ทางเลือกใหม่ในการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพจากข้อมูลการสนทนากลุ่มแบบออนไลน์

ผู้แต่ง

  • จำเนียร จวงตระกูล กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • วอนชนก ไชยสุนทร คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ตระกูล จิตวัฒนากร คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • เทอดศักดิ์ โรจน์สุรกิตติ หลักสูตรแพทย์ศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • สมิตา กลิ่นพงศ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • รุจิรา ริคารมย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การสนทนากลุ่มแบบออนไลน์, ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มแบบออนไลน์, การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มแบบออนไลน์

บทคัดย่อ

สถานการณ์วิกฤติจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก่อให้เกิดข้อจำกัดหลายประการแก่นักวิจัยในการดำเนินการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย ซึ่งการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยที่นักวิจัยต้องติดต่ออย่างใกล้ชิดกับผู้ให้ข้อมูล เช่น การสัมภาษณ์เชิงลึก หรือ การสนทนากลุ่ม ซึ่งมาตรการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคม การงดเว้นการรวมกลุ่มของบุคคล การงดเว้นจากการอยู่ในชุมชนแออัด การงดเว้นการเดินทาง เป็นต้น นับเป็นข้อจำกัดที่สำคัญของเก็บรวบรวมข้อมูลในการ วิจัยเชิงคุณภาพ การสนทนากลุ่มแบบออนไลน์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้นักวิจัยสามารถดำเนินการวิจัยได้ในสภาวะคับขัน อย่างไรก็ตามปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับนักวิจัยใหม่หรือนักวิจัยที่ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์มาทำการวิจัยเชิงคุณภาพคือวิธีการภายใต้ภาวะวิกฤติของการแพร่ระบาดของโควิด-19 สาระสำคัญของบทความนี้ประกอบด้วย บทนำเพื่อแนะนำ ความสำคัญและสาระสำคัญของบทความ การสนทนากลุ่มแบบออนไลน์ ลักษณะของข้อมูลจากการสนทนา กลุ่มแบบออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มแบบออนไลน์ สรุปและเสนอแนะวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจากการสนทนากลุ่มแบบออนไลน์ เนื่องจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาที่มีหลายรูปแบบ ซึ่งนักวิจัยต้องเลือกใช้รูปแบบ วิธีการ วิเคราะห์เนื้อหาให้เหมาะสมกับโครงการวิจัย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มแบบออนไลน์ อันเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับนักวิจัยที่ดำเนินการวิจัย ภายใต้ภาวะวิกฤติของการแพร่ระบาดของโควิด-19 สาระสำคัญของบทความนี้ประกอบด้วย บทนำเพื่อแนะนำ ความสำคัญและสาระสำคัญของบทความ การสนทนากลุ่มแบบออนไลน์ ลักษณะของข้อมูลจากการสนทนา กลุ่มแบบออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มแบบออนไลน์ สรุปและเสนอแนะ

References

คุณากร เพชรคง. (2563). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยทั่วไป. ใน จำเนียร จวงตระกูล. (2563:

บรรณาธิการ). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด.

จำเนียร จวงตระกูล. (2553). การวิจัยเชิงคุณภาพ: เครื่องมือสร้างองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด.

จำเนียร จวงตระกูล. (2563: บรรณาธิการ). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด.

จำเนียร จวงตระกูล. (2564ก). แบบสรุปผลการสนทนากลุ่มรายกลุ่ม. เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการ คณะอนุกรรมการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหน่วยงานมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 28-29 มกราคม 2564.

จำเนียร จวงตระกูล. (2564ข). การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม. เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการ คณะอนุกรรมการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหน่วยงานมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 28-29 มกราคม 2564.

จำเนียร จวงตระกูล และ นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์. (2019). การวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ: PAAT Journal, 2(2). 1-14.

จินดารัตน์ เบอรพันธุ์. (2019). การวิเคราะห์เนื้อหางานวิจัยด้านพฤติกรรมสารนิเทศทางธุรกิจ: ว. วิจัยสมาคมห้องสมุดฯ, 9(1). 45-62.

พรรัตน์ แสดงหาญ. (2563). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพตามยุทธศาสตร์แบบบรรยาย. ใน จำเนียร จวงตระกูล. (2563: บรรณาธิการ). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท

ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด.

วัฒนา คงวัฒนานนท์, ชุติมา สัจจานันท์, พิบูลศิลป์ วัฑฒนะพงศ์ และ มัทนา แสงจินดาวงษ์. (2553). การวิเคราะห์เนื้อหา “วารสารการประมง”: วารสารสารสนเทศศาสตร์, 28(2). 29-36.

วอนชนก ไชยสุนทร. (2563). การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพตามยุทธศาสตร์การวิจัยแบบศึกษา ปรากฎการณ์. ใน จำเนียร จวงตระกูล. (2563: บรรณาธิการ). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด.

วิภาวรรณ กลิ่นหอม. (2563). การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. ใน จำเนียร จวงตระกูล. (2563: บรรณาธิการ). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด.

วรรณวิชนี ถนอมชาติ, อุทัย อันพิมพ์ และ จำเนียร จวงตระกูล (2563). การนําเสนอผลการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 14 (4). 1-13.

ศุภรักษ์ อธิคมสุวรรณ. (2563). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพตามยุทธศาสตร์แบบการวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎี. ใน จำเนียร จวงตระกูล. (2563: บรรณาธิการ). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด.

Assarroudi, A., Nabavi, F. H., Armat, M. R., Ebadi, A., & Vaismoradi, M. (2018). Directed qualitative content analysis: the description and elaboration of its underpinning methods and data analysis process. Journal of Research in Nursing, 23(1), 42-55. doi:https://doi.org/10.1177/1744987117741667

Creswell, J. W. (2007). Qualitative Inquiry and Research Design: Choosing Among Five Approaches (2 ed.). Thousand Oaks: Sage.

Gale, N. K., Heath, G., Cameron, E., Rashid, S., & Redwood, S. (2013). Using the framework method for the analysis of qualitative data in multi-disciplinary health research. BMC Medical Research Methodology, 13(117), 1-8.

Hsieh, H-F., & Shannon, S. E. (2005). Three Approaches to Qualitative Content Analysis. Qualitative Health Research, 15(9), 1277-1288.

Nang, R. N., Monahan, F., Diehl, G. B., & French, D. (2015). A Qualitative Content Analysis of Global Health Engagements in Peacekeeping and Stability Operations Institute's Stability Operations Lessons Learned and Information Management System. Military Medicine, 180(4), 409-418.

Saunders, B., Sim, J., Kingstone, T., Baker, S., Waterfield, J., Bartlam, B.,... Jinks, C. (2018). Saturation in qualittive research: exploring its conceptualization and operationalization. Qual Quant, 52(2018), 1893-1907.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-13

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ