พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อและอิทธิพลปัจจัยส่วนประสมการตลาดของคอนโดมิเนียมในมุมมองของผู้บริโภคเจเนอเรชั่น B X Y จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • อังควิภา แนวจำปา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • รัชนี งาสระน้อย ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฝ่ายวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • อมรรัตน์ คลองโนนสูง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

เจเนอเรชั่น, ส่วนประสมทางการตลาด, พฤติกรรม, การตัดสินใจซื้อ, คอนโดมิเนียม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจเนอเรชั่นและพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม และ 3) เปรียบเทียบระดับอิทธิพลด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม จำแนกตามเจเนอเรชั่น โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 ตัวอย่าง ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณา โดยใช้สถิติค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบแบบไคสแควร์ (Chi-Square test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี Scheffe post hoc test

          ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มเจเนอเรชั่นมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านวัตถุประสงค์ในการตัดสินใจซื้อ ผู้มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อ ขนาดพื้นที่ใช้สอย งบประมาณที่ตัดสินใจซื้อ วิธีการชำระเงิน จำนวนครั้งที่เยี่ยมชม และระยะเวลาตัดสินใจซื้อ  2) กลุ่มตัวอย่างในแต่ละเจเนอเรชั่น ประเมินระดับอิทธิพลด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม ด้านลักษณะทางกายภาพแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง SEM ด้วย AMOS. กรุงเทพมหานคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เชาว์ เพ็ชรราช และ จิรวรรณ ทรัพย์เจริญ. (2556). บทที่ 3 ประชากรมนุษย์. สืบค้น 28 กุมภาพันธ์ 2566. จาก http://human.uru.ac.th/Major_online/SOC/Envi_Home.htm.

ณัฐพร ศิริสานต์. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรในเขตอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. (แบบฝึกหัดการวิจัยปัญหาเศรษฐกิจปัจจุบัน). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะเศรษฐศาสตร์.

ดลพิวัฒน์ ปรีดาวิภาต, ธีรวุฒิ บุณยโสภณ, กำพล รุจิวิชชญ์ และ ไชยา ยิ้มวิไล. (2555). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 22(2), 416-426.

ดารา ทีปะปาน. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพหมานคร: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.

ธัญวิชญ์ ศิริทัพ. (2561). การตัดสินใจซื้อบ้านเดี่ยวของผู้บริโภคในเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต, 14(1), 143-163.

ปุญญารัตน์ เด่นไตรรัตน์ และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคในการเลือกซื้อคอนโดมิเนียมแบบสโลว์ไรส์ในเขตภาษีเจริญ. Veridian E-Journal, Silpakorn University. (ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ), 10(3), 853-867.

พิชยา เจริญสุขใส และ นิตยา สินเธาว์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านตามนโยบายโครงการบ้านประชารัฐ ของประชาชนในเขตจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(1), 189-205.

พรจันทร์ สุพรรณ์ และ ชาญชัย บุญชาพัฒนศักดา. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการธุรกิจที่พักอาศัยผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 14(2), 59-79.

มนัสวี ศรีนนท์. (2561). ทฤษฎีเจเนอเรชั่นกับกรอบวิธีคิด. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, 6(1), 364-373.

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2564). บุพปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อไอริส เวสท์เกต คอนโดมิเนียม นนทบุรี. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(1), 27-36.

ลัคนา วัฒนะชีวะกุล. (2553). ประชากรศาสตร์. สืบค้น 23 กุมภาพันธ์ 2566. จาก http://www.stat.mju.ac.th/lakhana/demography/bib.pdf.

เสกสรรค์ วีระสุข และวรางคณา อดิศรประเสริฐ. (2557). การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทวิตามินในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 5(1), 65-79.

อภิญญา เสมเสริมบุญ. (2556). ปัจจัยการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมในย่านถนนทองหล่อกรุงเทพ. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.

เอมอร วงษ์ศิริ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรที่กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Chan, D., Touzani, M. & Slimane, K. B. (2017). Marketing to the (new) generation: Summary and perspectives. Journal of Strategic Marketing, 5(3), 179-189.

Kotler, P. & Keller, K. (2016). Marketing Management (15th ed.). Harlow, UK:

Pearson Education.

Kotler, P. (1997). Marketing Management Analysis, Planning, Implementation and Control. (7th ed.). Englewood Cliffs: Prentice Hall.

Land and Houses. (2566). 5 เหตุผลของการเลือกอยู่คอนโดมิเนียม. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566. จาก https://www.lh.co.th/th/lh-living-concept/tips/how-is-a-condo-better-than-a-house.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Rovinelli, R. J., & Hambleton R. K. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Solomon, M.R.. (2007). Consumer Behavior. (7th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Williams, K. C. & Page, R. A. (2011). Marketing to the generations. Journal of Behavioral Studies In Business, 3, 37-52.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-25