ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายทั่วไปกับพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505

ผู้แต่ง

  • ปัญม์ณิสาธ์ องค์ปรัชญากุล มหาวิทยาลัยเกริก

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์, กฎหมายทั่วไป, พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายทั่วไปกับพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ซึ่งประเทศไทยได้ใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษรและมีการจัดลำดับศักดิ์ของกฎหมายไว้คือ กฎหมายที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งต่อกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่ามิได้ ดังนั้นกฎหมายที่มีศักดิ์หรือลำดับชั้นต่ำกว่า จะต้องตราออกมาให้มีข้อความสอดคล้องกับกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายทั่วไปกับพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายทั่วไป 6 ฉบับ คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 ซึ่งกฎหมายทั้ง 6 ฉบับนี้รวมถึง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 อยู่ในลำดับศักดิ์กฎหมายของประเทศไทย ลำดับที่ 3 พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย ดังนั้นจึงมีระดับศักดิ์ความเท่าเทียมเดียวกันในการบังคับใช้กฎหมาย โดยกฎหมายทั่วไปทั้ง 6 ฉบับ มีความสัมพันธ์กับพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 อยู่ 3 ประเด็นคือ ประเด็นแรกพระภิกษุถูกจับหรือขังในคดีอาญา ประเด็นที่สองวัดจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและให้เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนนิติบุคคล ประเด็นสุดท้ายพระภิกษุถูกพิพากษาว่าเป็นบุคคลล้มละลายต้องสึกจากสมณเพศบรรพชิต ซึ่งผลการศึกษาความสัมพันธ์ของกฎหมายเรื่องนี้จะทำให้คณะสงฆ์และประชาชนทั่วไปได้เข้าใจถึงความเท่าเทียมและความสัมพันธ์ของหลักการบังคับใช้ระหว่างกฎหมายทั่วไปกับพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และเป็นแนวทางในการนำความสัมพันธ์กฎหมายทั่วไปกับพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาวิเคราะห์ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นและแก้ไขปัญหาให้กับคณะสงฆ์ในกรณีต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตามหลักกฎหมาย อันจะเป็นประโยชน์ต่อคณะสงฆ์ ประชาชนทั่วไป สังคม และประเทศชาติได้ต่อไป

References

คุณัชญ์ ถิ่นถลาง. (ม.ป.ป.). ลำดับศักดิ์ของกฎหมายไทย. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2566, จาก https://www.excise.go.th/cs/groups/public/documents/document/dwnt/mzm1/~edisp/uatucm335523.pdf

ทวียศ ศรีเกตุ. (2558). หลักทางวิชาการเกี่ยวกับการใช้และการตีความกฎหมาย. บทความ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา. รายการเจตนารมณ์กฎหมาย. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, วันออกอากาศ 13 พฤษภาคม 2558.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2555). โครงสร้างการบริหารงานคณะสงฆ์ไทย.สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2566, จาก http://mcupress.mcu.ac.th/site/bud06.php

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (ม.ป.ป.). การปฏิรูปกฎหมายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566, จาก https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=30&chap=4&page=t30-4-infodetail07.html

ราชกิจจานุเบกษา. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ราชกิจจานุเบกษา. ประมวลกฎหมายอาญา

ราชกิจจานุเบกษา. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

ราชกิจจานุเบกษา. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542

ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505

ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

ศาลฎีกา. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2542. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2566, จาก http://deka.supremecourt.or.th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ