การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายมิติพื้นที่และแนวทางการปฏิรูป

ผู้แต่ง

  • ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • พิชิต รัชตพิบุลภพ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การจัดสรรงบประมาณรายจ่าย, แนวทางการปฏิรูป

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่ศึกษาการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจจังหวัดและความเหลื่อมล้ำ หนึ่งในตัวแปรที่สนใจคือ การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายพื้นที่ (จังหวัด) เนื่องจากรายจ่ายรัฐบาลส่งผลต่อเศรษฐกิจจังหวัดทั้งในด้านการเจริญเติบโต-การลดความเหลื่อมล้ำและลดความยากจน โดยคำนึงถึงปัจจัยเชิงสถาบันที่มีอิทธิพลต่อการจัดสรรรายจ่ายเชิงพื้นที่ วัตถุประสงค์จำเพาะในบทความนี้จำแนกออกเป็น 2 เป้าหมาย ประการ ประการแรก การประมวลข้อมูลเชิงประจักษ์จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พัฒนาเป็นฐานข้อมูลนำมาคำนวณตามแบบจำลอง การคำนวณดัชนีความเหลื่อมล้ำ (Gini coefficient, และ decomposable Gini index) พร้อมกับอภิปรายสาเหตุของการกระจุกตัวของรายจ่ายในบางจังหวัดมากเป็นพิเศษ ประการที่สอง การนำผลค้นคว้ามาอภิปรายและตั้งข้อสังเกต ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการบริหารระบบราชการ ซึ่งจำแนกเป็นการบริหารตามแนวตั้งและการบริหารตามแนวนอน พร้อมกับเสนอข้อสังเกตว่า การบริหารตามแนวนอน (ท้องถิ่นและจังหวัด) ยังมีบทบาทน้อยเนื่องจากได้รับการจัดสรรรายจ่ายน้อยเกินไป พร้อมเสนอการคำนวณตัวเลขเชิงสมมติ (ซิมูเลชัน) ว่ามีหนทางปรับปรุงสูตรการจัดสรรรายจ่ายพื้นที่ (ท้องถิ่นและจังหวัด) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการเติบโตในจังหวัดและลดช่องว่างระหว่างจังหวัดรวย/จน

References

Achim K. and Thilo B. (2006). Partisan Politics in Regional Redistribution: Do Parties Affect the Distribution of EU Structural Funds across Regions?European Union Politics, 7(3), 373-392.

Kai G. and Stephan A. S. (2018). Towards the Greater Good? EU Commissioners Nationality and Budget Allocation in the European Union. American Economic Journal: Economic Policy, 10(1), 214-239.

Larcinese, V. and Rizzo, L. and Testa, Cecilia. (2006). Allocating the U.S. Federal Budget to the States: the Impact of the President. Journal of Politics. 68(2), 447-456.

Min-Seok P., Ali T. and M.S. Krishnan. (2016). Do CIO IT Budgets Explain Bigger or Smaller Governments? Theory and Evidence from U.S. State Governments. Management Science, 62(4), 1020-1041.

Niklas P. (2011). Does Government Ideology Influence Budget Composition? Empirical Evidence from OECD Countries. Economics of Governance, 12, 101-134.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07

ฉบับ

บท

บทความพิเศษ