ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการแอปพลิเคชัน GHB ALL GEN ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ชนิดา สงวนศักดิ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • พิทยา ผ่อนกลาง หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, การยอมรับเทคโนโลยี, การตัดสินใจ, แอปพลิเคชัน GHB ALL GEN

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทดสอบความมีอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปฟลิเคชั่น GHB ALL GEN ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ จังหวัดนครราชสีมา และ 2) ทดสอบความมีอิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีที่มีต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปฟลิเคชั่น GHB ALL GEN ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม จำนวน 400 ตัวอย่างและสถิติที่ใช้ประกอบไปด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ

         ผลการวิเคราะห์การทดสอบความมีอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาด พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์  ด้านราคา  และด้านส่งเสริมการตลาด มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปพลิเคชัน GHB ALL GEN ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ ด้วยขนาดผลกระทบ 0.446, 0.102 และ 0.422 ตามลำดับ มีค่าพยากรณ์เท่ากับร้อยละ 67.9 ยกเว้น ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปฟลิเคชัน GHB ALL GEN ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์

         ผลการวิเคราะห์การทดสอบความมีอิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยี พบว่า ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี ทุกด้าน มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปฟลิเคชัน GHB ALL GEN ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ ด้วยขนาดผลกระทบ 0.686 และ 0.290 มีค่าพยากรณ์เท่ากับร้อยละ 84.5

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2567). แบงก์ชาติ เปิดสถิติ คนไทย ‘ถอนเงินสด’ ลดลง25%. สืบค้น 24 เมษายน 2567, จาก https://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1120363

ชูชัย สมิทธิไกร. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภค(พิมพ์ครั้งที่ 7).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณรงค์เกียรติ์ อ่ำบุญ. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการและปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ Application MyMo ของลูกค้าธนาคารออมสินในกรุงเทพมหานคร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/ 4866/1/narongkeart_aumb.pdf

ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2566). ประวัติธนาคารอาคารสงเคราะห์. สืบค้น 1 สิงหาคม 2567, จาก https://www.ghbank.co.th/about/history.

เบญจมาศ วงศ์พุฒิ, วิจิตรา จําลองราษฎร์, และเอกรงค์ ปั้นพงษ์. (2567). ส่วนประสมทางการตลาดบริการและการยอมรับเทคโนโลยีบนสมาร์ตโฟนที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชัน GHB ALL ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 11(1), 147-161.

ผู้จัดการออนไลน์. (2566). จำนวนราษฎรแตะระดับ 66 ล้านคน กทม.-โคราชมากสุด สมุทรสงครามน้อยสุด. สืบค้น 2 สิงหาคม 2566, จาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9660000001473

ภัททิยา ลือมอญ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชัน Skyscanner ของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อุษา โบสถ์ทอง, ศิริพร ลักขณา, ณัทรัตน์ ทินวัง, รุจิรา มะรินทร์ และขจรศักดิ์ วงศ์วิราช. (2566). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชัน 7-Delivery ของผู้ใช้บริการในอําเภอเมือง จังหวัดลําปาง. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 10(1), 185-204.

Ajzen, I., & Fishbein, M. (1980). Understanding attitudes and predicting social behavior. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Davis, F. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly, 319-339.

Hair Jr, J. F., Hult, G. T. M., Ringle, C., & Sarstedt, M. (2013). A primer on partial least squares structural equation modeling (PLS-SEM): Sage

Kotler, P., (2012). Marketing Management. (14th ed.). England: Pearson

Kotler, Philip & Keller Kelvin Lane. (2016). Marketing Management. (15th global edition) Edinburgh: Pearson Education. (679 pp)

Phung, T., Tran, H., & Nguyen, L. (2023). Determinants of mobile banking application adoption in Southeast Asia: A comparative study of Thailand and Vietnam. Asian Journal of Economic and Banking Research, 10(3), 210-230.

Ratanaburi, S. & Sakulku, P. (2023). The influence of marketing mix on mobile banking adoption in Thailand. Journal of Business and Economic Development, 11(2), 89-104.

Schiffman, Leon G; & Kanuk, Leslie Lazar. (1994) Consumer Behavior. (5th ed). New Jersey: Prentic-Hall.

Somchai, W. & Thanapat, K. (2024). Understanding consumer decision-making in adopting mobile banking applications in Thailand. Journal of Financial Innovation and Technology, 9(1), 45-62

Sittichai, P. & Tanakorn, C. (2023). Factors influencing technology acceptance in mobile banking applications: A case study of Thailand. Journal of Digital Finance, 7(3), 201-218.

Taherdoost, H. (2018). A review of technology acceptance and adoption models and theories. Procedia Manuf, 22, 960–967.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27