การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกงานสาขาวิชาการจัดการโรงแรมตามความต้องการของโรงแรมในเขตพื้นที่เกาะช้าง จังหวัดตราด
คำสำคัญ:
คุณลักษณะที่พึงประสงค์, นักศึกษาฝึกงาน, โรงแรม, เกาะช้าง จังหวัดตราดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกงานสาขาวิชาการจัดการโรงแรม ตามความต้องการของบุคลากรของโรงแรมในเขตพื้นที่เกาะช้าง จังหวัดตราด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหาร ผู้จัดการแต่ละแผนก และฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของโรงแรมในเขตพื้นที่เกาะช้าง จังหวัดตราด จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลในระยะเวลา 2 เดือน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านความรู้และความคิดสร้างสรรค์ โดยด้านความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2) ด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับงานโรงแรม โดยด้านความเข้าใจเกี่ยวกับงานโรงแรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3) ด้านการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล โดยด้านความสามารถใช้วิจารณญาณในเรื่องต่างๆ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 4) ด้านความสามารถในการปรับตัวให้ทันความเจริญของเทคโนโลยี โดยด้านความสามารถปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 5) ด้านการวางตัวในสังคมได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ โดยด้านความสามารถให้อภัยผู้อื่นโดยอาศัยความมีเหตุผล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 6) ด้านความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จในงาน โดยด้านความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 7) ด้านการยอมรับในกฎระเบียบกติกาของสังคม โดยด้านความสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ฝึกสอนในการปฏิบัติงานได้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 8) ด้านทักษะการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ โดยด้านความสามารถใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 9) ด้านคุณสมบัติของผู้ให้บริการที่ดี โดยด้านทัศนคติที่ดีต่องานบริการและความสามารถให้บริการผู้อื่นด้วยความเต็มใจ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และ 10) ด้านความสามารถในการติดต่อสื่อสาร โดยด้านความสามารถสื่อสารเข้าใจได้อย่างชัดเจน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
References
ชวลีย์ ณ ถลาง. (2564). แนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเกาะช้าง จังหวัดตราด. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(1), 25-37.
ณัฐกานต์ รุ่งเรือง และคณะ. (2562). องค์ประกอบของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกงาน. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์, 14(1), 39-48.
ธีรวัฒน์ อิ่มประคองศิลป์. (2555). ลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกงานสาขาวิชาการจัดการ โรงแรม. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์, 14(1), 40-48.
น้ำลิน เทียมแก้ว. (2560). การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการสำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2560. มหาสารคาม: สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปัณณทัต กัลยา และคณะ. (2558). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบุคลากรตามความต้องการของ ผู้บริหารโรงแรมในจังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 8(2), 42-55.
พาดสาย นาคพรต. (2558). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของพนักงานผสมเครื่องดื่มเพศหญิง กรณีศึกษาโรงแรม ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีเฉพาะพนักงานผสมเครื่องดื่มเพศหญิงปฏิบัติงาน. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://dspace.bu.ac.th/bitstream/12345 6789/4438/1/bhadsai_nakp.pdf.
พัชรินทร์ จึงประวัติ. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกงานในทัศนะของผู้บริหาร
สถานประกอบการด้านการท่องเที่ยว. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนครสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(1), 11-21.
พัลลพ หามะลิ และประสพชัย พสุนนท์. (2563). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ นักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรม ในศตวรรษที่ 21 ในมุมมองของพนักงานที่ปฏิบัติงานใน โรงแรมระดับ 4-5 ดาว เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(34), 54-69.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สนทยา เขมวิรัตน์. (2549). ความคาดหวังของผู้บริหารสถานประกอบการที่มีต่อคุณลักษณะของ ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร. วิทยาสารกำแพงแสน, 4(3), 41-46.
สุธิดา พานิชกิจโกศลกุล. (2556). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุดา สุวรรณาภิรมย์. (2560). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเกาะช้าง จังหวัดตราด. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(3), 69-79.
สุทธิชัย ปัญญโรจน์. (2555). การโรงแรมและการท่องเที่ยวกับอาเซียน. สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2564, จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=821282.
สุรีรัตน์ เยี่ยมตระกูล. (2561). คุณลักษณะนักศึกษาฝึกงานที่พึงประสงค์ของธุรกิจโรงแรมระดับห้าดาวในแหล่งท่องเที่ยวชายทะเล หัวหิน ยุคประชาคมอาเซียน. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(2), 133-143.
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต. (2558). การฝึกงานของนักศึกษา. สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.northbkk.ac.th/research_/themes/downloads/abstract/153985 8698_abstract.pdf.
องค์กรการบริหารการพัฒนาเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน องค์การมหาชน หรือ อพท. (2556). ความสำคัญของพื้นที่เกาะช้าง จ.ตราด. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(3), 69-79.
อังค์วราภัชฑ์ ขำนาค. (2560). คุณลักษณะของนักศึกษาฝึกงานสาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว ตามความต้องการของโรงแรมในเขตภาคเหนือตอนล่าง. สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.northbkk.ac.th/research_/themes/downloads/abstract/153985869 8_abstract.pdf.
Cochran, W.G., and William, G. (1977). Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons.
Designated Areas for Sustainable Tourism Administration. (2013). DASTA tourism partnership
networks meeting and experience sharing about global warming responsible cultivation. DASTA News for Sustainable Tourism Development, 39(July), 3-7.
Khamnak, A. (2018). Characteristic of Hotel and Tourism Trainee from the demand of Hotels in The Lower Northern Area. The 8th BENJAMITRA Network National & International Conference from Research Through Sustainable Development Thonburi University,
-9.
Pichet, Pinsuda, & Sinthawa. (2018). The Strategies for The Desirable Characteristics Development of Learners in Basic Edition Institutions in The 21st Century. Suthiparithat Journal, 31(100), 1-12.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.