การจัดระบบการตรวจสอบโครงการวิจัย : กลยุทธ์ในการสร้างเสริมความเชื่อถือได้ของงานวิจัยเชิงคุณภาพ

ผู้แต่ง

  • จำเนียร จวงตระกูล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • อุทัย อันพิมพ์ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • พรรษวรรณ สุขสมวัฒน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ระบบการตรวจสอบโครงการวิจัย, ความเชื่อถือได้ของงานวิจัย, การวิจัยเชิงคุณภาพ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาในรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างระบบการตรวจสอบโครงการวิจัยซึ่งเป็นกลยุทธ์หรือวิธีการหนึ่งในการสร้างความเชื่อถือได้ของงานวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมที่ไม่ใช้ระบบ โดยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างระบบการตรวจสอบโครงการวิจัยแล้วสกัดข้อมูลที่ได้ศึกษานำมาใช้เพื่อเป็นฐานในการเขียนบทความนี้ วรรณกรรมที่ได้ศึกษาประกอบด้วย แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างความเชื่อถือได้ของงานวิจัย รวมทั้งหลักการพื้นฐานสี่ประการของความเชื่อถือได้ของงานวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย ความน่าเชื่อถือ การถ่ายโอนผลการวิจัย การพึ่งพากับเกณฑ์อื่นได้ และการยืนยันผลการวิจัย กลยุทธ์หรือวิธีการสร้างความเชื่อถือได้ของงานวิจัยเชิงคุณภาพ 22 วิธีการ โดยเน้นหนักที่การจัดระบบการตรวจสอบโครงการวิจัยเชิงคุณภาพ ต่อจากนั้นนำผลการศึกษามาสังเคราะห์เป็นความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ คือกระบวนการและขั้นตอนในการสร้างระบบการตรวจสอบโครงการวิจัยประกอบด้วย 6 ขั้นตอน มีรายละเอียดดังนี้ (1) การศึกษาหลักการพื้นฐานของการสร้างความเชื่อถือได้ของการวิจัยเชิงคุณภาพสี่ประการ (2) การศึกษากลยุทธ์หรือวิธีการสร้างความเชื่อถือได้ของงานวิจัยเชิงคุณภาพจำนวน 22 วิธีการโดยเน้นหนักที่การจัดระบบการตรวจสอบโครงการวิจัยเชิงคุณภาพ (3) การศึกษาส่วนประกอบสำคัญของระบบการตรวจสอบการวิจัยเชิงคุณภาพ (4) การศึกษาแนวทางการสร้างระบบการตรวจสอบโครงการวิจัยเชิงคุณภาพ (5) การจัดทำระบบและนำระบบการตรวจสอบโครงการวิจัยสู่การปฏิบัติ ซึ่งนำไปสู่ (6) ความเชื่อถือได้ของงานวิจัยเชิงคุณภาพ ประโยชน์ของขั้นตอนที่ได้นำเสนอนี้ นักวิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิจัยใหม่ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการสร้างความเชื่อถือได้ของงานวิจัยเชิงคุณภาพได้

References

Bates, P. & Ward, C. (2024). How to avoid doing bad research. https://peterbates.org.uk/wp-content/uploads/2020/12/How-to-avoid-doing-bad-research.pdf

วรรณวิชนี ถนอมชาติ, อุทัย อันพิมพ์ และ จำเนียร จวงตระกูล (2563). การนำเสนอผลการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(4), 1-13.

Bajpai, S. & Bajpai, R. (2014). Goodness of measurement: Reliability and validity. International Journal of Medical Science and Public Health, 3(2), 112-115.

Mohajan, H. K. (2017). Two Criteria for Good Measurements in Research: Validity and Reliability. Annals of Spiru Haret University, 17(3), 58-82.

Lincoln, Y. S. & Guba, E. G. (1985). Naturalistic inquiry. Sage Publications.

Shenton, A. K. (2004). Strategies for ensuring trustworthiness in qualitative research projects. Education for Information, 22(2), 63-75.

จำเนียร จวงตระกูล, ตระกูล จิตวัฒนากร และศรัณยา เลิศพุทธรักษ์. (2568). การวิจัยและพัฒนา: จากปรัชญาสู่การปฏิบัติ. บริษัท ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด.

Dhillon, P. (2022). How to write a good scientific review article? The FEBS Journal, 289(13), 3589-3915.

Majumder, K. (2015). 6 article types that journals publish: A guide for early career researchers. https://www.editage.com/insights/6-article-types-that-journals-publish-a-guide-for-early-career-researchers

Carcary, M. (2020). The Research Audit Trail: Methodological Guidance for Application in Practice. The Electronic Journal of Business Research Methods, 18(2): 166-177.

McLeod, S. (2024). Audit Trail in Qualitative Research. The University of Manchester. https://www.researchgate.net/profile/Saul-Mcleod-2/publication/387685966_Audit_Trail_In_Qualitative_Research/links/6777b8d1894c5520853ff602/Audit-Trail-In-Qualitative-Research.pdf?origin=publication_detail&_tp=eyJjb250ZXh0Ijp7ImZpcnN0UGFnZSI6InB1YmxpY2F0aW9uIiwicGFnZSI6InB1YmxpY2F0aW9uRG93bmxvYWQiLCJwcmV2aW91c1BhZ2UiOiJwdWJsaWNhdGlvbiJ9fQ

Stahl, N. A. & King, J. R. (2020). Expanding Approaches for Research: Understanding and Using Trustworthiness in Qualitative Research. Journal of Developmental Education, 44(1), 26-28.

จำเนียร จวงตระกูล, กล้าหาญ ณ น่าน และศรัณยา เลิศพุทธรักษ์. (2567). ปรัชญาการวิจัย: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. บริษัท ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด.

Carcary, M. (2009). The research audit trail-enhancing trustworthiness in qualitative inquiry. Electronic Journal of Business Research Methods, 7(1), 11-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-30

How to Cite

จวงตระกูล จ., วงศ์ประสิทธิ์ น., อันพิมพ์ อ., & สุขสมวัฒน์ พ. (2025). การจัดระบบการตรวจสอบโครงการวิจัย : กลยุทธ์ในการสร้างเสริมความเชื่อถือได้ของงานวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย, 7(1), 1–14. สืบค้น จาก https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/2300