วัฒนธรรมองค์การที่ส่งเสริมนวัตกรรมในบริบทของภาครัฐ: กรณีศึกษากรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
คำสำคัญ:
วัฒนธรรมองค์การ, นวัตกรรม, ภาครัฐ, นโยบายสาธารณะ, บริการสาธารณะบทคัดย่อ
ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบันที่บริบทของนโยบายสาธารณะสลับซับซ้อนมากขึ้นและความ คาดหวังของประชาชนที่มีต่อภาครัฐเพิ่มขึ้น หน่วยงานภาครัฐจำเป็นต้องส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์หรือพัฒนานวัตกรรม โดยเฉพาะนวัตกรรมเชิงนโยบายและนวัตกรรมบริการสาธารณะ เพื่อให้สามารถรับมือกับปัญหาสาธารณะและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ คือ วัฒนธรรมองค์การที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสำรวจระดับวัฒนธรรมองค์การที่ส่งเสริมนวัตกรรมของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมองค์การที่ส่งเสริมนวัตกรรมของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ คณะผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าหน้าที่กรมการปกครอง จำนวน 200 คน ผลการศึกษา พบว่า กรมการปกครองมีวัฒนธรรมองค์การที่ส่งเสริมนวัตกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยด้านที่มีระดับสูงที่สุด คือ ข้อผูกพันและความเชื่อใจ และความเคารพ นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยภายในองค์การมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมองค์การที่ส่งเสริมนวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยด้านที่มีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมองค์การที่ส่งเสริมนวัตกรรมมากที่สุด คือ สภาพแวดล้อมในการทำงาน และโครงสร้างองค์การ ดังนั้นผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการปรับปรุงและพัฒนาสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บุคลากรมีความสุขในการทำงานและรู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งจะเอื้อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งปรับโครงสร้างองค์การโดยเน้นการกระจายอำนาจ ลดข้อจำกัดในการทำงานข้ามสายงาน และเพิ่มความยืดหยุ่นและความคล่องตัว
References
ประพิมพา จรัลรัตนกุล. (2562). การมอบอำนาจให้พนักงาน (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://smarterlifebypsychology.com/2019/05/14/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/ [24 มิถุนายน 2564].
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน
วิรัช สงวนวงศ!วาน. (2547). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ด
ดูเคชั่น อินโดไชน่า.
สมนึก เอื้อจิระพง์!พันธ์, พักตร์ผจง วัฒนสินธุ!, อัจฉรา จันทร!ฉาย และประกอบ คุปรัตน!. (2553). นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://www.jba.tbs.tu.ac.th/files/Jba128/Article/JBA128Somnuk.pdf [21 มิถุนายน 2564].
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2559). เคราะห์กรรมตามมา เมื่อต้องค้นหานวัตกรรม (ออนไลน์). สืบค้นจาก
https://www.ftpi.or.th/2016/9486 [23 มิถุนายน 2564].
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2562). วัฒนธรรมนวัตกรรม (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://www.ftpi.or.th/2019/31401 [21 มิถุนายน 2564].
เสาวลักษณ์ ณ พัทลุง. (2556). นวัตกรรมกับการบริหารงานภาครัฐ (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://mgronline.com/daily/detail/9560000067711 [22 มิถุนายน 2564].
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). นวัตกรรมเพื่ออนาคต (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://www.stkc.go.th/sites/default/files/ebook/1553586748.pdf [21 มิถุนายน 2564].
อรุณี ไพศาลพาณิชย์กลุ. (2560). องค์การนวัตกรรม: มโนทัศน์ และตัวแบบเชิงทฤษฎี. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 57(3): 158-187.
Acevedo, S., & Dassen, N. (2016). Innovation for better management: The contribution of public innovation labs (Online). Retrieved from https://publications.iadb.org/publications/english/document/Innovation-for-BetterManagement-The-Contribution-of-Public-Innovation-Labs.pdf [June 18, 2021].
Ahmed, A. K. (1998). Culture and climate for innovation. European Journal of Innovation Management, 1(1): 30-43.
Brookfield Institute. (2018). Exploring policy innovation: Tools, techniques + approaches. Toronto: Brookfield Institute.
Ferreira, M., & Botero, A. (2020). Experimental governance? The emergence of public sector innovation labs in Latin America. Policy Design and Practice, 3(2): 150-162.
Gordon, J. R. (1999). Organizational behavior: A diagnostic approach. 6th Edition. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Martins, E. C., & Terblanche, F. (2003). Building organisational culture that stimulates creativity and innovation. European Journal of Innovation Management, 6(1): 64-74.
McGann, M., & Lewis, J. M. (2018). The rise of public sector innovation labs: Experiments in design thinking for policy. Policy Sciences, 51: 249-267.
Morton, H. L. (1998). Logic design and computer organization. Reading: Addison-Wesley.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.