัน นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ และนักวิชาชีพทางนิเทศศาสตร์ รวมทั้งสิ้น 22 คน เครื่องมือสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ การสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง และการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus group) และการวิเคราะห์ SWOT Analysis กับกลุ่มประชากรทั้ง 22 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลทำระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
ผลการศึกษาพบว่า ความต้องการในการเข้าศึกษาต่อในสาขานิเทศศาสตร์มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการถูกแทรกแซง (Disruption) จากสื่อออนไลน์ซึ่งได้เข้ามามีบทบาทกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและส่งผลต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในสาขานิเทศศาสตร์โดยตรง โดยทำให้การหาความรู้และทักษะด้านนิเทศศาสตร์เป็นสิ่งที่เปิดกว้างโดยคนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงและเรียนรู้ได้โดยผ่านสื่อออนไลน์ นักศึกษาส่วนใหญ่ของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล มาจากโรงเรียนในระดับอำเภอรอบนอกของจังหวัดนครราชสีมา และมีทักษะพื้นฐานทางนิเทศศาสตร์ และนักศึกษามีความคาดหวังที่จะเพิ่มพูนความรู้และทักษะทางนิเทศศาสตร์ หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล เน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางด้านทฤษฏีและมีทักษะการเป็นนักปฏิบัติ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน
References
มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. (2564). ข้อมูลมหาวิทยาลัย. สืบค้น 7 มกราคม 2564, จาก https://www.vu.ac.th/ประวัติและความเป็นมา/
ศุภณิช จันทร์สอง. (2560). การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์. 11(2), 315-335.
สุภางค์ จันทวานิช. (2547). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุธาสินี นิรัตติมานนท์. (2560). การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ในศตวรรษที่ 21.
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 13(2), 203-226.
Freedom Life. (2008). Educational Theory. จาก http://witthawas.multiply.com/ journal/item/6
Shubert, A. N. (2011). Teaching millennial: A model for integrating 21st century skills into
an English language arts curriculum. จาก http://search.proquest.com/docview/
?accountid=31286
Stufflebeam and Shinkfield. (2007). Evaluation Theory, Models and Applications.
John Wiley and Son, Ine.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.