การศึกษาสภาพการณ์และปัญหาขยะของธุรกิจที่พักแรมในแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษาหาดริ้น อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล รอดเมือง สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการและการทองเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • อธิป จันทร์สุริย์ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการและการทองเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

สภาพการณ์, ปัญหาขยะ, ธุรกิจที่พักแรมในแหล่งท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์และปัญหาขยะของธุรกิจที่พักแรมในแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษาหาดริ้น อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สำนักงานเทศบาลตำบลบ้านใต้ ภาคเอกชน/ผู้ประกอบการโรงแรม ประชาชนในชุมชน นักท่องเที่ยว รวมทั้งสิ้น 13 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพการณ์ของธุรกิจที่พักแรมในแหล่งท่องเที่ยวหลังสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ธุรกิจที่พักแรมต่างกลับมาเปิดให้บริการตามปกติมีการปรับลดราคาห้องพักและเข้าร่วมโครงการมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยเพื่อนักท่องเที่ยวโดยนักท่องเที่ยว 2) ปัญหาขยะของธุรกิจที่พักแรมในแหล่งท่องเที่ยวเป็นปัญหาขยะเปียกและการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี 3) อุปสรรคของปัญหาขยะของธุรกิจที่พักแรมในแหล่งท่องเที่ยวซึ่งในช่วงมรสุมที่มีคลื่นลมมีการพัดพาขยะจากนอกเกาะมาเป็นจำนวนมากซึ่งยากต่อการจัดเก็บและกำจัด ตลอดจนบางพื้นที่มีความสูงชันประกอบกับตรอกซอยเป็นจำนวนมากทำให้เกิดความไม่สะดวกในการเข้าถึงพื้นที่เพื่อจัดเก็บ 4) การจัดการขยะของธุรกิจที่พักแรมในแหล่งท่องเที่ยวโดยธุรกิจที่พักแรมขนาดใหญ่จะมีระบบการจัดการขยะที่ดีมีการตรวจสอบแบรนด์สินค้าจากขยะพลาสติกและการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ทั้งนี้ผู้ประกอบการยังส่งเสริมให้มีการคัดแยกขยะ การคัดแยกเศษอาหารที่เหลือทิ้ง เน้นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภายในห้องพักลดการใช้พลาสติก นอกจากนี้ยังมุ่งส่งเสริมการสร้างความรู้ความเข้าใจสำหรับผู้ประกอบการและพนักงานเกี่ยวกับแนวทางในการจัดการขยะที่ถูกต้องและการคัดแยกขยะ ตลอดจนการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการเพื่อการจัดการขยะของธุรกิจที่พักแรมในพื้นที่ที่มุ่งเน้นความสะอาดและความสำคัญกับการรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). คู่มือปฏิบัติการ 3 ใช้ (3R) เพื่อจัดการขยะชุมชน. สืบค้น 21 มกราคม 2566, จาก http://www.pcd.go.th/file/06-09-61/16.pdf.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2564). รายงานประจำปี 2564. กรุงเทพฯ: กองกำจัดการของเสียและสารอันตราย.

กัลยภรณ์ ก้วยเจริญพานิชก์ และพิพัฒพงศ์ ฟักแฟ. (2562). แนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การลดปริมาณขยะและการลดการใช้พลังงาน กรณีศึกษาของโรงแรม 5 ดาวแห่งหนึ่งในย่านสุขุมวิท. ในการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 9, 1782-1795.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2559). ข้อมูลเกาะพะงัน. สืบค้น 21 มกราคม 2566, จาก http://thai.tourismthailand.org.

เจนจิรา คุ้มเมือง. (2558). นโยบายการจัดการการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงานของโรงแรมในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.

ชูศักดิ์ ชูศรี และสุวารี นามวงค์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะของโรงแรมขนาดเล็ก: กรณีศึกษาเกาะสมุยและเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 12(1), 91-118.

ณัฐา คุ้มแคว้น, สุธาวดี จินาญาติ และนิทัศ ไหมจุ้ย. (2553). “วัฒนธรรมต่างชาติ” พลวัตที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรมของชุมชนอำเภอเกาะสมุย และเกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

นันทา ขุนภักดี และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2563). รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562 . กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ.

พงษ์ศักดิ์ ประทุมตัง และสิทธิชัย ตันศรีสกุล. (2561). สภาพปัญหาและปัจจัยที่มีต่อการบริหารจัดการขยะมูลฝอย เทศบาลตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 18(3), 152-161.

พรไพลิน ทวยเจริญ และอภิรัตน์ กังสดารพร. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน ใน อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี. วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต.

ภาวินีย์ ธนาอนวัช. (2563). โรงแรมสีเขียว: กลยุทธ์การบริหารจัดการและการปฏิบัติบัญชีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2), 117-134.

เมทิตา อังศุเมธ. (2564). แนวทางการจัดการขยะอาหารสำหรับงานอีเวนต์ในมุมมองของผู้ให้บริการสถานที่จัดงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว โรงแรม และอีเวนต์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รุจรดา วัฒนาโกศัย. (2563). รักษ์โลกให้ธุรกิจรอด Circular Economy ตัวช่วยโรงแรม-ร้านอาหารลดรายจ่าย เพิ่มกำไร พ้นภัยวิกฤต. สืบค้น 21 มกราคม 2566, จาก https://www.smethailandclub.com/ entrepreneur/6027.html.

เริงศักดิ์ เพชรหัสตระกูล. (2550). แนวทางการพัฒนาภูมิทัศน์เมืองเพื่อการท่องเที่ยว ชุมชนหาดริ้น เกาะพะงัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

วุทธิชัย ลิ้มอรุโณทัย, อภิชญา พิภวากร, และวชิราภรณ์ จีระว่องวิทย์. (2565). แนวทางการปรับตัวของธุรกิจโรงแรม ภายหลังวิกฤตโควิด 19 ด้วยการยกระดับสู่อุตสาหกรรมเชิงสุขภาพ. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 2522-2534.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล. (2553). การวิจัยเชิงคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). สถานการณ์ทางการท่องเที่ยวไทย. สืบค้น 21 มกราคม 2566, จาก https://www.kasikornresearch.com.

ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. (2564). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs). สืบค้น 3 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.sdgmove.com/ background-and-mission/.

เสมา เดชวิลัย. (2554). วิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เรื่องการจัดการขยะในยชุมชนศิวะนคร หมู่ที่ 8 ตำบลท้ายบ้านใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสารสนเทศ, 12(2), 19-26.

สำนักงานการต่างประเทศ. (2564). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs). สืบค้น 3 พฤษภาคม 2566, จาก https://iao.bangkok.go.th /content-detail/22615.

สุเมธ กมลศิริวัฒน์ และบุษรา โพวาทอง. (2564). กลยุทธ์การปรับตัวของผู้ประกอบการโรงแรมที่ได้รับมาตรฐาน SHA ต่อผลกระทบ COVID-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2563. วารสารสาระศาสตร์, 3(2564), 650-663.

อธิป จันทร์สุริย์. (2564). Hotel + Hospital = Hospitel: กลยุทธ์การปรับตัวของธุรกิจโรงแรมภายใต้สถานการณ์ COVID-19. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 8(2), 114-131.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-12