โครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.) กรณีศึกษาพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
คำสำคัญ:
การจัดที่ดินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล, การจัดที่ดินให้สถาบันเกษตรกร, การกระจายสิทธิการถือครองบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักคือการศึกษาโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.) กรณีศึกษาพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยเน้นใน 3 ประเด็นหลักคือ นโยบายรัฐบาล โครงการ จัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.) และการดําเนินงานโครงการของสำนักงานการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม
การศึกษาเป็นรูปแบบการศึกษาเอกสารเป็นหลัก รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิเป็นหลักสืบค้นจากหลายแหล่ง เช่นหนังสือ วารสาร งานวิจัย รายงานการประชุม และเอกสารทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น โดยทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ด้วยการจําแนกหมวดหมู่ เนื้อหา และนําเสนอในรูปเนื้อความบรรยาย และภาพประกอบคําบรรยาย
ผลการศึกษา พบว่า การจัดที่ดินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.) ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ในการจัด ที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ในการจัดที่ดินให้สถาบันเกษตรกรเพราะที่ผ่านมา เกือบทั้งหมดของ ส.ป.ก.จัดแบบปัจเจกบุคคล อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวตอบสนองตรงตามความต้องการ ของหน่วยงาน และนโยบายของรัฐได้เป็นอย่างดี แต่ก็มีข้อจํากัดที่การดำเนินการได้ไม่มากพอตามความ ต้องการของราษฎร ในตัวโครงการแม้ว่าจะมีทั้งระดับนโยบาย และระดับขับเคลื่อนในส่วนภูมิภาคแต่ก็มีการ สอดรับกันเป็นอย่างดี เพราะพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ.2562 ให้อำนาจ หน่วยงานเจ้าของพื้นที่ได้ดำเนินการภายใต้กฎหมายของตนเอง การดําเนินงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมสามารถจัดที่ดินให้เกษตรกรได้ 8 จังหวัด 21 พื้นที่ 13 สหกรณ์ เกษตรกรจำนวน 1,490 ราย และอยู่ระหว่างการดำเนินการอีก 5 จังหวัด อย่างไรก็ตามยังมีภารกิจที่ ส.ป.ก.ต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จ โดยเร็วคือการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐาน และการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้เกษตรกร นอกจากนี้โจทย์ใหญ่ ที่ท้าทาย ส.ป.ก. คือจะจัดหาที่ดินอย่างไรให้เพียงพอกับความต้องการของราษฎรที่ยากจนที่ขึ้นทะเบียนรอรับ ความช่วยเหลือจากรัฐบาล
References
การจัดที่ดินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล, การจัดที่ดินให้สถาบันเกษตรกร, การกระจายสิทธิการถือครอง National Land Policy Council, Cooperative land distribution, Land rights distribution
กลุ่มวิชาการกฎหมาย. 2562. กฎหมาย พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ระเบียบ คำสั่งบันทึกข้อตกลง ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. 2535. วิวัฒนาการของการบุกเบิกที่ดินทำกินในเขตป่า. กรุงเทพมหานคร: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
ไชยยศ เหมะรัชตะ. 2530. มาตรการทางกฎหมายในการกระจายสิทธิการถือครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดารณี ชนะชนม์ และ ศุภมิตร ศรีวัฒนชัย. 2560. “การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน.” ใน อารีวรรณ เช่งตระกูล และคณะ. (บรรณาธิการ). 42 ปี ส.ป.ก. สืบสานพระราชปณิธานบนผืนดินของพ่อ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม, 66-75.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2543. “นิยามความจน”. ใน วิภาพันธ์ ก่อเกียรติขจร และ สุนทรี เกียรติประจักษ์ (บรรณาธิการ). คนจนกับนโยบายการทำให้จนของรัฐ. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการเผยแพร่และส่งเสริมงานพัฒนา.
ปราโมทย์ ยอดแก้ว. 2560. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการจัดที่ดินทำกินให้แก่ชุมชน ตามนโยบายรัฐบาล : กรณีศึกษาเขตปฏิรูปที่ดิน ตำบลนาจําปา อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานต่อสำนักงาน ก.พ.. พฤษภาคม 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน ก.พ..
พฤกษา เครือแสง, วรญา จตุพัฒน์รังสี และ พรสวรรค์ มณีทอง. 2562. “การศึกษาความรู้ความเข้าใจเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่สาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน 12(1): 22-45.
มาโนช สุขสังข์. มปป.. “มาตรการทางกฎหมายในการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 85(2)”. วารสารรามคําแหง ฉบับนิติศาสตร์: 35-54. ราชกิจจานุเบกษา. 2557. เล่มที่ 131 ตอนที่ 55ก, หน้า 1-17. 2559. เล่มที่ 133 ตอนพิเศษ 150ง, หน้า 26-29.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. 2562. สรุปผลการดําเนินงานจัดที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ออนไลน์). https://alro.go.th/alro/internet/Land-Three/all.htm, 1 ธันวาคม 2564.
สมพร ทองทั่ว. 2560. การบริหารจัดการกระบวนการเข้ายึดคืนพื้นที่ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 36/2559 กรณีแปลงสวนส้มจังหวัดเชียงใหม่. รายงานต่อสำนักงาน ก.พ..
พฤษภาคม 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน ก.พ..
สำนักกฎหมาย. 2549. พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2519 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม.
สำนักกฎหมาย. ม.ป.ป.. ความเป็นมาในการนําที่ดินป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมโทรมมาดำเนินการปฏิรูปที่ดิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม.
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. 2563. “โครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล”. ปฏิรูปที่ดิน 43(1): 7.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2554. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 – 2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2559. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564.
กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2561. คู่มือการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล ภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2562. การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล ภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 2557. คําแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรีแถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. 2561. ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561–2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักจัดการปฏิรูปที่ดิน. 2562. รายงานความก้าวหน้าโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบาย
รัฐบาล (คทช.). [อัดสำเนา].
สุริยา ดงคํา, บําเพ็ญ เขียวหวาน และ เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ. 2554. การจัดการที่ดินป่าไม้: กรณีศึกษา ตำบล จ.ป.ร. อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อุกฤษฏ์ อินทาภรณ์. 2562. การขับเคลื่อนนโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน กรณีศึกษา:พื้นที่เขต ปฏิรูปที่ดินจังหวัดสระแก้ว. รายงานต่อสำนักงาน ก.พ.. สิงหาคม 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน ก.พ..
Albertus, M. and O. Kaplan 2012. “Land Reform as a Counterinsurgency Policy: Evidence from Colombia”. Journal of Conflict Resolution 57(2): 198-231.
Weideman, M. 2004. “Who Shaped South Africa's Land Reform Policy?” Politikon, 31(2): 219-238.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.