การรับรู้นโยบายการจัดการขยะพลาสติกและพฤติกรรมการจัดการขยะพลาสติก ของผู้บริโภคเครื่องดื่มกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย

ผู้แต่ง

  • วัลย์นภา ฮวบเอี่ยม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สโรชา พอขุนทด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สวรรยา ธรรมอภิพล Faculty of Management Science, Silpakorn University

คำสำคัญ:

การรับรู้, นโยบายการจัดการขยะพลาสติก, พฤติกรรมการจัดการขยะพลาสติก, เจเนอเรชันวาย

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้นโยบายการจัดการขยะพลาสติกในการลดขยะพลาสติกของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวายและ 2) ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในการจัดการขยะพลาสติกจากการซื้อเครื่องดื่ม ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคเครื่องดื่มในกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย (ผู้ที่เกิดระหว่างปีพ.ศ.2524–2543 หรือ อายุระหว่าง 23-42 ปี ณ ปี 2565) ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย สรุปและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางและการพรรณนาความ

          ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 22-26 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท การศึกษาระดับปริญญาตรี ความถี่ในการซื้อเครื่องดื่มอยู่ที่ 3 -4 ครั้ง/สัปดาห์ และ ซื้อเครื่องดื่ม 4 – 6 แก้ว/สัปดาห์ การจัดการขยะหลังการบริโภคเครื่องดื่มส่วนใหญ่ทิ้งลงถังขยะโดยไม่ได้คัดแยก ช่องทางการรับรู้นโยบายการจัดการขยะพลาสติกจากสื่อโซเชียลมากที่สุด (ร้อยละ 67.50) รองลงมาคือสื่อโทรทัศน์ (ร้อยละ 53.75) และจุดซื้อสินค้า (ร้อยละ 46) ตามลำดับ โดยทราบนโยบายการลด/เลิกใช้ถุงพลาสติก (ร้อยละ 86 ) มากกว่านโยบายฯ ลดการใช้หลอดพลาสติก (ร้อยละ 79) กล่องโฟม (ร้อยละ 69) และแก้วน้ำพลาสติก (ร้อยละ 63.25)  ตามลำดับ  ร้อยละ 57.25 ของกลุ่มตัวอย่างได้รับผลกระทบจากนโยบายฯ และ ร้อยละ 65.75 ยังคงต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายการจัดการขยะพลาสติกผ่านสื่อโซเชียล โทรทัศน์ และสื่อวิทยุ  พฤติกรรมในการจัดการขยะพลาสติกโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยพฤติกรรมการใช้ซ้ำ (Reuse) รองลงมาคือพฤติกรรมปฏิเสธการใช้ (Reject) และพฤติกรรมลดการใช้ (Reduce) ตามลำดับ โดยมีพฤติกรรมใช้ซ้ำถุงพลาสติกมากกว่าแก้วและหลอดพลาสติก พฤติกรรมลดการใช้แก้วพลาสติกมากกว่าถุงและหลอดพลาสติก และพฤติกรรมปฏิเสธการรับถุงพลาสติกมากกว่าหลอดพลาสติก ตามลำดับ ข้อเสนอแนะคือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการประชาสัมพันธ์นโยบายเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะพลาสติกผ่านช่องทางที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะผ่านสื่อโซเชียล และควรมีการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้นโยบายต่าง ๆ จากภาครัฐและการจัดการขยะพลาสติก

References

กรมควบคุมมลพิษ.(2561). คู่มือการปฏิบัติการ 3 ใช้ (3R) เพื่อจัดการขยะชุมชน. กรุงเทพฯ: บริษัม ฮีซ์ จำกัด.

กรมควบคุมมลพิษ. (2563). (ร่าง) Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 – 2573. สืบค้น 27 พฤษภาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/OSDTB

กรมควบคุมมลพิษ. (2565). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2564. กรุงเทพฯ: บริษัท เอพี คอน เน็กซ์ จำกัด.

เกียรติกุล ถวิล. (2558). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในรูปแบบ 3R (Reduce, Reuse, Recycle) ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธัญสมร คุ้มอ่ำ และ สวรรยา ธรรมอภิพล. (2562). แรงจูงใจของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวายในการใช้แก้วน้ำ ส่วนตัวแลกส่วนลดราคาเครื่องดื่มกรณีศึกษาคาเฟ่อเมซอน. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, 6(2), 267-278.

ธีระ กุลสวัสดิ์. (2558). การหาคุณภาพของเครื่องมือในการวิจัย. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

นาดียา กูโน, ภัทรพร อุดมทรัพย์, วรางคณา ตันฑสันติสกุล. (2563). การรับรู้ข่าวสารและทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกของประชากรในจังหวัดสงขลา. วารสารสิ่งแวดล้อม, 24(2), 4-9.

นุช สัทธาฉัตรมงคล. (2562). การปรับองค์การเพื่อรับมือคนเจเนอเรชั่นวาย. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 11(2), 1-9.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุวีริยาสาสน์.

พีร์ พวงมะลิต พรเพ็ญ ไตรพงษ์ และยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล. (2560). ทัศนคติและการรับรู้ของประชาชนต่อกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยโคมลอย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎ วไลอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(2),135-145.

ภัทรมณฑ์ เรืองศรี. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ประกอบการร้านกาแฟและผู้ใช้บริการร้านกาแฟต่อนโยบายลดขยะพลาสติกตาม Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภารดี เทพคายน. (2564). การศึกษาระดับการรับรู้และความเข้าใจของบุคลากรสายสนับสนุน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ต่อนโยบายความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงานและพฤติกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงาน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิษณุ คงสุวรรณ.(2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วของประชาชนในกรุงเทพมหานคร : ศึกษากรณีเขตห้วยขวาง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). คู่มือการวิจัยการวิจัยเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสมอ นิ่มเงิน. (2563). Generation กับพฤติกรรมการรับข่าวสารผ่านสื่อต่าง ๆ. สืบค้น 1 ธันวาคม 2565, จาก https://www.prd.go.th/download/article/article_ 20180904112336.pdf

หัสดิน แก้ววิชิต. (2559). พฤติกรรมมนุษย์เพื่อการพัฒนาตน (เอกสารประกอบการสอนรายวิชา). อุดรธานี: สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัย ราชภัฎอุดรธานี.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York : John Wiley and Sons Inc. Lefton, L. A., & Brannon, L. (2008). Psychology. New York: Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-25