ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงามในจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาดบริการ, คุณภาพการให้บริการ, การตัดสินใจใช้บริการ, คลินิกเสริมความงามบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทดสอบผลกระทบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงามของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา และ 2) ทดสอบผลกระทบปัจจัยคุณภาพบริการที่มีต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงามของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา ใช้แบบสอบถาม โดยการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง จำนวน 400 ตัวอย่าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความปรวนแปรทางเดียว และการวิเคราะห์แบบถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 59.50 โดยส่วนใหญ่มีอายุ 26 – 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 29.25 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 56.75 มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน คิดเป็นร้อยละ 32.75 และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000 – 35,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 48.75 ซึ่งระดับความคิดเห็นของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ คุณภาพการให้บริการ ระดับการตัดสินใจใช้บริการ ในภาพรวมทั้ง 3 ปัจจัย อยู่ในระดับมาก และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงามของผู้บริโภค โดยพบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านกระบวนการ มีอิทธิพลทางตรงต่อการเลือกใช้บริการคลินิกเสริมความงามของผู้บริโภค โดยมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ร้อยละ 41.3 และปัจจัยคุณภาพบริการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงามของผู้บริโภค พบว่า ความเป็นรูปธรรมของบริการ การตอบสนองต่อลูกค้า และการให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า มีอิทธิพลทางตรงต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงามของผู้บริโภค โดยมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ร้อยละ 59.1
References
ฐานเศรษฐกิจ. (2565). ธุรกิจความงามโคราชกระฉูด อัดโปรดั้มราคาแข่งเดือด. สืบค้น 1 สิงหาคม 2567, จาก https://www.thansettakij.com/business/marketing/571808.
รุ่งนภา กิตติลาภ อุมาวรรณ วาทกิจ และร่มสน นิลพงษ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการคลินิกเสริมความงามในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. Journal of Buddhist Education and Research: JBER, 6(1), 60-74.
ศศินา ลมลอย วิรัลพัชร วิลัยรัตน์ รุจาภา แพ่งเกษร และพัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการคลินิกเสริมความงาม ด้านผิวพรรณของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์,15(2), 74-87.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). แนวโน้มธุรกิจความงามในประเทศไทย ปี 2564-2568. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2567, จาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/Beauty-Business_Trend.pdf.
สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย. (2565). รายงานประจำปี 2565. สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย.
อนุชิตา ทองประไพ และสุมาลี สว่าง. (2564).การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ: ปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถาบันความงามมิก้าคลินิก. ใน เพียรจันทร์ โกญจนาท (ประธาน). การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติครั้งที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2564, (หน้า 1037-1048). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
Cochran, L. R. (1990). The sense of vocation: A study of career and life development. State University of New York Press.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
_______. (2013). Multivariate data analysis (7th ed.). Pearson.
_______. (2020). Multivariate data analysis (8th ed.). Cengage.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2022). Marketing management (16th ed.). Pearson.
Kurnianingrum, S., & Hidayat, A. (2020). The role of financial literacy in improving saving behavior: Evidence from Indonesia. Journal of Economics and Business Studies, 8(2), 45-58.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., and Berry, L. L. (2023). SERVQUAL: A Multiple-Item Scale for Measuring Consumer Perceptions of Service Quality. Journal of Retailing.
Polit, D. F., & Beck, C. T. (2023). Nursing Research: Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice (11th ed.). Wolters Kluwer.
Robbins, S. P., & Judge, T. A. (2023). Organizational Behavior (19th ed.). Pearson.
Tambingon, L. S., & Saerang, H. M. (2019). The influence of financial literacy on saving behavior: A study of students in Manado. Journal of Economic and Social Development, 6(1), 22-31.
Turner, R. C., and Carlson, L. (2003). Indexes of Item-Objective Congruence for Multidimensional Items. International Journal of Testing, 3(2), 163-171.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.