กลไกความร่วมมือระหว่างกันของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ต่อการออกแบบสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อรนารถ วรรณภิญโญ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

สกุลเงินดิจิทัล, ธนาคารกลาง, ความร่วมมือ, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

บทความนี้วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในการออกแบบสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง โดยใช้กรณีศึกษาจากสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางในต่างประเทศ และ (2) นำเสนอแนวคิดกลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อมาใช้ในการออกแบบสกุลเงินดิจิทัลที่อยู่ระหว่างการศึกษาและทดลองของประเทศไทย

สกุลเงินดิจิทัลเป็นเรื่องใหม่ที่ธนาคารกลางทั่วโลกให้ความสนใจศึกษาค้นคว้า ในขณะที่ธนาคารกลางในต่างประเทศบางแห่ง เช่น ธนาคารกลางประเทศจีน และธนาคารกลางประเทศบาฮามาส ได้พัฒนาสกุลเงินดิจิทัลสำหรับภาคประชาชนออกใช้งานจริงในวงกว้าง ภายใต้กลไกความร่วมมือกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ ต่อการออกแบบสกุลเงินดิจิทัลในฐานะบริการสาธารณะที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ บทความนี้นำเสนอถึงแนวคิดการออกแบบสกุลเงินดิจิทัลโดยธนาคารกลางที่รวบรวมจากบทความและงานวิจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมถึงศึกษาจากกรณีศึกษาของธนาคารกลางของประเทศจีน และธนาคารกลางของประเทศบาฮามาส ผู้เขียนพบว่า กรณีศึกษาจากทั้ง 2 ประเทศมีความสอดคล้องกันในเรื่องแนวคิดความร่วมมือระหว่างกันของภาคส่วนต่างๆ โดยมีการร่วมมือกันในการออกแบบและพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของประเทศ ซึ่งบทความนี้ได้ใช้เป็นแนวทางในการนำเสนอแนวคิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมต่อการออกแบบสกุลเงินดิจิทัลสำหรับประเทศไทย โดยการนำทฤษฎีการจัดการความร่วมมือภาครัฐแนวใหม่ และการมีส่วนร่วมของประชาชนมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้กระบวนการออกแบบสกุลเงินดิจิทัลของประเทศไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด

References

Arnstein, S. R. (1969). A ladder of citizen participation. Journal of the American Institute of planners, 35(4), 216-224.

Bank of Thailand. (2021). Retail Central Bank Digital Currency: Implications on Monetary Policy and Financial Stability in Thailand. https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/News2564/n6064t_annex.pdf

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participation's place in rural development: Seeking clarity through specificity. World development, 8(3), 213-235.

Erkut, B. (2020). From digital government to digital governance: are we there yet?. Sustainability, 12(3), 860.

Kennett, P. (2010). Global perspectives on governance. In The new public governance?.Routledge.

Kosse, A., & Mattei, I. (2023). Making headway-Results of the 2022 BIS survey on central bank digital currencies and crypto. BIS Papers. IAP2. (2018). IAP2 Spectrum of Public Participation. International Association for Public Participaiton (IAP2). Osborne, Stephen (2006). New Public Governance?. Public Management Review, 8(3), 377-387.

Pestoff, V., & Brandsen, T. (2010). Public governance and the third sector: opportunities for co-production and innovation?. In New Public Governance? Emerging perspectives on the theory and practice of public governance. Routledge.

Rhodes, R.A.W. (1996). The New Governance: Governing without Government.Political Studies, 44(4), 652-667.

Soderberg, G., Kiff, J., Tourpe, H., Bechara, M., Forte, S., Kao, K., ... & Yoshinaga, A. (2023). How Should Central Banks Explore Central Bank Digital Currency?. FinTech Notes (008).

Working Group on E-CNY Research and Development of the People's Bank of China. (2021). Progress of Research & Development of E-CNY in China. http://www.pbc.gov.cn/en/3688110/3688172/4157443/4293696/2021071614584691871.pdf

World Economic Forum. (2020). Central Bank Digital Currency Policy-Maker Toolkit. http://www3.weforum.org/docs/WEF_CBDC_Policymaker_Toolkit.pdf

World Economic Forum. (2023). Central Bank Digital Currency Global Interoperability Principles. https://www3.weforum.org/docs/WEF_Central_Bank_Digital_Currency_Global_Interoperability_Principles_2023.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ