โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับบทบาทและผลกระทบ ที่เกิดขึ้นกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย

ผู้แต่ง

  • กันยรัตน์ ไมยรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศและการพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

โครงการ EEC, ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็นโครงการภายใต้แผนยุทธศาสตร์ ไทยแลนด์ 4.0ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่โดยในระยะแรก เป็นการยกระดับพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยองให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนํา เป็นประตูเชื่อมโยงเอเชีย (Gateway to Asia) ด้วยการพัฒนา อย่างเป็นระบบ และสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่อรองรับการลงทุนอุตสาหกรรม ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทันสมัย สร้างนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการ แข่งขันของประเทศ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดให้เชื่อมโยงกับโครงการของรัฐบาล เพื่อพัฒนาขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศซึ่งในการขับเคลื่อนเพื่อที่จะผลักดันให้โครงการ EEC ประสบ ความสำเร็จได้นั้นจะต้องได้รับความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อทำให้โครงการนี้สามารถดำเนิน ต่อไปได้และเกิดประโยชน์สูงสุด โดยบทความนี้จะกล่าวถึงบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีต่อ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) โดยเสนอแนะและสร้างโมเดลแนวคิดในลักษณะการ นําแนวคิดด้านการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (NPM) การเสนอโมเดลคิดนี้ขึ้นเพราะ เนื่องจากปัจจุบัน NPM ถูกนำมาใช้ในระบบราชการกันอย่างแพร่หลายแต่อาจต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น และบทความนี้ก็ได้ศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นของไทยจากโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) โดยใช้หลักการวิเคราะห์ใน แนวทางของเศรษฐศาสตร์ทางการเมือง เพราะบทบาทและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นกับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้โครงการ พัฒนาไปสู่การเปิดประตูประเทศไทยเชื่อมโยงเอเชียได้อย่างดีในอนาคต

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ,2559, หน้า16-17

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2559). แผนงาน พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก พ.ศ. 2560-2564. วันที่ค้นข้อมูล 14 มีนาคม 2564, เข้าถึงได้จาก www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6 381

มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และกอบกุล รายะนาคร. (2552). เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: ล๊อคอินไซน์เวิร์ค.

กฤช เพิ่มทันจิตต์ และสุธีประศาสนเศรษฐ. (2530). พื้นที่สามจังหวัดชายฝั่งทะเล ตะวันออกกับการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างภูมิภาคและการพัฒนาแบบ พึ่งพาของระบบเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ชัยณรงค์ เครือนวน. (2558). ปฏิบัติการและการต่อสู้ทางวาทกรรมในการพัฒนา อุตสาหกรรม: ศึกษากรณี การพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้ตัวแบบมาบตาพุด. ดุษฎีนิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการ บริหารจัดการ, คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัยณรงค์ เครือนวน และคณะ. (2559). ทางเลือกการพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นที่ชายฝั่ง ทะเลตะวันออกในมุมมองของรัฐ เอกชน และประชาชน. โครงการวิจัยประเภท งบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). รายงาน ความก้าวหน้าการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ระยะที่2. ม.ป.ท

ปกรณ์ ศิริประกอบ 3 พาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ : แนวคิด ทฤษฎี และการนําไปปฏิบัติจริง.พิมพ์ครั้งที่ 5.กรงเทพ ุ : สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2562

โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก .(2564) วันที่ค้นข้อมูล 27เมษายน 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.tfd-factory.com/th/privilege/eastern-economic-corridor-eec

แนวคิดเสรีนิยมใหม่ ประชาไท .(2564) วันที่ค้นข้อมูล 27เมษายน 2564, เข้าถึงได้จาก https://prachatai.com/journal/2016/07/66824

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2560). EEC เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-12

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ