ภาพยนตร์ไทยกับการสร้างเมืองเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว

ผู้แต่ง

  • ชุติมา แก่นจันทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • พงษ์พัฒน์ ด่านอุดม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • กรกฏ จำเนียร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ชวัลรัตน์ ศรีนวลปาน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • บำรุง ศรีนวลปาน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ภาพยนตร์, เมือง, การท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

     บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งเสริมการท่องเที่ยวจากภาพยนตร์ไทย เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ในการเลือกใช้เมืองในภาพยนตร์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและความมั่นคง และเพื่ออธิบายความเกี่ยวข้องระหว่างการเลือกช่วงเวลายุคสมัยภาพจำของเมืองในอดีต โดยการยกตัวอย่างภาพยนตร์ที่เอาเหตุการณ์ในอดีตมาเป็นจุดขายในการสร้างภาพยนตร์เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ เรื่องเพื่อนที่ระลึก, สุขสันต์วันโสด, คิดถึงวิทยา ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ยกตัวอย่างภาพยนตร์ที่มีความสวยงามทางธรรมชาติและทั้งทางด้านวัฒนธรรมรวมถึงภาพยนตร์ที่มีภาพจำเชิงสัญญะเชื่อมโยงถึงอดีตประกอบกับการหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์

     ผลการศึกษาพบว่า ผู้กำกับภาพยนตร์มี Concept (แนวคิด) ที่แตกต่างกัน ภาพยนตร์ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักเลือกใช้เมืองที่มีธรรมชาติที่สวยงาม และส่วนมากเกี่ยวกับการเดินทางค้นหาตัวเองปราศจากสังคมเมือง แต่ในบางภาพยนตร์ก็เลือกใช้เมืองเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อสารถึงอดีตก็สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เช่นกัน จึงขึ้นอยู่รสนิยมการรับชม เพราะภาพยนตร์มีหลายมุมมองให้เลือกชม แต่ทั้งสองแบบสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ สามารถทำให้ชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาเยี่ยมชมและเดินทางตามรอยภาพยนตร์ได้เหมือนกัน

Author Biography

บำรุง ศรีนวลปาน, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

         

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). รู้จักสาธร ยูนีค ทาวเวอร์ ตึกสร้างสูงสัญลักษณ์วิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com

จีดีเอช. (2565). เพื่อน...ที่ระลึก. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.GDH559.com

จำเริญลักษณ์ ธนะวังน้อย. (2544). ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยตั้งแต่แรกเริ่มจนสิ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐกร วิทิตานนท์. (2565). เมืองกับภาพยนตร์. สืบค้น 8 มิถุนายน 2566, จาก https://www.the101.world/cities-and-cinema/.

โดม สุขวงศ์. (2556). หนึ่งศตวรรษ ภาพยนตร์ไทย 2440-2540. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นครปฐม: หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน).

ประภาส อยู่เย็น. (2566). เปิดลิสต์ 10 อันดับหนังไทยทำเงินสูงสุดตลอดกาล (ฉบับอัปเดต 2566) สืบค้น 19 ตุลาคม 2566, จาก https://www.beartai.com/buzz/1318295

พุทธพงษ์ เจียมรัตตัญญูม. (2564). สำรวจนางสาวสุวรรณและโชคสองชั้นผ่านข้อถกเถียงว่าด้วย หนังไทยเรื่องแรก. จดหมายข่าวหอภาพยนตร์, สืบค้น 8 มิถุนายน 2566, จาก https://www.fapot.or.th/main/ information/article/view/805.

ภิญญดา รวมศิลป์. (2563). การศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวตามรอยซีรีส์ เรื่อง Goblin คำสาปรักผู้พิทักษ์วิญญาณ. สารนิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต. สาขาวิชาเอเชียศึกษา, คณะอักษรศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุทธากร สันติธวัช. (2550). หนังไทยในทศวรรษหลัง (พ.ศ. 2530 – 2539). สารคดี 13, ฉบับที่ 150, หน้า 129-132.

อัญชลี ชัยวรพร. (2540). หนังไทยกับการสะท้อนภาพสังคม. สารคดี 13, ฉบับที่ 150, หน้า 125 - 129.

Doolaylay. (2021). เที่ยวตามรอยหนัง " Low Season สุขสันต์วันโสด " มีอะไรมากกว่าในหนัง. สืบค้น 20 มิถุนายน 2566, จาก https://th.readme.me/p/36467.

The Standard. (2564). เปิดตัวอย่าง Notebook ภาพยนตร์ ‘คิดถึงวิทยา’ เวอร์ชันบอลลีวูดที่จะเข้าฉายในอินเดีย. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2566, จาก https://thestandard.co/bollywood-remake-of-the-notebook/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-10