ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวเชิงกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดของร้านอาหารริมทางหลังจากสถานการณ์โควิด-19 เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • จอมภัค จันทะคัต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • เยาวเรศ จันทะคัต คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ:

การปรับตัวเชิงกลยุทธ์, ส่วนประสมการตลาด, ร้านอาหารข้างทาง, สถานการณ์โควิด-19

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของประเภทร้านอาหารริมทางต่อการปรับตัวเชิงกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาด และศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวเชิงกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดของร้านอาหารริมทาง หลังจากสถานการณ์โควิด-19 เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการร้านอาหารริมทางในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 400 ราย เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ T – test Independence, Anova ด้วยวิธีของ Scheffe และวิเคราะห์ถดถอยแบบเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการประเภทร้านอาหารริมทางแตกต่างกันให้ความสำคัญกับการปรับตัวเชิงกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดหลังจากสถานการณ์โควิด-19 ไม่แตกต่างกัน ได้แก่ ปัจจัยผลิตภัณฑ์ ราคา การส่งเสริมการตลาด ลักษณะทางกายภาพ กระบวนการ และผู้ประกอบการและพนักงาน ส่วนปัจจัยช่องทางการจัดจำหน่าย ผู้ประกอบการร้านอาหารริมทางให้ความสำคัญกับการปรับตัวเชิงกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดหลังจากสถานการณ์โควิด-19 แตกต่างกัน และปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ การเมืองและกฎหมาย เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และเทคโนโลยี ทั้งสี่ปัจจัยมีอิทธิพลต่อการปรับตัวเชิงกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดของร้านอาหารริมทาง ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 สามารถอธิบายความผันแปรกับตัวแปรตามได้ถูกต้องร้อยละ 66

Author Biography

จอมภัค จันทะคัต, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

lecturer at Vongchavalitkul University

References

กิตติกร เรืองขำ, ยุวเรศ มาซอรี และ กิตติกาญจน์ กาญจนะคูหะ. (2564). กลยุทธ์การปรับตัวโดยใช้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดภายใต้สถานการณ์ Covid 19 ธุรกิจร้านอาหารริบส์แมน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศิลปะศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(2), 748-760.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมประชาสัมพันธ์. (2565). มาตรการช่วยเหลือภาครัฐ. สืบค้น 1 มีนาคม 2565, จาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/31/iid/79430.

จรรญภร แพเกิด และผกามาศ ชัยรัตน์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารริมทางของนักท่องเที่ยวในพื้นที่องค์พระปฐมเจดีย์จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 13(2), 91-104.

จิดาภา ธัญญรัตนวานิช. (2565). การปรับตัวของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(3), 296-310.

จิรวรรณ กิติวนารัตน์, นพวรรณ วิเศษสินธุ์ และภัทรา สุขะสุคนธ์. (2565). การปรับตัวธุรกิจร้านอาหารภายหลังวิกฤตโควิด-19. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 25(2), 137-146.

ชัยนันต์ ไชยเสน. (2564). อาหารริมทางภูเก็ต: รูปแบบอาหารริมทางและวิถีสร้างสรรค์เสน่ห์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดภูเก็ต. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 9(2), 120-127.

ฑิตาพร รุ่งสถาพร และปฐมา สตะเวทิน. (2564). พฤติกรรมผู้บริโภคต่อการซื้อสินค้าบนช่องทางออนไลน์ในภาวะวิกฤตโควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานครปริมณฑลและพิษณุโลก. วารสารนิเทศศาสตร์, 39(2), 119-133.

ณัฐณิชา ลิมปนวัสส์. (2561). การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคอาหารประเภทร้านริมบาทวิถี (Street food) ของนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณัฐศาสตร์ ปริญญานะ และวัชรพจน ทรัพยสงวนบุญ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการอาหารตามสั่งแบบจัดส่ง. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(1), 54-66.

ธารีทิพย์ ทากิ. (2564). ปจจัยสวนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารออนไลน์ของผู้บริโภคโภคในเขตกรุงเทพมหานครระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษาและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดติถ์, 11(2), 43-53.

นัชชา ยันติ และ ธธิธา เวียงปฏิ. (2565). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 17(1), 57-70.

บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2561). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. วารสารวัดผลการศึกษา มศว มหาสารคาม, 3(1), 22-25.

บุษกร คําโฮม, ศุภกัญญา จันทรุกขา และ เจียระไน ไชยกาล เจิ้ง. (2565). กลยุทธ์ทางการตลาดสําหรับตลาดอาหารปลอดภัยในจังหวัดอุบลราชธานี. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(4), 175-189.

ประชาชาติธุรกิจ. (2566). มหาดไทยประกาศจำนวนประชากร สิ้นปี 2565 จังหวัดไหนมากสุด-น้อยสุด. สืบค้น 23 มกราคม 2566, จาก https://www.prachachat.net/general/news-1184414.

ประภาพร ดีสุขแสง และ พนมสิทธิ์ สอนประจักษ์. (2564). การปรับตัวของร้านอาหารริมบาทวิถี (STREET FOOD) ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ตำบลปากนาโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. โครงการนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ประจาปี พ.ศ.2564. สืบค้น 23 มกราคม 2566, จาก https://bec.nu.ac.th/npsc/files/7%20114-131-A016.pdf

ประเสริฐศักดิ์ โพธิ์ทอง. (2565). ผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(3), 263-273.

พรรษวรรณ สุขสมวัฒน์. (2565). ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และกลยุทธ์ทางรอดของธุรกิจบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(1), 163-172.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2556). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 8. เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์.

ภาณุมาศ สุยบางดำ, พัชรินทร์ บุญนุ่น, และ ศุภสุตา ตันชะโร. (2565). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจปัจจัยการปรับตัวของผู้ประกอบการที่มีต่อการดำเนินกิจการเพื่ออยู่รอดของธุรกิจ ภายใต้วิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 16(3), 48-57.

ละเอียด ศิลาน้อย. (2560). การใช้สูตรทางสถิติ (ที่ถูกต้อง) ในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยเชิงปริมาณในทางมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 12(2), 50-61.

เวิลด์แบงก์. (2564). ผลกระทบของโควิด-19 ต่อครัวเรือนในประเทศไทย-ข้อมูลเชิงลึกจากการสำรวจแบบเร่งด่วนทางโทรศัพท์. สืบค้น 29 พฤศจิกายน 2564, จาก https://blogs.worldbank.org/th/eastasiapacific/phlkrathbkhxngokhwid-19-txkhraweruuexninpraethsithy.

ศุภสิริ สร้อยทองพงศ์. (2563). ความสัมพันธ์ของส่วนประสมการตลาดกับกลยุทธ์ทางการตลาดบริการที่มีผลต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจสั่งอาหารจากร้านอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นส่งอาหารเดลิเวอรี่ช่วงโควิด-19 จังหวัดพิษณุโลก. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 5(3), 53-66.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). มูลค่าธุรกิจร้านอาหารขยายตัวในปี 2565-2566 ท่ามกลางโจทย์ท้าทายด้านต้นทุนและการรักษากำไรของผู้ประกอบการ. สืบค้น 15 มกราคม 2566, จาก http://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://portal.settrade.com/brokerpage/IPO/ Research/upload/2000000448592/3352_p.pdf

สุภภัชชญา ทองคำผุย. (2564). การปรับตัวของธุรกิจร้านอาหารในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19). วารสารโครงการทวิปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ. สืบค้น 19 มกราคม 2566, จาก http://www.mpa-mba.ru.ac.th/images/Project/ sisaket01_27052022/6227952036.pdf

เสาวณีย์ ตรีรัญเพชร, ศุภรัตน์ พิณสุวรรณ และ วราภรณ์ ทะนงศักดิ์. (2564). สภาพสถานการณ์และการปรับตัวของผู้ประกอบการร้านอาหารในพื้นที่ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ภายหลังสถานการณ์โควิด19. สืบค้น 27 มกราคม 2566, จาก http://www2.huso.tsu.ac.th/NCOM/GEOGIS2021/FULL_PAPER/PDF20211024232416_1__.pdf.

สมศักดิ์ อัศวศรีวรนันท์, กมลพร กัลยาณมิตร, สถิตย์ นิยมญาติ และทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช. (2564). การนำมาตรการเยียวยาช่วยเหลือธุรกิจ SME’s ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ไปปฏิบัติ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 8(3), 201-215.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). สืบค้น 27 มกราคม 2566, จาก https://www.etda.or.th/th/https/www-etda-or-th/th/newsevents/pr-news/Online-Food-Delivery-Survey-2020.aspx.

เอมอร เจียรมาศ. (2560). แนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการร้านนมในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สืบค้น 20 มกราคม 2566, จาก https://repository.rmutr.ac.th/bitstream/handle/123456789/683/rmutrconth.

เอ็มจีอาร์ ออนไลน์. (2563). ยกระดับสตรีทฟูดโคราชสู่มาตรฐานโลก “ไนท์บ้านเกาะ” ตลาดดังเมืองย่าโมจัดประกวด “NBK Food Fight”. สืบค้น 26 ธันวาคม 2563, จาก https://mgronline.com/local/detail/9630000132125.

DeVon, H. A., Block, M. E., Moyle‐Wright, P., Ernst, D. M., Hayden, S. J., Lazzara, D. J., & Kostas-Polston, E. (2007). A psychometric toolbox for testing validity and reliability. Journal of Nursing scholarship, 39(2), 155-164.

Indrawati, M., Utari, W., Prasetyo, I., Rusdiyanto, Kalbuana, N. (2021).Household Business Strategy during the COVID-19 Pandemic. Journal of Management Information and Decision Sciences, 24(1), 1-12.

Khazanie, R. (1996). Statistics in a World of Applications (4th Edition). HarperCollins College Publishers.

Kotler, P., and Keller, K. L. (2006). Marketing management. Pearson Prentice Hall.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Attitude Theory and Measurement. Wiley & Son.

McKee, D. O., Varadarajan, P. R., and Pride, W. M. (1989). Strategic adaptability and firm performance: a market-contingent perspective. Journal of Marketing, 53(3), 21-35.

Nikbin, D., Iramanesh, M., Ghobakhloo, M., and Foroughi, B. (2021). Marketing mix strategies during and after COVID-19 pandemic and recession: a systematic review. Asia-Pacific Journal of Business Administration, 14(4), 405-420.

Iisnawati., Rosa, A., & Yunita, D. (2020). Consumer Decision on Online Food Delivery. 5th Sriwijaya Economics, Accounting, and Business Conference (SEABC 2019). Pp. 418-422.

Wheelen, T. L., and Hunger, D., J. (2012). Strategic management and business policy (13th ed.). Pearson Prentice Hall. Pp. 94-132.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-12