บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ผู้แต่ง

  • จิตรานุช เกียรติอดิศร สถาบันพระปกเกล้า

คำสำคัญ:

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, การบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, ก๊าซเรือนกระจก, ภาวะเรือนกระจก, เมืองพร้อมรับภัยพิบัติ, เมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้ จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาบทบาท ความรับผิดชอบ และความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ที่สำรวจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ 2,149 แห่ง ผ่านแบบสอบถามและวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยยังไม่จัดลำดับความสำคัญให้เรื่องการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้น อย่างไรก็ตามพบว่า โครงการเกี่ยวกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่เป็นโครงการที่มาจากความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดเล็กมีสัดส่วนการใช้งบประมาณสำหรับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่ โดยท้องถิ่นให้ความสำคัญกับมีเรื่องการจัดการขยะ ซึ่งเป็นหน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นอันดับแรก 

ในมิติด้านการปรับตัว (adaptation) พบว่า แม้ว่าท้องถิ่นจะมีการตระหนักรู้อย่างมากเกี่ยวกับความท้าทายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่มีเพียงร้อยละ 38.43 ของผู้ตอบแบบสอบถามเท่านั้นที่ดำเนินกิจกรรมการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง ในมิติด้านการลดก๊าซเรือนกระจก (mitigation) พบว่าท้องถิ่นได้ดำเนินกิจกรรมด้านการลดก๊าซเรือนกระจก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 36.82 ซึ่งมักเป็นกิจกรรมหลักตามภารกิจท้องถิ่นและเมื่อสำรวจในประเด็นความเพียงพอของการจัดเก็บขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล พบว่า ไม่มีเพียงพอสูงถึงร้อยละ 47.15 ของพื้นที่สำรวจ และในการสำรวจมิติด้านการสร้างขีดความสามารถและขับเคลื่อนการดำเนินงานรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พบว่าร้อยละ 60.66 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังขาดกิจกรรมด้านการพัฒนาข้อมูล งานวิจัย และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้พบว่า ท้องถิ่นส่วนใหญ่สนับสนุนแนวคิดในการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นสามารถประกาศเขตพื้นที่ภัยพิบัติเองได้ เพื่อสามารถใช้อำนาจหน้าที่และงบประมาณ ในการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติได้อย่างทันท่วงที (70.40%) และสนับสนุนการเพิ่มงบประมาณสำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำ (63.70%) และต้องการการสนับสนุนจากส่วนกลางสำหรับโครงการริเริ่มเมืองสีเขียวที่ยั่งยืน (55.80%)

การศึกษาในครั้งนี้ เน้นย้ำถึงภูมิทัศน์การจัดการสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการปรับปรุงการจัดสรรทรัพยากร และความพยายามในการทำงานร่วมกันเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ

References

Bervia, Mark. (2009). Key Concepts in Governance. SAGE Publications.

Climate Center. (2022). Greenhouse effect. http://climate.tmd.go.th/content/article/10

Department of Environmental Quality Promotion. (2023). Policies and plans at the international and national levels related to urban management supervision and promotion. Urban environmental management. Environmental sustainability assessment guide for local government organizations. Department of Environmental Quality Promotion.

Department of Environmental Quality Promotion. (2023). Origins and importance of environmentally sustainable city assessment. Guide to sustainable environmental assessment for local administrative organizations. Department of Environmental Quality Promotion.

Hambleton, Robin Savitch, Hank V. and Stewart, Murray. (2002). Globalism and Local Democracy. In Hambleton, Robin Savitch, Hank V. and Stewart, Murray (Ed.), Globalism and Local Democracy: Challenge and Change in Europe and North America (pp. 1-19). Hampshire: Palgrave, p. 12.

Jarusombat, S. (2021). Potential of Local Government Organizations in Environmental Management. Journal of the King Prajadhipok's Institute, 9(1), 5-35.

Levin, K., Boehm, S., & Carter, R. (2022). 6 Big Findings from the IPCC 2022 Report on Climate Impacts, Adaptation and Vulnerability. https://www.wri.org/insights/ipcc-report-2022-climate-impacts-adaptation-vulnerability.

Lienard, C. (2022). COP27 in Egypt. https://www.bic-rhr.com/sites/default/files/inline-files/BIC%20Special%20Publication%2C%20COP27%20-%20Clementine%20Lienard-1.pdf.

National Development Research Institute. (2006). Assessment of social risk and vulnerability: Measuring poverty and social vulnerability into practical guidelines in Thailand. https://tdri.or.th/wpcontent/uploads/2012/12/h103.pdf

Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. (2018). Introduction, Definitions, and Principles for Preparing Plans to Adapt to Change. Ministry of Natural Resources and Environment.

Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. (2021). Environmental Protected Areas. https://www.onep.go.th/

Royal Thai Government Gazette, Vol. 116, Pt. 114. Decentralization Plan and Procedures for Local Government Organizations, (Special Issue), 11st November B.E. 2542 (A.D.1999), pp.53-55

Royal Thai Government Gazette, Vol. 139, Special Section 253. Solid Waste Management, (No. 2), 11st October B.E. 2565 (A.D.2022), pp.5-6

Thai Environment Institute. (2005). Environmental Governance Indicators of public participation 2005. Thai Environment Institute.

Turner, Mark. (1999). Central-Local Relations: Themes and Issues. In Turner, mark (Ed.), Central-local relations in Asia-Pacific: Convergence or divergence? (pp. 1-18). Hampshire: Palgrave, p. 4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย