การสมรสเท่าเทียม : สิทธิในการสมรสสำหรับบุคคลทุกเพศของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วรวิทย์ ชายสวัสดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

บุคคล, กฎหมาย, สมรสเท่าเทียม, สิทธิและหน้าที่

บทคัดย่อ

          ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ให้การยอมรับและเห็นถึงความสำคัญของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ LGBTQ เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายตามหลักความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยจะเห็นได้จากของคำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะของศาลรัฐธรรมนูญที่ ๒๐/๒๕๖๔ ที่ว่ารัฐธรรมนูญและกฎหมายปัจจุบันไม่ได้ห้ามเพศเดียวกันใช้ชีวิตคู่ร่วมกันและมีเพศสัมพันธ์กัน ไม่ได้ห้ามจัดพิธีแต่งงาน ไม่ได้ห้ามทำประกันชีวิตระบุให้คู่ชีวิตเป็นผู้ได้รับประโยชน์ โดยเสนอแนะให้รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสมควรพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมาย เพื่อรับรองสิทธิและหน้าที่ของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างเหมาะสมต่อไป อีกทั้งประเทศไทยยังมีพันธกรณีตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 23 ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีและได้ให้สัตยาบันในปี ค.ศ. 1996 ดังนั้น จึงมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายและพาณิชย์ โดยเฉพาะในบรรพ 5 ครอบครัว สาระสำคัญที่เป็นจุดเด่นของการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้คือ การแก้ไขถ้อยคำที่ระบุเพศจากแต่เดิมใช้คำว่า “ชาย” และ “หญิง” เปลี่ยนมาใช้คำว่า “บุคคล,” “ผู้หมั้น,” “ผู้รับหมั้น,” และ “คู่หมั้น” เพื่อให้สามารถทำการหมั้นหรือทำการสมรสได้ การแก้ไขอายุการหมั้นและการสมรสของบุคคลจากอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์เป็นอายุสิบแปดปีบริบูรณ์ การเปลี่ยนจากคำว่า “สามีภริยา” เป็นคำว่า “คู่สมรส” การแก้ไขถ้อยคำกรณีเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจากคำว่า “ในทำนองชู้สาว” เป็นคำว่า “ในทำนองชู้” และเพิ่มเหตุฟ้องหย่าให้สอดคล้องกับลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสเพศเดียวกันโดยเพิ่มเหตุ “กระทำการหรือยอมรับกระทำเพื่อสนองความใคร่” ถึงแม้ว่าการแก้ไขกฎหมายในครั้งนี้จะมุ่งเน้นแก้กฎหมายเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการสมรส เพื่อรับรองสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวแก่บุคคลทุกเพศโดยไม่นำเหตุแห่งเพศสภาพหรือเพศวิถีมาเป็นข้อจำกัดในการจดทะเบียนสมรสดังเช่นกฎหมายในปัจจุบันที่ยังจำกัดว่าการสมรสจะทำได้เฉพาะกรณีทั้งสองฝ่ายเป็นชายและหญิงเท่านั้น แต่ก็ต้องถือว่าในสายของกฎหมายได้ให้การยอมรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศให้มีสถานะทางกฎหมายของการเป็น “คู่หมั้น” หรือ “คู่สมรส” ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายขึ้นระหว่างบุคคลทั้งสอง เช่น หน้าที่ในการอยู่กินกันฉันคู่สมรส หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน สิทธิในการเรียกค่าทดแทน สิทธิในการฟ้องชู้ สิทธิในการรับมรดก เป็นต้น

References

จันทมร สีหาบุญลี วิมลรักษ ศานติธรรม และอัญชลี จวงจันทร์. (2565). บทสรุปเชิงนโยบาย สมรสเท่าเทียม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

จีรพงษ์ ตรงวานิชนาม. (2566). สิทธิทางกฎหมายที่ควรกำหนดให้เท่าเทียม ในกรณีที่ตรากฎหมายสมรสเท่าเทียม. สืบค้น 2 ตุลาคม 2567, จาก https://library.coj.go.th/pdf-view.html?fid=51506& table=files_biblio

ไชยพัฒน์ ธรรมชุตินันท์. (2567). “สมรสเท่าเทียม” ก้าวสำคัญกฎหมายครอบครัวไทย : สาระสำคัญและเรื่องที่ยังไปไม่ถึง. สืบค้น 19 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.the101. world/marriage-equality-bill/

ไชยพัฒน์ ธรรมชุตินันท์. (2565). พัฒนาการของกฎหมายลักษณะครอบครัวในไทย. วารสารนิติศาสตร์, 51(2), 470-483.

ณตภณ ดิษฐบรรจง. (2567). สมรสเท่าเทียม แก้กม. กว่าอีก 40 ฉบับ! [Status update]. Facebook. สืบค้น 10 ธันวาคม 2567, จาก https://www.facebook.com/bangkokpride.official

ณิมลพรรณ์ พิมพ์จุฬา. (2566). การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่มีความหลากหลายทางเพศโดยศาลเยาวชนและครอบครัว. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารกระบวนการยุติธรรม, คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดวงพร ช่างทอง. (2565). การสมรสเท่าเทียม กลุ่มคนหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) มีพื้นที่แค่ไหนในสังคม. สืบค้น 2 ตุลาคม 2567, จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/ elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=2655

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2567). สมรสแท้ สมรสเทียม สมรสปลอม (บทความพิเศษ). วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2(1), (1-9)

เทิดเกียรติภณช์ แสงมณีจีรนันเดชา, และรัตพงษ์ สอนสุภาพ. (2562). ความเสมอภาคของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศต่อการสมรสและการรับรองบุตรในประเทศไทย : มุมมองของนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวทางสังคม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(2), 1-18.

ธีรเดช มโนลีหกุล และสาธิตา วิมลคุณารักษ์. (2566). โครงการศึกษาเชิงวิชาการเพื่อใช้ประกอบการยกร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(2), 245-277.

ไพโรจน์ กัมพูสิริ. (2565). ย่อหลักกฎหมายครอบครัว (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ.2567. (2567). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 141 ตอนที่ 58. หน้า 1-21.

พรพิมล โพธิ์ชัยหล้า และวรเชษฐ์ โทอื้น. (2567). เพศสภาพและการสมรสเท่าเทียมในมุมมองรัฐศาสตร์เชิงพุทธ. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(2), 655-669.

วุฒิชัย เอียดเหลือ. (2565). การเตรียมความพร้อมของศาลเยาวชนและครอบครัวในการบังคับใช้กฎหมายครอบครัวของคู่ชีวิต. สืบค้น 2 ตุลาคม 2567, จาก https://library.coj.go.th/pdf-view.html?fid=49149&table=files_biblio

สาธิตา วิมลคุณารักษณ์ และธีรเดช มโนลีหกุล. (2566). โครงการศึกษาเชิงวิชาการเพื่อใช้ประกอบการยกร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(2), 245-274.

สาวตรี สุขศรี. (2564). การศึกษาการบังคับใช้พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : บริษัท กู๊ดเฮด พริ้นติ้ง แพคเกจจิ้ง กรุ๊ป จำกัด.

สมชาย กษิติประดิษฐ์. (2563). กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อารยา สุขสม. (2562). คู่มือการปฏิบัติงานของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ในการคุ้มครองระหว่างเพศตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558. (พิมพ์ครั้งที่ 1). สืบค้น 2 ตุลาคม 2567, จาก https://th.undp.org

Frances Nicholson. (2018). The Right to Family Life and Family Unity of Refugee and Other in Need of International Protection and the Family Definition Applied. Retrieved 2 October 2024, from https://www.refworld.org

iLAW. (2567). สมรสเท่าเทียม : เปิดกฎหมายแพ่งแก้ไขใหม่ บุคคล-บุคคล สมรสได้ ไม่จำกัดแค่ชาย-หญิง. สืบค้น 2 ตุลาคม 2567, จาก https://www.ilaw.or.th/articles/43563

Kyle Knight, Sunai Phasuk. (2024. Victory for Same-Sex Marriage in Thailand. Retrieved 2 October 2024, from https://www.hrw.org/news/2024/06/18/victory-same-sex-marriage-thailand

Kamalanuch Aksorngarn. (2024). Legalization of Same-Sex Marriage in Thailand: Society Steps Forwad, But Policymakers Still Hesitate. Beijing Law Review, 15, 91-101.

Lanre AbassBolatito. (2012). The Natural Law Theory of Moralty and the Homosexuality in African Culture. Ogirisi: a new journal of African studies, 9(1), 182-190.

Macarena Seaz. (2014). Transforming Family Law Through Same-Sex Marriage: Lessons from (and to) The Western World. Duke Journal of Comparative & International Law, 25(125), 125–196.

Marie Digoix. (2020). Introduction – LGBT Questions and the Family. European Studies of Population. สืบค้น 2 ตุลาคม 2567, จาก https://www.springer.com/series/5940/books

Mark Strasser. (1998). Natural and Same-Sex Marriage. Depaul Law Review, 48(1), 51-81.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27