ระดับสันติภาพในสังคมไทย จากอดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต : ภายใต้การสำรวจ ดัชนีสันติภาพในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • ชลัท ประเทืองรัตนา สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า

คำสำคัญ:

ดัชนี, ระดับสันติภาพ, สังคมไทย

บทคัดย่อ

การวัดระดับสันติภาพในสังคมไทย ไดhรับแรงบันดาลใจมาจากการวัดสันติภาพในระดับสากล ซึ่งจัดทำอยู่างเป็นระบบและต่อเนื่องนานนับสิบปี อย่างไรก็ตามงานในระดับสากลเป็นการเปรียบเทียบระดับสันติภาพระดับประเทศ ทำให้ทราบถึงอันดับสันติภาพของแต่ละประเทศ อันจะส่งผลดีต่อการกระตุ้นให้สันติภาพในโลกดีขึ้น แต่งานในระดับสากลอาจขาดความลุ่มลึกของข้อมูลแต่ละพื้นที่ และไม่ได้เก็บข้อมูลถึงในระดับภาคหรือจังหวัด จึงเป็นที่มาของการวัดระดับสันติภาพในสังคมไทย อาจแบ่งได้เป็น 3 ยุค

1.ยุคแรกช่วงบุกเบิก ระยะเวลาในการศึกษาวิจัย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2558-วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2561 วัตถุประสงค์คือ 1. สำรวจองค์ความรู้เกี่ยวกับดัชนีและตัวชี้วัดด้านสันติภาพทั้งในและต่างประเทศ 2. พัฒนาตัวชี้วัด ด้านสันติภาพที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย 3. วัดระดับสันติภาพในสังคมไทยเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้น แนวคิดที่ใช้มีการผสมผสานทั้งสันติภาพเชิง ลบและสันติภาพเชิงบวก จากวรรณกรรมและความเห็นผูHทรงคุณวุฒิ โดยมีการแบ่งตัวชี้วัดออกเป็น 4 ด้าน หลักกับตัวชี้วัดย่อย 23 ตัว ประกอบด้วย 1.การไม่มีความรุนแรงทางกายภาพ มีคะแนนสันติภาพมากที่สุด 2.ความมั่นคงและปลอดภัยในสังคม 3.การยอมรับความหลากหลาย/การไม่เลือกปฏิบัติ/การเคารพสิทธิ มนุษยชน 4.มีความเหลื่อมล้ำในสังคมน้อยและมีการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม ข้อมูลที่นำมาใช้มีทั้งข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานที่เกี่ยวขHอง และขHอมูลปฐมภูมิจากการสำรวจทั่วประเทศ 

2.ยุคที่สองยุคปัจจุบัน ระยะเวลาในการศึกษาวิจัย ในช่วง 1 ตุลาคม พ.ศ.2561-30 กันยายน 2563 วัตถุประสงค์ คือ 1. พัฒนาดัชนีและตัวชี้วัด ด้านสันติภาพที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย 2. วัดระดับสันติภาพในสังคมไทยเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้น แนวคิดที่ใช้มีการผสมผสานทั้งสันติภาพเชิงลบและสันติภาพเชิงบวก โดยมีการแบ่งตัวชี้วัดออกเป็น 4 ด้านหลักเหมือนยุคแรก แต่มีตัวชี้วัดย่อย 28 ตัว มี 5 ตัวชี้วัดที่เพิ่มขึ้นมา ข้อมูลที่นำมาใช้มีทั้งข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง และข้อมูลปฐมภูมิจากการสำรวจทั่วประเทศ ผลการวิจัยทำไห้ได้ทราบถึง ระดับดัชนีสันติภาพของ ประเทศไทยเปรียบเทียบระหว่างปี 2561 กับ 2563 และระดับสันติภาพรายจังหวัด 

 3.ยุคที่สามมุ่งสู่อนาคต ระยะเวลาในการศึกษาวิจัย ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564-30 กันยายน 2565 วัตถุประสงค์สอดคล้องกับงานในสองยุคที่ผ่านมา โดยจะมีการปรับปรุงตัวชี้วัดให้ทันสมัยสอดรับกับ สถานการณ์สันติภาพในปัจจุบัน และวัดระดับสันติภาพในสังคมไทยเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการสร้าง สันติภาพให้เกิดขึ้น ซึ่งบริบทที่สำคัญคือสถานการณ์ COVID-19 ที่เข้ามากระทบต่อสันติภาพ

References

Interpeace. (2020). Peace and Conflict in a Covid19 World. Retrieved from https://www.interpeace.org/wp-content/uploads/2020/07/2020-CoVid-19-v6.pdf

Killielia, Steve. (2020). Peace in the Age of Chaos : The Best Solution for a Sustainable Future. Australia : HARDIE GRANT BOOKS.

Pratheuangrattana, C. & Lounkaew, K. (2019). Thai Peace Index. Bangkok: The office for Peace and Governance, King Prajadhipok’s Institute.

Firchow, Pamina. (2018). Reclaiming Everyday Peace. Cambridge: Cambridge University Press.

Institute for Economics and Peace. (2019). Positive Peace Index 2019. Retrieved from http://visionofhumanity.org/app/uploads/2019/10/PPR-2019-web.pdf.

Institute for Economics and Peace. (2020). Global Peace Index 2020. Retrieved from http://visionofhumanity.org/indexes/global-peace-index/

Institute for Economics and Peace. (2020). Covid-19 and Peace. Retrieved from https://www.visionofhumanity.org/iep-preview-covid-19-peace-briefing/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-13

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ