การศึกษาทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • โชคดี คู่ทวีกุล สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ชวลีย์ ณ ถลาง หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, นักท่องเที่ยวชาวไทย, ส่วนประสมทางการตลาดบริการ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (9P’s) ของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดสุรินทร์ และ 2) ศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยและทัศคติต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (9P’s) ในการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดสุรินทร์ การวิจัยเชิงปริมาณนี้เก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยในอำเภอเมือง อำเภอท่าตูม อำเภอสำโรงทาบ และอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ รวม 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ อัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติการทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว.โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

          ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (9P’s) ด้านบุคลากรมากที่สุด และ 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน สรุปว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์ทุกด้าน ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน การศึกษาสูงสุด สถานภาพ ที่แตกต่างกัน ไม่ทำให้ความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (9P’s) ในการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดสุรินทร์แตกต่างกัน

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2563 สืบค้น 30 ตุลาคม 2565, จาก https://mots.go.th/news/category/599.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566-2570). สืบค้น 5 มีนาคม 2566, จาก https://province.mots.go.th/ewtadmin/ewt/ranong/ download/article/article_20230418122435.pdf.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศรายจังหวัดปี 2565. สืบค้น 10 มีนาคม 2566, จาก https://www.mots.go.th/news/category/657.

ชลิตา เฉลิมรักชาติ. (2561). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อวัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต) สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้น 13 มีนาคม 2566, จาก http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/3062/3/chalita_chal.pdf.

นันทิสรา วุฑฒิกรรมรักษา. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเมืองรองของภาคเหนือตอนบน จังหวัดเชียงราย ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ และพะเยา. (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต) วิทยาลัยการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้น 15 พฤษภาคม 2567, จาก https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/3269/1/TP%20MS.044%202561.pdf.

ปิ่น บุตรี. (2567). เปลี่ยนภาพจำ "เมืองรอง" เป็น "เมืองน่าเที่ยว" ข่าวดี โลว์ซีซันนี้ เที่ยว 55 จังหวัด ลดหย่อนภาษีสูงสุด 15,000 บาท. ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้น 30 สิงหาคม 2567, จาก https://mgronline.com/ travel/detail/9670000052366.

พูนทรัพย์ เศษศรี. (2566). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยและการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจังหวัดยโสธร. วารสารวิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 4(1), 56-73.

สำนักงานสภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. สืบค้น 10 ตุลาคม 2567, จาก http://nscr.nesdc.go.th/ns/.

เสรี วงษ์มณฑา. (2565). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการสัมมนาร่วมสมัยประเด็นทางด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม. วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา (กรุงเทพฯ): กรุงเทพมหานคร.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2559). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (creative tourism). กรุงเทพฯ: โคคูน แอนด์ โค.

Philip Kotler. (2017). Marketing 4.0: Moving from Traditional to Digital. Hoboken, New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.

Yamane, T. (1973). Statistics: an Introductory Analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

คู่ทวีกุล โ., & ณ ถลาง ช. (2024). การศึกษาทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดสุรินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2(2), 54–65. สืบค้น จาก https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JVU_HS/article/view/1807