ข้อมูลเปิดภาครัฐ: มาตรฐานการพัฒนา และการใช้งาน

ผู้แต่ง

  • อุดมโชค อาษาวิมลกิจ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ข้อมูลเปิด, นวัตกรรมเปิด, สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล, การใช้งาน

บทคัดย่อ

ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา องค์กรภาครัฐในหลายประเทศได้ริเริ่ม และพัฒนา “ข้อมูลเปิด” (open data) เพื่อเผยแพร่ข้อมูลของหน่วยงานไปสู่สังคมภายนอกอย่างกว้างขวาง ศูนย์ข้อมูลเปิดของรัฐบาลไทยอันเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลจากองค์กรภาครัฐเพื่อให้บริการสังคมจํานวนมากที่สุดได้แก่ domain name ชื่อ data.go.th (ต่อมาเปลี่ยนเป็น opendata.data.go.th) โดยสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)หรือ สพร. บทความนี้นําเสนอพัฒนาการของระบบศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน ตลอดจนการให้บริการข้อมูลเปิดจากศูนย์กลางข้อมูลภาครัฐดังกล่าวซึ่งยังมีโอกาสในการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณภาพความเป็นข้อมูลเปิด และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเปิด วิธีการศึกษาอาศัยการวิเคราะห์เนื้อหาจากมาตรฐาน รูปแบบ และการใช้ข้อมูลเปิด ข้อค้นพบสําคัญได้แก่การควบคุมมาตรฐานข้อมูลเปิด รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์เชิงนวัตกรรมทางธุรกิจ การวิจัย หรือการพัฒนาต่อยอดในด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้วงกว้าง การพัฒนาต่อยอดระบบศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐแห่งนี้ อาจก่อให้เกิดการใช้งานที่มีผลกระทบด้านคุณค่าเชิงวิชาการ เชิงธุรกิจ การพัฒนาองค์กร และนโยบายสาธารณะในวงกว้าง

References

Davies T. (2013). Open data barometer: 2013 global report. Available at: http://www.opendataresearch.org/dl/odb2013/Open-Data-Barometer-2013-Global-Report.pdf

Herrera-Melo, C. A., & Gonzalez-Sanabria, J. S. (2019). Proposal for the Evaluation of Open Data Portals. Revista Facultad De Ingenieria, Universidad Pedagogica Y Tecnologica De Colombia, 29(54), 19. doi:10.19053/01211129.v29.n0.2020.10194

Huber, F., Wainwright, T., & Rentocchini, F. (2020). Open data for open innovation: managing absorptive capacity in SMEs. R & D Management, 50(1), 31-46. doi:10.1111/radm.12347

International Open Data Charter. (2015). เข้าถึงไดจาก ้ https://opendatacharter.net/history/

Jetzek T. (2015). The Sustainable Value of Open Government Data. Uncovering the Generative Mechanisms of Open Data Through a Mixed Methods Approach. Copenhagen:

Copenhagen, Business School.

Ruijer, E., Detienne, F., Baker, M., Groff, J., & Meijer, A. J. (2019). The Politics of Open

Government Data: Understanding Organizational Responses to Pressure for More Transparency. American Review of Public Administration, 50(3), 260-274. doi:

Zuiderwijk, A., Shinde, R., & Janssen, M. (2019). Investigating the attainment of open government data objectives: is there a mismatch between objectives and results? International Review of Administrative Sciences, 85(4), 645-672. doi:10.1177/0020852317739115

สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (2558ก). Open Data Handbook Release 1.0.0 ฉบับภาษาไทย. ส่วนวิจัยและพัฒนาฝ่ายนวัตกรรม สํานักงานรัฐบาลอิเลคทรอนิคส์ (องค์การมหาชน) เข้าถึงได้จาก https://www.dga.or.th/th/content/890/877

สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (2558ข). แนวปฏิบัติและมาตรฐานทางเทคนิคสําหรับศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Data.go.th). ส่วนวิจัยและพัฒนา ฝ่ายนวัตกรรม สํานักงานรัฐบาลอิเลคทรอนิคส์ (องค์การมหาชน) เข้าถึงได้จาก https://www.dga.or.th/th/content/890/877

สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (2560). User’s Manual for Data.go.th ฉบับภาษาไทย. ส่วนวิจัยและพัฒนาฝ่ายนวัตกรรม สํานักงานรัฐบาลอิเลคทรอนิคส์ (องค์การมหาชน) เข้าถึงได้จาก https://www.dga.or.th/th/content/890/877

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ