การบริหารจัดการที่ล้ำยุคของภาครัฐ วิวัฒนาการของการบริหารภาครัฐ
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการภาครัฐ, การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่, การบริหารจัดการที่ล้ํายุคของภาครัฐบทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความหลักว่าด้วยการบริหารจัดการที่ล้ํายุคของภาครัฐ การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ได้รับการยอมรับจากหลายประเทศในช่วงทศวรรษ ค.ศ. 1990 ทั้งนี้เพราะการบริหารจัดการภาครัฐแบบเดิมไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ํายุคในปัจจุบัน สภาวะแวดล้อมของโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ของหลายๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมในสมัยล้ํายุคนี้ได้อีกต่อไป ซ้ํายังก่อให้เกิดปัญหาทั้งภาคราชการ ภาคเอกชนและภาคสังคมอย่างมากมาย บทความวิชาการนี้เป็นความพยายาม ของผู้เขียนที่จะชี้ให้เห็นว่าการบริหารจัดการที่ล้ํายุคของภาครัฐเท่านั้นที่จะสามารถจัดการกับสภาวะของโลก และความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและสิ้นเชิงตลอดเวลา บทความนี้เริ่มจากการศึกษาความเปลี่ยนแปลงในอดีตของการบริหารจัดการภาครัฐ กรณีศึกษาของประเทศตัวอย่างที่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน การเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการภาครัฐของประเทศไทย และ สรุปด้วยข้อเสนอแนะว่าถึงเวลาแล้ว ที่ประเทศไทยจะต้องเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการภาครัฐที่ล้ํายุค จึงจะสามารถรับมือต่อการ เปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลกและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคมได้
References
Connors, S. (2016). GeoPolicy: Science and the policy cycle. European Geoscience Union Blogs: GeoPolicy, Outreach, Policy, Science Communication. Retrieved August 9, 2019 from https://www.egu.eu/policy/basics/cycle/
Gulick, L. &Urwick, L. (1937). Papers on the Science of Administration: Notes of the Theory of Organization. Institute of Public Administration. Journal of the American Academy of Political & Social Science, Vol. 7, 13-15.
Hood, C. (1991). A Public Management for All Seasons? Royal Institute of Public Administration, Vol. 69, Spring 1991, 3-19.
Malit, F. T. &Youha, A. (2013) Labor Migration in the United Arab Emirates: Challenges and Responses. UAE Migration Policy Institute. Retrieved December 9, 2018 from https://www.migrationpolicy.org/article/labor-migration-united-arab-emirateschallenges-and-responses
Morisson, A. &Doussineau, M. (2019). Regional Innovation Governance and Place-based Policies: Design, Implementation and Implications. Regional Studies, Regional Science, Vol. 6, Issue 1, 101-116.
OPDC. (2013). Strategic Plan for the Public Sector Development B.E. 2556-2561. Office of the Public Sector Development Commission.Bangkok: Vision Print and Media, 24-58.
The Royal Gazette. (2003). Criteria and Procedures for Good Governance B.E. 2546. The Royal Gazette Vol. 120, Sec. 100 Gor, 1-16.
The Royal Gazette. (2002). Government Administration Act (No. 5) B.E. 2545. The Royal Gazette Vol. 119, Sec. 99 Gor, 1-15.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.