แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามองค์ประกอบการท่องเที่ยว ชุมชนขนมแปลก จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • เพชราภรณ์ จันโทวาส คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • สุพาณี พ่วงก้อน คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • อมรรัตน์ กลิ่นสุมาลี คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • อธิป จันทร์สุริย์ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ขวัญณภัทร ขนอนคราม คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยว, องค์ประกอบการท่องเที่ยว, ชุมชนขนมแปลก

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมตามองค์ประกอบการท่องเที่ยว 2) เสนอแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามองค์ประกอบการท่องเที่ยว ชุมชนขนมแปลก จังหวัดจันทบุรี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ภาครัฐ  ผู้ประกอบการร้านค้า และชุมชน จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา พบว่า ด้านสิ่งดึงดูดใจ ชุมชนขนมแปลก เป็นชุมชนชาวไทยที่มีภูมิปัญญาชาวบ้าน เอกลักษณ์ และมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ยังคงไว้ซึ่งความเก่าแก่และวัฒนธรรมเก่าๆ ที่น่าสนใจ มีความโดดเด่นทางด้านอาหารและขนมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้านความสะดวกในการเดินทาง นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาได้ทั้งรถยนต์ส่วนตัว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ชุมชนมีการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อรองรับกับนักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางเข้ามา ได้แก่ ห้องน้ำ ที่จอดรถ ป้ายบอกทาง สัญญาณโทรศัพท์ ห้องพักสัตว์เลี้ยง มัคคุเทศก์ท้องถิ่น ด้านที่พัก นักท่องเที่ยวสามารถเลือกจองที่พักได้ ทั้งแบบโรงแรม รีสอร์ท หรือแบบ โฮมสเตย์  ด้านกิจกรรมมีการปรับเพิ่มสถานที่สำหรับถ่ายรูปให้กับนักท่องเที่ยว

References

กฤษณะกันต์ เนตรเขม. (2560). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. สืบค้น 21 มกราคม 2565, https://sites.google.com/site/pmtechtravel/bth-thi-2.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). จันทบุรีเมืองรอง. สืบค้น 21 มกราคม 2565, https://tatreviewmagazine.com/article/chanthaburi-12-hidden-gems/.

คณะกรรมการนโยบาย การท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560) แผนการพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2. กรงเทพฯ: คณะกรรมการนโยบาย การท่องเที่ยวแห่งชาติ.

มุกต์ สมชอบ. (2561). การพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อย่างยั่งยืน ของจังหวัดอุบลราชธานี. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(2), 79-91.

ประยุทธ์ จันทร์โอชา. (2562). นโยบายรัฐบาลด้านการท่องเที่ยว. สืบค้น 21 มกราคม 2565, จาก https://www.parliament.go.th

พระมหาจิณณวัตร สุจิณฺโณ (กันยา ประสิทธิ์). (2564). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาของวัดจอมมณี บ้านท่าดีหมี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โดยองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น. มจร. เลย ปริทัศน์, 2(2), 189.

รัตติยา พรมกัลป์ พระเทพปริยัติเมธี และนัยนา เกิดวิชัย. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 21(1), 13-28.

ปิยพงศ์ เขตปิยรัตน์. (2564). ประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการมาท่องเที่ยวฟาร์มสเตย์ ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(2), 61-74.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดจันทบุรี. (2564). สรุปข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการปี 64. สืบค้น 21 มกราคม 2565. จากhttps://chanthaburi.mots.go.th/ewtadmin/ewt/ chanthaburi/more_news.php?cid=119

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน), (2565). การท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน. สืบค้น 21 มกราคม 2565. จาก https://webcache.googleusercontent.com

Dickman, C.R. (1996). Overview of the Impacts of Feral Cats on Australian Native Fauna. Australian Nature Conservation Agency, Canberra.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-25