การจัดการประสบการณ์การท่องเที่ยวของชุมชนต้นแบบจาก CBT Thailand Standard 2020 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ

ผู้แต่ง

  • นรุตม์ชัย สมใจ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • เฉลิมเกียรติ เฟื่องแก้ว สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

การจัดการประสบการณ์, ประสบการณ์การท่องเที่ยว, CBT Thailand Standard 2020, กลุ่มภาคเหนือ

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบริบทพื้นที่ของชุมชนต้นแบบจาก CBT Thailand Standard 2020 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ (2) วิเคราะห์การจัดการประสบการณ์ท่องเที่ยวของชุมชนต้นแบบจาก CBT Thailand Standard 2020 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วมกับผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้นำชุมชนต้นแบบจาก CBT THAILAND STANDARD 2020 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ จำนวน 5 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า   

         บริบทการท่องเที่ยวของชุมชนต้นแบบจาก CBT Thailand Standard 2020 กลุ่มภาคเหนือ มีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่หลากหลายมีกิจกรรมท่องเที่ยวทั้งหมด 41 กิจกรรม 3 รูปแบบ ประกอบด้วย 1) รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ 5 กิจกรรม 2) รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม 31 กิจกรรม และ     3) รูปแบบการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ 5 กิจกรรม จำแนกรายละเอียดรูปแบบการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคเหนือทั้งหมด 7 รูปแบบการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 1) การท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตในชนบท 2) การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ 3) การท่องเที่ยวชมวัฒนธรรมประเพณี 4) การท่องเที่ยวเชิงอาหาร 5) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  6) การท่องเที่ยวเชิงเกษตร และ 7) การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

         การจัดการประสบการณ์การท่องเที่ยวของชุมชนต้นแบบจาก CBT Thailand Standard 2020 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ พบว่า มีประสบการณ์ที่ดีที่น่าจดจำมอบให้สำหรับนักท่องเที่ยว ประกอบด้วย 1) การจัดการประสบการณ์นักท่องเที่ยวที่เน้นลงมือปฏิบัติ 4 ชุมชน  2) การจัดการประสบการณ์นักท่องเที่ยวที่เน้นเรื่องราว 4 ชุมชน 3) การจัดการประสบการณ์นักท่องเที่ยวที่ใช้ความโดดเด่นของสถานที่ 4 ชุมชน 4) การจัดการประสบการณ์นักท่องเที่ยวที่เน้นทางอารมณ์ความรู้สึก 4 ชุมชนและ 5) การจัดการประสบการณ์นักท่องเที่ยวที่ใช้เหตุการณ์งานประเพณีไม่ปรากฎในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ

References

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชุน. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). รายงานประจำปีการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ท่องเที่ยววิถีไทยเก๋ไก๋สไตล์ลึกซึ้ง. สืบค้น 10 ธันวาคม 2565, จาก http://api.tat.or.th/upload/annual.

เฉลิมเกียรติ เฟื่องแก้ว. (2564). การจัดประสบการณ์ลูกค้าในธุรกิจการท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ. ใน แนวการศึกษาชุดวิชาสัมมนาการจัดการการท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (หน่วยที่ 12). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.

พจนา สวนศรี. (2560). การท่องเที่ยวโดยชุมชนในประเทศไทย. ในการประชุมเชิงวิชาการและการแถลงข่าว เรื่อง “รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ฉบับที่ 7” (น. 13). กรุงเทพฯ: สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

มติชนออนไลน์. (2563). “อพท.” ชู 19 ชุมชนต้นแบบมาตรฐาน CBT Thailand 2020 การันตีคุณภาพบริการท่องเที่ยวชุมชน. สืบค้น 2 มกราคม 2567, จาก https://www.matichon.co.th/economy/news_2269191

สุเทพ เกื้อสังข์. (2561). เวทีรวมพลคนท่องเที่ยวโดยชุมชน CBT Forum by DASTA ตอน Story Telling. องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. สืบค้น 1 ตุลาคม 2565, จาก https://www.77kaoded.com/news/chatmongkhon/129280.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2563). อพท ชู 19 ต้นแบบมาตรฐาน CBT Thailand 2020 การรันตีคุณภาพการบริการท่องเที่ยว. สืบค้น 1 ตุลาคม 2565, จาก http//mfocusnews.com/archives/9132/.

Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text. (2nd ed). Australia: Hodder Education.

Matos, N., Mendes, J and Valle, P. (2011). The Impacts of Tourism Experiences in the Destination Image: The Case of the Algarve. In Book of Proceedings Vol. II - International Conference on Tourism and Management Studies, ALGARVE 2011 pp. 1587-1589.

Pine, J. B., and Gilmore, J. H. (1999). Welcome to the experience economy. Harvard Business Review, 98-105.

Thoo,P.Y., Johari, S., Ismail, M. H., and Yee, L. L. (2019). Understanding the role of memo rable tourism experiences in loyalty at giant panda conservation centre, Zoo Negara Malaysia. International Journal of Recent Technology and Engineering. 7(5), 63-68.

UNWTO. (1997). Tourism 2020 Vision. Madrid:UNWTO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-10