ทางเลือกใหม่ในการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ

ผู้แต่ง

  • จำเนียร จวงตระกูล มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • กล้าหาญ ณ น่าน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี
  • วอนชนก ไชยสุนทร คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • พิบูลย์ ธาระพุทธิ สถาบันรับรองคุณวุฒิวิชาชีพทรัพยากรบุคคลประเทศไทย
  • สุมณฑา ตันวงศ์วาล บัณฑิตวิทยาลัยการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
  • สุเนตร มีนสุข บริษัท อิบิลิตีส์ประเทศไทย จํากัด
  • บวรนันท์ ทองกัลยา สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์เนื้อหา, การวิจัยเชิงคุณภาพ, การวิเคราะห์เนื้อหาแบบทางเลือก

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนําเสนอวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลในการ วิจัยเชิงคุณภาพที่ทำการประยุกต์จากวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิมที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิง คุณภาพที่ใช้ยุทธศาสตร์การวิจัยแบบการศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีและใช้กับการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิง คุณภาพโดยทั่วไปที่มิได้ใช้ยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงคุณภาพแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ ทั้งนี้เพื่อประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพในประเทศไทย โดยทำการดัดแปลงวิธีการและลด ขั้นตอนรวมทั้งลดความสลับซับซ้อนของการวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิมเพื่อให้มีความกระชับขึ้นเพื่อความ สะดวกในการใช้งานโดยยังคงได้ผลการวิเคราะห์เนื้อหาที่ใกล้เคียงกับการวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิมมากที่สุด และเพื่อเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของนักวิจัยใหม่หรือนักวิจัยที่เปลี่ยนกระบวนทัศน์จากเดิมมาเริ่มต้นทำการวิจัยเชิงคุณภาพหรือการวิจัยแบบผสมได้ใช้งานต่อไป สาระสำคัญของบทความนี้ประกอบด้วย (1) บทนํา (2) ลักษณะสำคัญของข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ (3) การวิเคราะห์เนื้อหาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการ วิจัยเชิงคุณภาพ (4) การวิเคราะห์เนื้อหาที่เป็นทางเลือกใหม่ที่ใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (5) บทสรุปและเสนอแนะ

References

จำเนียร จวงตระกูล. (2553). การวิจัยเชิงคุณภาพ: เครื่องมือสร้างองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด.

จำเนียร จวงตระกูล. (2562). การวิจัยเชิงคุณภาพ: การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 6(2). 148-160.

จำเนียร จวงตระกูล (2564) การสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ คณะอนุกรรมการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหน่วยงานมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ณ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 28-29 มกราคม 2564

จำเนียร จวงตระกูล และ นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์. (2562). การวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย

เชิงคุณภาพ: PAAT Journal 2(2). 1-14.

จำเนียร จวงตระกูล และ กัญจนวลัย นนทแก้ว แฟร์รี่ (2563). การวิจัยแบบผสม: การนําการออกแบบการวิจัยแบบผสมเจ็ดรูปแบบสู่การปฏิบัติ. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 14 (1). 1-14.

จำเนียร จวงตระกูล, สุรมงคล นิ่มจิตต์, กัญจนวลัย นนทแก้ว แฟร์รี่ และ รุจิรา ริคารมย์. (2020). การนําเสนอ และการแสดงข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ: PAAT Journal 2(4). 1-11.

นพพงศ์ เกิดเงิน, (2563). การใช้โปรแกรม ATLAS.ti ในการวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพ. ใน จำเนียร จวงตระกูล. บรรณาธิการ. (2563).การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด.

วรรณวิชนี ถนอมชาติ, อุทัย อันพิมพ์ และจำเนียร จวงตระกูล (2563). การนําเสนอผลการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 14 (4). 1- 13.

Introducing Mind Manager 21- Start Making Mind Map Now. ( 2021). Online available at: https://www.mindmanager.com/en/pages/mind-mappingb6/?gclid=EAIaIQobChMI7IGJl-vw7gIVj6-WCh1wNQqoEAAYASAAEgIvTPD_BwE: retrieved 17 February 2021.

Creswell, J. W. (2007). Qualitative Inquiry and Research Design: Choosing Among Five Approaches (2 ed.). Thousand Oaks: Sage.

Creswell, J. W., & Plano Clark, V. L. (2018). Designing and Conducting Mixed Methods Research (3 ed.). Los Angeles: SAGE Publications, Inc.

Erlingsson, C., & Brysiewicz. (2017). A hands-on guide to doing content analysis. African Journal of Emergency Medicine, 7, 93-99.

Gale, N. K., Heath, G., Cameron, E., Rashid, S., & Redwood, S. (2013). Using the framework method for the analysis of qualitative data in multi-disciplinary health research. BMC Medical Research Methodology, 13(117), 1-8.

Hsieh, H-F., & Shannon, S. E. (2005). Three Approaches to Qualitative Content Analysis. Qualitative Health Research, 15(9), 1277-1288.

Joungtrakul, J., Sheehan, B., & Aticomsuwan, A. (2013). Qualitative Data Collection Tool: A New Approach to Developing an Interview Guide. AFBE Journal, 6(2), 140-154.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-12

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ