ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก ในเขตเทศบาลจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ปิยพงษ์ นฤมิตสุวิมล ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • พิทยา ผ่อนกลาง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

ประชากรศาสตร์, ส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจซื้อ

บทคัดย่อ

     งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากการใช้แอปพลิเคชันติ๊กต๊อก ในเขตพื้นที่เทศบาลจังหวัดนครราชสีมา และปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าการใช้แอปพลิเคชันติ๊กต๊อก ในเขตพื้นที่เทศบาลจังหวัดนครราชสีมา โดยการแจกแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 385 ตัวอย่าง ทำการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็นด้วยวิธีเจาะจงเลือกเพื่อตอบวัตถุประสงค์ โดยใช้สถิติการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ไคสแควร์ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

     ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ในทุกด้านมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก โดยในด้านรายได้ต่อเดือนมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกมากกว่าด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด ในทุกด้านมีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก โดยด้านผลิตภัณฑ์ มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์ในระดับ ปานกลาง ด้านราคา มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์ในระดับ ต่ำ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์ในระดับ ปานกลาง และด้านการส่งเสริมการตลาด มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์ในระดับ ปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

ชิษณุพงศ์ สุกก่ำ. (2560). ปัจจัยทีมีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสื่อออนไลน์ของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชูศรีวงศ์ รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์.

น้ำทิพย์ เนียมหอม. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่ออาชีวศึกษาในวิทยาลัยเทคโนโลยีวิบูลย์บริหารธุรกิจ รามอินทรา. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.

ปฏิมา คำสุขา และจุฑาทิพย์ เดชยางกูร. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านแอปพลิเคชันไลน์แมน ของคนวัยทำงานที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เปรมกมล หงส์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทาง แอพพิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพ. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

พิทยุช ญาณพิทักษ์. (2566). อิทธิพลของการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ สถาบันส่งเสริมและพัฒนาวิชาการตลาด, 3(6), 1005-1020. จาก https://doi.org/10.60027/iarj.2023.272786.

รณิดา อัจกลับ. (2563). ความพึงพอใจและพฤติกรรมการมีส่วนร่วม Challenge ในแอปพลิเคชัน TikTok ของผู้ใช้ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วรรณพร โตงาม และปรารถนา ปรารถนาดี. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่น TikTok Shop ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. Procedia of Multidisciplinary Research, 1(3), 42-51.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และศุภร เสรีรัตน์. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สมชาย กิจยรรยง. (2561). กลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: Smart Life.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2563). พาณิชย์เผยประชาชนซื้อของออนไลน์ต่อเนื่องและชื่นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ. สืบค้น 5 ธันวาคม 2566, จาก https://www.thailandplus.tv/archives/253742.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). ETDA เผยโควิด-19 เป็นเหตุสังเกตได้ Gen Z ใช้เน็ตสูงสุด ปีแรก ชนะ Gen Y แชมป์ 6 สมัย. สืบค้น 15 ธันวาคม 2564, จาก https://www.etda.or.th/th/pr-news/ETDA-released-IUB-2021.aspx.

สุรยศ เอี่ยมละออ, (2564). TikTok กางกลยุทธ์ปี 2564 เพิ่มศักยภาพผู้ใช้และธุรกิจให้เติบโตบนโลกออนไลน์. สืบค้น 5 ธันวาคม 2564, จาก https://ibusiness.co/detail/9640000028103

เหมชาติ สุวิพศ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการตลาดนัดของผู้บริโภคในพื้นที่ ต.เขาขลุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. (3 rd ed.). New York : John Wiley and Sons Inc.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York : Harper Collins

Publishers.

Dodd’s, B.K., Monroe, K.B. & Grewal, D. (1991). Effect of Price, Brands, and Store Information on Buyers Product Evaluation. Journal of Marketing Research,28, 307 – 319.

Howard, J. A. (1994). Buyer behavior in marketing strategy (2nd). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Julia Chan. (2021). Top Apps Worldwide for April 2021 by Downloads. Sensor Tower. From https://sensortower.com/blog/top-apps-worldwide-april-2021-by-downloads.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research. 2, 49-60.

Kotler, P. (2003). Marketing management. (11th ed.). New Jersey Prentice Hall.

_______. (2012). Marketing Management (14th ed.). England: Pearson.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-10