ปัจจัยส่วนประสมการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารประเภทปิ้งย่างของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • อังควิภา แนวจำปา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • รัชนี งาสระน้อย นักวิจัยศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฝ่ายวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมการตลาด, การตัดสินใจ, ร้านอาหารประเภทปิ้งย่าง, จังหวัดนครราชสีมา

บทคัดย่อ

     การวิจัยเรื่อง ปัจจัยส่วนประสมการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารประเภทปิ้งย่างของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านอาหารประเภทปิ้งย่าง ระดับความคิดเห็นปัจจัยส่วนประสมการตลาด ระดับความคิดเห็นการตัดสินใจเลือกร้านอาหารประเภทปิ้งย่าง และศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาด (7P) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารประเภทปิ้งย่าง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคอาหารประเภทปิ้งย่างในเขตจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 385 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธี Enter

          ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนประสมการตลาด (7P) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารประเภทปิ้งย่าง ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) เท่ากับ 0.907 แสดงว่า ตัวแปรอิสระ คือ ปัจจัยส่วนประสมการตลาด (7P) มีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม คือ การตัดสินใจเลือกร้านอาหารประเภทปิ้งย่าง ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา ร้อยละ 90.70 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีเพียง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากร (X5) ด้านส่งเสริมการตลาด (X4) และด้านราคา (X2) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารประเภทปิ้งย่างของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนครราชสีมา Y = -0.008 + 0.684(X5) + 0.410(X4) – 0.087(X2)

References

กิจติมา ลุมภักดี และไกรชิต สุตะเมือง. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารบุฟเฟต์ของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาดและการบริหารธุรกิจ, 2(4), 19-35.

กรรญา เสริมศักดิ์ศศิธร. (2561). พฤติกรรมและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารบุฟเฟต์ชาบูชิของพนักงานในเขตนิคมอมตะนครชลบุรี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ก้องเกียรติ อิทธาภิชัย. (2559). ส่วนประสมทางการตลาดบริการ แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรม และความพึงพอใจโดยรวมต่อการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในศูนย์การค้าเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 7(2), 86-112.

ชลลดา มงคลวนิช, จักษณา พรายแก้ว และ ปุณณภา กนกวลัยวรรณ. (2560). ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการบริโภคอาหารบุฟเฟต์ในโรงแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 18(33), 81-95.

ฐานเศรษฐกิจ. (2566). “หม่าล่า-ปิ้งย่าง” โตแรง 6 เดือนร้านอาหารเกิดใหม่ ทะลุหลักแสน. สืบค้น 15 มีนาคม 2567. จาก https://www.thansettakij.com/business/marketing/573864.

ณัฐศาสตร์ ปัญญานะ และ วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการอาหารตามสั่งแบบจัดส่ง. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(1), 53-66.

นิธิวดี โล่สกุล. (2561). ส่วนประสมทางการตลาดที่สร้างคุณภาพการให้บริการร้านอาหารในโรงแรมระดับ 5 ดาว ของประชากรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นันทิภา เจิดจำรัส. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคบุฟเฟต์ปิ้งย่างในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตร์การเมืองมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปัญญาพร อนุวัตคุณธรรม. (2557). พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์อาหารในศูนย์การค้าเดอะมอลล์. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาดและการบริหารธุรกิจ, 4(2), 255-270.

ปัทมา เสนทอง, กิตติ สุวรรณโณ, ชิน ศรีมาลานนท์, ฐิตาพร มณีคง, ธนกร ชูกระชั้น, มานิตา โชติวงศ์, รุ่งจิรา สุขแปะเง้า, วัชรี ยวนเศษ และ นัฐลิกา เพ็งรักษ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลในการเลือกร้านหมูกระทะบุฟเฟต์และปัจจัยสภาพแวดล้อมในร้านหมูกระทะบุฟเฟต์ที่มีผลต่อสุขภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(1), 180-192.

ปรียานุช คูสกุล. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารร้านยูแอนด์ไอพรีเมี่ยมสุกี้บุฟเฟต์สาขาศูนย์การค้าเมกาบางนา. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ลักขโณ ยอดแคล้ว. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารแบบบุฟเฟต์ประเภทปิ้งย่างของผู้บริโภคในเขตจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(2), 117-127.

วิชยา ทองลัพท์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการร้านอาหารประเภทชาบูของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริฒณฑล.การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรุตม์ คล้อยเจริญศรี. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารปิ้งย่างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิลาสินี พิพัฒน์พัลลภ, เอก บุญเจือ และ วรัท วินิจ. (2558) พฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้บริการร้านอาหารบุฟเฟต์ปิ้งย่างสไตล์ญี่ปุ่นในอำเภอเมืองเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1(4), 212-228.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด.

อกนิษฐ์ เชยคำดี และ ชญาภัทร์ กี่อาริโย. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารติ่มซำอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาการจัดการ, 5(1), 39-58.

อัญธิกา แก้วศิริ และ ปะราสี เอนก. (2560). ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการร้านอาหารบุฟเฟต์ของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์, 1(2), 19-26.

GQ Thailand. (2561). “ปิ้ง” กับ “ย่าง” ต่างกันอย่างไร. สืบค้น 10 มีนาคม 2567, จาก https://www.gqthailand.com/culture/movie/article/gq-knowsit-grill.

Marketeer. (2023). ปีแห่งหมูกระทะ แบรนด์ใหญ่ของลงเล่นในตลาดปิ้งย่าง 9,000 ล้านบาท. สืบค้น 11 มีนาคม 2567, จาก https://marketeeronline.co/archives/335781.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijs Research, 2(2), 49-60.

Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (1994). Consumers behavior (5th ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.

Solomon, R. M. (2013). Consumer behavior: Buying, having, and being (10th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Education.

W.G.Cochran (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sonc. Inc.

Wongnai. (2022). 10 ร้านปิ้งย่างโคราช ย่างฟินกินเพลิน อิ่มคุ้มจุใจ. สืบค้น 11 มีนาคม 2567, จาก https://www.wongnai.com/listings/yakiniku-korat.

Wongnai. (2024). 40 ร้านหมูกระทะโคราช อิ่มคุ้มค่าคุ้มราคา สายกินตัวจริงต้องมาจัด. สืบค้น 10 เมษายน 2567, จาก https://www.wongnai.com/listings/bbq-korat.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-10