การขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมสังคมคุณธรรมโดยเครือข่ายทางสังคม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
สังคมคุณธรรม, เครือข่ายทางสังคม, การขับเคลื่อน, พระนครศรีอยุธยาบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาการดําเนินงานเพื่อส่งเสริมคุณธรรมของ เครือข่ายทางสังคมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ (2) เพื่อนําเสนอแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมสังคม คุณธรรมโดยเครือข่ายทางสังคมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเก็บรวบรวม ข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มคณะทํางานขับเคลื่อนสังคมคุณธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 9 เครือข่าย พร้อมทั้งการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยพบว่า การขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมสังคมคุณธรรมโดยเครือข่ายทางสังคมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีลักษณะการขับเคลื่อนในหลายระดับทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ระดับหน่วยงาน/องค์กร ระดับ เครือข่าย และระดับระหว่างเครือข่าย ซึ่งแนวทางการขับเคลื่อนเป็นไปในสองมิติ คือ มิติในเชิงโครงสร้าง และมิติการ ขับเคลื่อนแบบขั้นบันได ทั้งนี้ประเด็นปัญหา ข้อจํากัด และอุปสรรคสําคัญที่พบ คือ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และสถานการณ์นํ้าท่วมในพื้นที่ การเปลี่ยนตัวผู้รับผิดชอบงาน งบประมาณไม่เพียงพอ ไม่มีองค์กร หรือหน่วยที่เป็นจุดเชื่อมประสานสําหรับการขับเคลื่อนเครือข่าย และเกิดความสับสนในบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในเครือข่าย ทั้งนี้ปัจจัยแห่งความสําเร็จขึ้นอยู่กับผู้นํา ความเข็มแข็งของสมาชิก บริบทของพื้นที่ และต้นทุนด้านต่าง ๆ เครือข่ายนั้น ๆ เป็นสําคัญ ข้อเสนอแนะต่อการขับเคลื่อนสังคมคุณธรรม คือควรทบทวนและพัฒนาโครงสร้างคณะทํางานในแต่ละเครือข่าย จัดสรรงบประมาณแก่เครือข่ายให้เพียงพอ สร้างการรับรู้ในเรื่องทิศทางและ แนวปฏิบัติให้ชัดเจน และการยกระดับความร่วมมือระหว่างเครือข่าย และข้อเสนอแนะสําหรับการวิจัยครั้งต่อไปควร มีการศึกษาเปรียบเทียบการขับเคลื่อนสังคมคุณธรรมโดยใช้เครือข่ายทางสังคมในพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ ภายใต้กรอบ การศึกษาและวิธีการศึกษาเดียวกัน
References
Agranoff, R., & McGuire, M. (2001). Big questions in public network management research. Journal of public administration research and theory, 11(3), 295-326.
Fu, X., Luo, J. D., Boos, M. (2017). Social network analysis interdisciplinary approaches and case study. New York: CRP press.
McIntyre, K. (2014). The evolution of social media from 1969 – 2103: A cage in competition and a trend toward complementary, niche site. The journal of social media in society, 3(2): 5 – 25.
Newman, N. (2009). The rise of social media and its impact on mainstream media (working paper). Oxford: Reuters Institute for the Study of Journalism. Retrieved from https://ora.ox.ac.uk/objects/uuid:a980df14-1b49-401b-a136-78d47ab76cdc.
Van de Ven, A. H., & Ferry, D. L. (1980). Measuring and assessing organizations.
ชลวิทย์ เจียรจิตต์ ชัยวัฒน์ พรหมจิตติพงศ์ ธันนิกานต์ สูญสิ้นภัย สายชลปัญญชิต และภูเบศ วณิชชานนท์. (2565). นวัตกรรมทางสังคมกับแนวทางการพัฒนาเครือข่ายสัมมาชีพชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 11(2), 1-14.
ปิยากร หวังมหาพร. (2563). การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ มองผ่านนโยบายประชารัฐ. กรุงเทพฯ กรุงเทพฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้ง
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2556). ทฤษฎีองค์การ : มุมมองต่างกระบวนทัศน์ กรุงเทพฯ : ดี. เค. ปริ้นติ้งเวิร์ล
ณัฐวรรษ อุไรอําไพ, กีรติพร จูตะวิริยะ และจักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง. (2561). “ทุน” กับการสร้างเครือข่ายทางสังคมของคนไทยเชื้อสายเวียดนามภายใต้การเปลี่ยนผ่านนโยบายในพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว จังหวัดนครพนม. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 35(3), 219-246.
พลอย สืบวิเศษ. (2561). ทุนทางสังคม การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานภาครัฐและผลการดําเนินงานของภาครัฐในประเทศไทย. นนทบุรี: รัตนไตร.
รพินทร์ ยืนยาว และธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. (2563). กระบวนการสร้างเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพด้านเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 37(1), 38-59.
มหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น). (2547). เครือข่าย: ธรรมชาติ ความรู้ และการจัดการ. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข.
ทรงศักดิ์ รักพ่วง. (2562). เครือข่ายทางสังคมของนักวิ่งมาราธอน. วารสารพัฒนาสังคม. 21(1), 95-113.
อติพร เกิดเรือง. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จของการจัดการเครือข่ายร่วมงานในโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ตามพระราชดําริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราช เจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.