การเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานสู่การเมืองระดับชาติ: กรณีศึกษา การเคลื่อนไหวของปีกแรงงานภายใต้พรรคอนาคตใหม่ ช่วงปี พ.ศ. 2561 – 2563

ผู้แต่ง

  • สินีนาฎ คะมะคต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ขบวนการแรงงาน, ปีกแรงงาน, พรรคอนาคตใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มุ่งวิเคราะห์และศึกษา บทบาท อุดมการณ์แนวคิด โครงสร้างเครือ ข่าย กลไก และวิธีการที่ใช้ในการยกระดับการเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานสู่การเมืองระดับชาติภายใต้พรรคอนาคตใหม่ในแต่ละช่วงเวลา ตั้งแต่ช่วงการเกิดรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และช่วงเวลา เปลี่ยนผ่านสู่การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 จนกระทั่งถึงช่วงสิ้นสุดอย่างเป็นทางการ การประกาศยุบพรรคอนาคตใหม่ในปี พ.ศ. 2563 จุดกระแสเกิดการเคลื่อนไหวทางสังคมโดยกลุ่มนักศึกษาพร้อมทั้งประชาชนภาคส่วนต่าง ๆ งานวิจัยชิ้นนี้ใช้วิธีศึกษารูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือวิจัยเชิงเอกสาร และเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกของขบวนการแรงงานที่รวมกลุ่มอย่างเป็นทางการภายใต้พรรคการเมือง ขอบเขตการศึกษา ครอบคลุมทุกกลุ่มในขบวนการนี้ ทั้ง (1) แกนนําหลักของปีกแรงงาน (2) ผู้นําสหภาพแรงงานที่เข้าร่วมขบวนการ (3) ทีมข้อมูลและนโยบายปีกแรงงาน และ (4) ผู้แทนราษฎรสัดส่วนปีกแรงงาน โดยเลือกตัวอย่างข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงตามประเด็นศึกษา และใช้เทคนิคการสุ่มแบบลูกโซ่
ผลการศึกษาพบว่า การเคลื่อนไหวเพื่อยกระดับเปลี่ยนการรับรู้ประเด็น รัฐสวัสดิการ กับแรงงาน และการเมืองประชาธิปไตยของปีกแรงงานพรรคอนาคตใหม่ ยังคงไม่สามารถเข้าถึงเพื่อเปลี่ยนการรับรู้แก่แรงงาน ทั่วไปที่อยู่นอกเครือข่ายได้อย่างครอบคลุมตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แม้จะมีผลตอบกลับบ้างเล็กน้อยในระดับปัจเจก บุคคลก็ตาม เนื่องด้วยเงื่อนไขและปัจจัยสําคัญที่เกิดจาก (1) ความเป็นประชาธิปไตยในประเทศ และแนวคิดสังคม นิยมประชาธิปไตยของพรรค ความเป็นประชาธิปไตยที่ส่งผลสะเทือนต่อรัฐสภาและการยุบพรรคอนาคตใหม่ที่มีอายุเพียงปีเศษ ตลอดจนช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงภายหลังจากการถูกยุบพรรค ที่ทําให้งานพื้นที่และมวลชนต้องหยุดชะงัก เหลือไว้แค่เพียงการทํางานด้านความคิดทางนโยบายแรงงานและรัฐสวัสดิการผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย รวมถึงแนวคิดของพรรคอนาคตใหม่ที่ช่วงหลังมีความเป็นเสรีนิยมเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อการผลักดัน นโยบายและร่างกฎหมายของกลุ่มปีกแรงงานผ่านกระบวนการของพรรคเป็นอย่างยิ่ง (2) โครงสร้างแท้จริงของ ขบวนการที่ยังไม่สามารถดําเนินการได้เต็มรูปแบบ ตลอดจนปัญหาการเชื่อมประสานเพื่อเพิ่มแนวร่วมขยายพื้นที่ ให้กับแรงงานนอกระบบอุตสาหกรรมแบบดั่งเดิมเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองระดับชาติร่วมกับขบวนการได้ (3) วิธีการเคลื่อนไหวผลักดันภายใต้กระบวนการฝั่งนิติบัญญัติของขบวนการไม่เป็นไปในทศิทางเดียวกันตามเป้าหมาย และกรอบที่วางไว้ ส่งผลให้เกิดร่องรอยความขัดแย้งในเรื่องยุทธวิธีออกเป็น 2 ฝั่งอย่างหลวม ๆ รวมถึงกลไกการ ขับเคลื่อนร่างกฎหมายของขบวนการผ่านพรรคที่ไม่สอดรับซึ่งกันและกัน ตลอดจนมีกระบวนการพิจารณาและ แก้ไขร่างกฎหมายที่ล่าช้าเป็นอย่างมาก เนื่องจากการถูกต่อต้านโดยกลุ่มทุนภายในพรรค (4) ทรัพยากรสนับสนุน จากพรรคที่มีเงื่อนไขและจํากัด ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการสื่อสารผ่านสื่อโซเชียลหลักของพรรค ชุดข้อมูลสนับสนุน นโยบายของขบวนการจากพรรค เป็นต้น ในภายหลัง ประเด็นเฉพาะหน้าด้านแรงงานมีความหลากหลายผ่านเข้า การประชุมรัฐสภาและประชุมกรรมาธิการแรงงานมากขึ้นจากกลุ่มอิสระและเครือข่ายนอกขบวนการ รวมถึงการ ขยายเครือข่ายพันธมิตรจากการทํางานด้นความคิดกับองค์กรภายนอกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เงื่อนไขดังกล่าวยัง ส่งผลต่อเป้าหมาย และรูปแบบการระดมทรัพยากรในปัจจุบัน ที่ขบวนการหันมาเน้นด้านทรัพยากรบุคคล ผ่านการขยายเครือข่ายอย่างมีกลไกและซับซ้อนมากขึ้น โดยเน้นการทํางานกับมวลชนผ่านการจัดตั้งอย่างเป็น กระบวนการ เพื่อวางฐานรากของขบวนการให้มั่นคง ขยายการสื่อสารรับรู้แก่สังคม กระจายอํานาจและทรัพยากร ภายใต้โครงสร้างสังคมการเมืองให้แก่กลุ่มผู้ใช้แรงงานอื่น ๆ ผ่านทางเครอืข่ายในขบวนการ

References

บันทึก 6 ตุลา. “การต่อสู้ของกรรมกร.” บันทึก 6 ตุลา. สืบค้น เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565, https://doct6.com/learn-about/how/chapter-2/2-2/2-2-1.

อุเชนทร์ เชียงเสน. “กรอบโครงความคิดและตีคนเลว ตีคนชั่ว ไม่บาป.” ประชาไท. สืบค้นเมื่อวันท่ี 26 พฤศจิกายน 2564. https://prachatai.com/journal/2009/06/24648.

ศูนย์มติชน. มติชนบันทกึ ประเทศไทย ปี 2557. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มติชน, 2558.

นภาพร อติวานิชยพงศ์. “ประวัติศาสตรแรงงานไทยใต้เงาการเมือง: จาก 2475 สู่ยุคเหลือง-แดง.” นักข่าวพลเมือง. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564, https://www.facebook.com/citizenthaipbs/photos/a.346475168714362/1380331558662046/?type=3&locale2=hi_IN

ประชาไท. “10 ปี ประชาไท: สถานการณ์แรงงาน.” ประชาไท. สืบค้นเมื่อวันท่ี 26 พฤศจิกายน 2564, https://prachatai.com/journal/2014/10/56102

พจนา วลัย. “การเลิกจ้างผู้นําแรงงานภายใต้รัฐบาลทหาร: ความมั่นคงของรัฐ สวนทางกับความมั่นคงของแรงงาน.” ประชาไท. สืบค้นเมื่อวันท่ี 6 มีนาคม 2564. https://prachatai.com/journal/2016/06/66329.

พจนา วลัย. “ศักดิ์ศรีของกรรมกรอยู่ตรงไหน.” ประชาไท. สืบค้นเมื่อวันท่ี 6 มีนาคม 2564. https://prachatai.com/journal/2016/05/65545

ไอลอร์. “เปรียบเทียบประกาศ คปค.2549 vs ประกาศ คสช.2557.” ไอลอร์. สืบค้นเมื่อวันท่ี 9 เมษายน 2565, https://ilaw.or.th/node/4747

เชตวัน เตือประโคน. “ขบวนการแรงงานในพรรคการเมือง.” คณะก้าวหน้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2565, https://progressivemovement.in.th/article/progressive/interview/520/

เจนวิทย์ เชื้อสาวะถี. ปักธงอนาคต. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมติชน, 2561.

ปยบุตร แสงกนกกุล. การเมืองแห่งความหวัง. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, 2562.

พรรคอนาคตใหม่. “เอกสารการประชุมจัดตั้งพรรคอนาคตใหม่ 27 พฤษภาคม 2561.” วาระการประชุมจัดตั้งพรรคอนาคตใหม่, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, 27 พฤษภาคม 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-06

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ