คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: สถานการณ์และแนวทางการจัดสวัสดิการในประเทศไทย ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

ผู้แต่ง

  • นิภาพรรณ เจนสันติกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, การพัฒนา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอสถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย ผลกระทบและนําเสนอแนวทางการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสําหรับผู้สูงอายุเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ และดําเนินการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิเคราะห์ พบว่า 1. สถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มจํานวนเพิ่มขึ้นทุกปี และพบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ คือ 1) ระบบและรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุมีขอบข่ายจํากัด 2) ปัญหาจากการได้รับค่าตอบแทนน้อย 3) ลักษณะนโยบายของผู้สูงอายุขาดการบูรณาการและขาดความต่อเนื่องในการนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติ 4) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ขาดการรับรู้และขาดความเข้าใจในสิทธิของตน 2. แนวทางการจัดสวัสดิการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ พบว่า 1) ควรมีการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะที่ทําหน้าที่ดูแลงานด้านผู้สูงอายุ 2) การจัดสวัสดิการสําหรับผู้สูงอายุ ควรครอบคลุม การมีสุขภาพอนามัยที่ดี การมีการศึกษาที่ดี การมีที่อยู่อาศัย การมีงานทําการมีรายได้ และการมีสวัสดิการแรงงาน การมีความมั่นคงทางรายได้ นันทนาการ และการบริการสังคมทั่วไป 3) รัฐบาลควรให้ความช่วยเหลือแก่องค์กรที่มีการจ้างงานผู้สูงอายุ 4) ควรทบทวน และปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับระบบการจัดสวัสดิการสําหรับผู้สูงอายุ

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2559). ยุทธศาสตร์กระทรวง พ.ศ. 2560 – 2564 และยุทธศาสตร์สํานักงานปลัดกระทรวง พ.ศ. 2560 – 2564 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กัญญาณัฐ ไฝคํา. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 7 (2): 19-26.

ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. (2558). การทบทวนกฎหมายและนโยบายด้านผู้สูงอายุสู่การจัดการสุขภาพ. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. 1 (2): 149-163.

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. เอกสารวิชาการกลุ่มงานวิจัยและข้อมูลสํานักวิชาการสํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 3 (16): 1-19.

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์. 13 (25): 103-118.

พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (ม.ป.ป). ปัญหาแรงงาน: เมื่อประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์. ม.ป.ท.

พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2560). การบริหารจัดการภาครัฐไทยภายใต้ระบบรัฐสวัสดิการ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 4 (1): 110-122.

มาดี ลิ่มสกุล. (2558). กฎหมายกลางว่าด้วยการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศไทย. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. 23 (1): 28-54.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย และคณะ. (2561). การพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมสําหรับผู้สูงอายุด้อยโอกาสเพื่อลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. 26 (1): 95-119.

วัชรากรณ์ ชีวโศภิษฐ. (2562). สังคมผู้สูงอายุ: ปัจจัยการตลาดที่เปลี่ยนไป. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(1): 38-54.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และคณะ. (2555). การประมาณการงบประมาณสําหรับผู้สูงอายุและแหล่งที่มาของเงิน. ม.ป.ท.

สุชรินทร์ พีรยานันท์และไพโรจน์ ภัทรนรากุล. (2559). การศึกษานโยบายและมาตรการเชิงกลยุทธ์ในการดูแลสวัสดิการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุไทย. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 12(3): 19-37.

สุดารัตน์ สุขสมบูรณ์. (2557). สวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 7 (1): 73-82.

สํานักงบประมาณของรัฐสภา. (2562). แนวทางการบริหารจัดการงบประมาณรายจ่ายด้านสวัสดิการสังคม สําหรับการดูแลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Rojanadhamkul, N. (2018). Quality of Life Development of the Elderly in the Asean Community. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University. 9 (1): 225-237.

Srithanee, K. (2017). Factors Related to Quality of Life of the Elderly in the Central NorthEastern Provinces. Journal of Health Science. 26 (4): 690-701.

Zhang, C & Zhao, Y. (2012). The Relationship between Elderly Employment and Youth Employment: Evidence from China. Beijing: China Center for Economic Research, Peking University; Cambridge, MA: Department of Economics, Harvard University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ