คุณภาพการให้บริการของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่สถานการณ์ความไม่สงบ : กรณีศึกษาประชาชนในพื้นที่ตำบลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • อารุจี ศักดิ์สวัสดิ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และความคิดเห็นของประชาชนผู้รับบริการที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันต่อคุณภาพการ ให้บริการของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่สถานการณ์ความไม่สงบ : กรณีศึกษา ประชาชนในพื้นที่ตำบลโคกโพธิ์ อำเภอ โคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้ แบบสอบถาม ขนาดของกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือ ประชาชนผู้ที่รับบริการจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ตำบลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จำนวน 342 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มเดียว (Independent Samples t-test) การวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว (One-Way Anova) ทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยใช้ Lest Significant Difference (LSD) ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพการให้บริการของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั้ง 5 ด้าน ด้านรูปลักษณ์ทางกายภาพที่สัมผัสได้ ด้านความน่าเชื่อถือและ ไว้วางใจ ด้านการตอบสนอง ด้านการสร้างความมั่นใจและด้านการดูแลเอาใจใส่อยู่ในระดับสูงทุกด้าน ปัจจัย ส่วนบุคคล ประกอบด้วย ระดับการศึกษา ระดับรายได้ ความรอบรู้เกี่ยวกับสาธารณสุขพื้นฐานมีผลต่อคุณภาพ การให้บริการของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า ระดับการศึกษามีผลต่อด้านการตอบสนองแตกต่างกัน ระดับรายได้มีผลต่อด้านรูปลักษณ์ทางกายภาพที่ สัมผัสได้ ด้านความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ ด้านการสร้างความมั่นใจแตกต่างกัน ความรอบรู้เกี่ยวกับ สาธารณสุขพื้นฐานมีผลต่อด้านรูปลักษณ์ทางกายภาพที่สัมผัสได้ ด้านความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ ด้านการ ตอบสนอง ด้านการสร้างความมั่นใจ ด้านการดูแลเอาใจใส่แตกต่างกัน สำหรับข้อเสนอแนะคือให้หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงการจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ทันสมัยให้เพียงพอต่อการให้บริการประชาชน และมี การประชาสัมพันธ์เปิดพื้นที่ให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ไปพร้อมกับการจัดทำแผนการฝึกอบรม ให้ความรู้เกี่ยวกับงานสาธารณสุขพื้นฐานให้กับประชาชนเพื่อให้แผนการพัฒนาสอดคล้องและต่อเนื่องเป็นไปตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่มากที่สุด

References

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กระทรวงสาธารณสุข. (2557). วิวัฒนาการการสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทย (พ.ศ.2521-พ.ศ.2557). ค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.phc.moph.go.th/www_hss/data_center/ifm_mod/nm/Phc-thai.pdf.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นพวรรณ จงสง่ากลาง, วรวรรณ สโมสรสุขและธนบรรณ อู่ทองมาก. (2558). การรับรู้คุณภาพบริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, หน่วยวิเคราะห์แผนงบประมาณและวิจัยสถาบัน, โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ.

ประคอง กรรณสูต.(2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤฒิกรรมศาสตร์(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประนอม คําเที่ยง. (2561). มุ่งพัฒนาSmart อสม.ยุค 4.0.ค้นจาก http://www.อสม.com>matter>download

ประภาส อนันตาและจรัญญู ทองเอนก.(2556). ผลของการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเยี่ยมบ้านตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 20(1), 1-8. ค้นจาก http://odpc7.ddc.moph.go.th/journal/index.php

พีระพล ศิริไพบูลย์. (2553). แนวทางการพัฒนาบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขต่องานสาธารณสุข

มูลฐาน:กรณีศกษาเขตพญาไท ึ .(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

ยุพดี ลิ้มมธุรสกุล. (2541). ความพึงพอใจของพนักงานบริษัทสายการบินต่อการให้บริการของท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย. (ภาคนิพนธพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

ระบบสารสนเทศกองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กระทรวงสาธารณสุข.(2558). รายงานจํานวน อสม.แยกตามหมู่บ้าน. ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563, จาก http://www.thaiphc.net/phc/phcadmin/administrator/Report /OSMRP000S9.php

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ.(2557). การรับรู้คุณภาพการให้บริการและปัจจัยที่มอี ิทธิพลต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากของโรงพยาบาล. วารสารปัญญาภิวัฒน์ 5(2), 16-29. ค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/20019

ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชนภาคกลาง.(2563). องค์ประกอบของงานสาธารณสุขมูลฐาน. ศูนย์ฝึกและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชนภาคกลาง. ค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://phc.moph.go.th/www_hss/central/intro1_3.php

ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้. (2563). สรุปสถิติการก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ.2562 .ค้นเมื่อ 18 มกราคม 2563, จาก https://dswdatabase.info

ศิริพร เจริญศรีวิริยะกุล. (2554). คุณภาพการให้บริการโรงพยาบาลทั่วไปของรัฐบาลในเขตจังหวัดปทุมธานี. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

สุพัตรา ศรีชุม. (2560). บทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตามการรับรู้และความคาดหวังของประชาชน ตำบลเสม็ด จังหวัดชลบุรี. (งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สุวัฒน์ บุญเรือง. (2545). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลสุนทรภู่ : ศึกษาเฉพาะด้านการจัดเก็บรายได้.(ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา,ชลบุรี

สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ และคณะ. (2550). รายงานการศึกษาการพัฒนาระบบริการสุขภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. ค้นจาก http://k4ds.psu.ac.th/k4ds_search/pdf/projects/TC0004.pdf

ไสว ชัยบุญเรือง. (2555). คุณภาพการให้บริการผู้ใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด. (ปัญหาพิเศษปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.(2559). แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านการสาธารณสุข.คนจาก ้ https://www.nstda.or.th/th/nstda-doc-archives/thailand-40/11628-ministry-of-public-health

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-12

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ