แนวทางในการจัดการน้ำเสียในชุมชนเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • ฮากีมี สะแปอิง สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • รุสชีลาวาตี บินดอเลาะ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • มูฮำมัดซารีฟี ซาสือรี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • ฟิรดาว ลูโบะเด็ง สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • เปาซี วานอง สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • อิบรอฮิม สารีมาแซ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

คำสำคัญ:

น้ำเสียชุมชน, ผลกระทบ, แนวทางในการจัดการน้ำเสีย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแนวทางในการจัดการน้ำเสียในชุมชนเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุของน้ำเสียในชุมชนเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของน้ำเสียในชุมชนเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการปัญหาน้ำเสียในชุมชนเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก 1) ตัวแทนเทศบาลเมืองนราธิวาส จากตัวแทนสำนักการช่าง ตัวแทนฝ่ายพัฒนาชุมชน และตัวแทนกรรมการชุมชนใน 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนกาแลตาแป ชุมชนกาแลปาแย และชุมชนชายทะเล รวมจำนวน 5 คน โดยใช้วิธีการเลือกสุ่มแบบเจาะจง (purposive sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ 2) ตัวแทนประชาชนใน 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนกาแลตาแป ชุมชนกาแลปาแย และชุมชนชายทะเล ตัวแทนประชาชนชุมชนละจำนวน 10 คน รวมจำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอ้างอิงด้วยบุคคลและผู้เชี่ยวชาญ (snowball sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แก่นสาระ (thematic analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) สาเหตุของน้ำเสียในชุมชน พบว่า สามารถแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เกิดจากภายในชุมชนที่เป็นพฤติกรรมของประชาชนในการปล่อยน้ำเสีย และการทิ้งขยะลงสู่แม่น้ำโดยตรง และส่วนที่มาจากภายนอกชุมชนน้ำเสียมาจากท่อระบายน้ำเสียของเมืองที่ไม่มีระบบการจัดการหรือการบำบัดน้ำเสียก่อนระบายลงสู่แม่น้ำ 2) ผลกระทบที่ประชาชนได้รับจากปัญหาน้ำเสีย ประกอบด้วยหลายด้าน (1) ด้านการดำรงชีวิต พบว่า มีกลิ่นเน่าเหม็น ขยะลอยมาติดที่ใต้ถุนบ้าน ทำให้เกิดปัญหาขยะเพิ่มขึ้น (2) ด้านสุขอนามัย พบว่า เป็นแหล่งเพาะยุงที่เป็นพาหะของเชื้อโรค เช่น ไข้เลือดออก และเป็นแหล่งที่สามารถแพร่กระจายเชื้อโรคได้ง่าย (3) ด้านการประกอบอาชีพ พบว่า คนในพื้นที่ส่วนใหญ่มีอาชีพประมง ทำให้ปลาในกระชังตาย เพราะมลพิษทางน้ำ (4) ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า เกิดน้ำดำ โคลน ทำให้ทัศนียภาพในชุมชนสกปรก 3) แนวทางในการจัดการปัญหาน้ำเสียในชุมชน พบว่า ควรมีการรณรงค์ปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม และการอบรมให้ความรู้ในการสร้างบ่อดักไขมันอย่างง่ายภายในครัวเรือน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถบำบัดน้ำเสียเบื้องต้นจากครัวเรือนได้ การสร้างระบบท่อส่งน้ำเสียไปบำบัดที่บ่อน้ำเสียรวมในชุมชน รวมถึงการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองช่าง กองสาธารณสุขของเทศบาลเมืองนราธิวาสเพื่อดูแลและการบริหารน้ำเสียในชุมชน

References

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. (2563). สถานการณ์น้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียของประเทศไทยขั้นเสื่อมโทรม 11 แห่ง. https://shorturl.asia/6rv40

สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 16. (2566). รายงานสถานการณ์คุณภาพผิวดิน ครั้งที่ 3 ปีงบประมาณ 2566. https://www.epo16.go.th/frontpage

ตัวแทนกรรมการชุมชนกาแลปาแย, สัมภาษณ์, 19 กันยายน 2566.

Holdgate, M. W. (1979). A perspective of environmental pollution. Cambridge University Press.

เดช กาญจนางกูร. (2543). การบริหารงานสิ่งแวดล้อมในจังหวัดเชียงใหม่. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2545). คู่มือการจัดการขยะและน้ำเสีย. กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

สุพัตรา มาศดิตถ์ และสง่า สรรพศรี. (2533). สรุปผลการสัมมนานโยบายและแนวทางการจัดการน้ำเสียของประเทศไทย. ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารไอบีเอ็ม.

วันชัย บุณยสุรัตน์. (2534). ปัญหาน้ำเสียในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. เชียงใหม่.

กัณฑรีย์ ศรีพงศ์พันธุ์. (2540). มลพิษทางน้ำ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปิยธิดา ศรีพล, รัชดา ถักดียิ่ง, พรสวรรค์ ชัยมีแรง, รุ่งนภา กิตติลาภ และอณพสิษฐ ไชยเชษฐ์. (2563). แนวทางการจัดการน้ำเสียบึงหนองโคตรของเทศบาลตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(2), 113-114.

ปริชา ปียจันทร์. (2559). การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา การจัดการน้ำเสียในคลองบางบัว เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาและการพัฒนาสังคม, 12(1), 224-233.

ธนัสนี สมบูรณ์, ศิวพร หอมหวล และยุภาพร อำนาจ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบริหารจัดการน้ำเสียในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 24(3), 66-74.

ศุภัทรา อำนวยสวัสดิ์. (2565). การบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเมืองพัทยา: กรณีศึกษาการบำบัดน้ำเสียแบบบูรณาการ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(6), 502-503.

อนันต์ อุปสอด, สุวรัฐ แลสันกลาง, เอกสิทธิ์ ไชยปิน, และพิบูลย์ ชยโอว์สกุล. (2565). การบริหารจัดการน้ำเสียในชุมชนแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาเทศบาลนครลำปาง จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 5(1), 29-30.

นลินี บุญเจษฎารักษ์. (2554) การจัดน้ำเสียที่เหมาะสมขององค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง (การค้นคว้าอิสระ). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28