เจิดเกิบ: การละเล่นพื้นบ้านในจังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
การละเล่นพื้นบ้านไทย, กีฬาพื้นเมืองไทย, นันทนาการ, เกม, เด็กบทคัดย่อ
เจิดเกิบ เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่ได้รับนิยมในอดีตของเด็กในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษและหลายจังหวัดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปกรณ์ประกอบการเล่นและวิธีการเล่นเจิดเกิบที่นิยมเล่นในจังหวัดศรีสะเกษ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและทบทวนจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 ใช้แบบสอบถามปลายเปิดที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นนักศึกษา จำนวน 100 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง ขั้นตอนที่ 3 ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม ในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักที่เคยมีประสบการณ์การเล่นเจิดเกิบ จำนวน 28 คน และขั้นตอนที่ 4 ทดลองเล่นจริง โดยใช้ผู้ให้ข้อมูลหลักที่เคยมีประสบการณ์การเล่น จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการตรวจสอบสามเส้าเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ ผลการศึกษาพบว่า การละเล่นเจิดเกิบที่พบในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ มี 4 รูปแบบ คือ การละเล่นเจิดเกิบรูปแบบพื้นฐาน รูปแบบสร้างกระโจม รูปแบบสร้างพีระมิด และรูปแบบวงกลม โดยอุปกรณ์ประกอบการเล่นที่สำคัญของทั้ง 4 รูปแบบคือ รองเท้าแตะจำนวน 1 คู่ ส่วนรูปแบบสร้างกระโจมใช้ซี่ไม้ไผ่ประกอบการเล่น และรูปแบบพีระมิดใช้กระป๋องประกอบการเล่น ซึ่งจำนวนผู้เล่น สถานที่ในการเล่น (สนาม) กฎ กติกา วิธีการเล่น และการแพ้-ชนะ ไม่แตกต่างกันมากนัก เน้นเพื่อความสนุกสนานมากกว่าการแพ้ชนะ
References
กรมพลศึกษา. (2561). แผนพัฒนานันทนาการแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: ไอเดีย สแควร์.
เตชภณ ทองเติม. (2556). การละเล่นพื้นบ้านที่มีผลต่อสุขภาพและสมรรถภาพทางกายของเด็กในจังหวัดศรีสะเกษ. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. งานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
เตชภณ ทองเติม ขนิษฐา ฉิมพาลี และจีรนันท์ แก้วมา. (2567). การพัฒนาแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็ก โดยใช้รูปแบบการละเล่นพื้นบ้านไทย. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 4(1), e266377.
พันทิพย์. (2557). หวนรำลึกความหลังเมื่อวัยเยาว์กับเกมส์การละเล่นในโรงเรียน. สืบค้น 1 ธันวาคม 2565, จาก https://pantip.com/topic/31616255
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. (2565). ตารางสอนรายวิชา 4032227 การออกกำลังกายแบบบูรณาการสำหรับคนยุคใหม่ 3(2-2-5). สืบค้น 1 ธันวาคม 2565, จาก https://reg.sskru.ac.th/timetbl/showtschedule.php?year=22565&code=452
สมบัติ กาญจนกิจ. (2560). นันทนาการและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุกูล พลศิริ กนกวรรณ ทองตำลึง และเหมือนแพร รัตนศิริ. (2561). การอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยรามคำแหง (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 21(1), 78-90.
อามีนา เจ๊ะแว. (2564). การเสริมสร้างสัมพันธภาพในครอบครัวผ่านกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านสามจังหวัดชายแดนใต้. Journal of Social Science and Humanities Research In Asia, 27(3), 111-145.
อารีวรรณ หัสดิน. (2562). การดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงการละเล่นพื้นบ้านไทยพวนในพื้นที่ภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาศิลปวัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Hinojosa, A.N.A. & Aguilar, L.E.H. (2022). Post-Pandemic Rediscovering of Traditional Games for Social and Emotional Learning. International Conference on Education Technology and Computers (ICETC 2022), October 28-30, 2022, Barcelona, Spain. https://doi.org/ 10.1145/3572549.3572630.
True ID. (2563). เจิดเกิบ. สืบค้น 1 ธันวาคม 2565, จาก https://sport.trueid.net/detail/8M8RR4ZYvv60
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.