ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นพลเมืองดิจิทัลของเจเนอเรชั่น Z ในประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • ณรงค์ฤทธิ์ ปริสุทธิ์กุล คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

คำสำคัญ:

พลเมืองดิจิทัล, เจเนอเรชั่น Z, การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ, การรับรู้ความสามารถตนเองด้านดิจิทัล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นพลเมืองดิจิทัลของเจเนอเรชั่น Z ในประเทศไทยโดยใช้การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นงานวิจัยที่สืบค้นจากฐานข้อมูล TCI และ ThaiLIS โดยกำหนดกรอบเวลาของการเผยแพร่คือ 2558-2567 เกณฑ์ในการคัดเลือกคือเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นพลเมืองดิจิทัลของเจเนอเรชั่น Z ในประเทศไทย โดยพิจารณาจากคำสำคัญ บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง และเกณฑ์คุณภาพที่กำหนด ระเบียบวิธีวิจัย ใช้การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้มี 3 ส่วนประกอบด้วย 1. แบบคัดกรองงานวิจัย 2. แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย 3. แบบบันทึกผลการสกัดข้อมูล ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพในการวิเคราะห์ข้อมูล คัดเลือกงานวิจัยโดยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า งานวิจัยที่ได้ทำการสืบค้นมีจำนวน 275 เรื่อง มีงานวิจัยที่ผ่านเกณฑ์พิจารณารอบสุดท้ายจำนวน 4 เรื่อง  ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลในประเทศไทย มี 7 ปัจจัยได้แก่ 1. ทัศนคติ 2. ความตั้งใจแสดงพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัล 3. พฤติกรรมรับผิดชอบบนโลกดิจิทัล 4. ความคาดหวัง 5. เงื่อนไขการสนับสนุนพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัล 6. การรับรู้ความสามารถตนเองด้านดิจิทัล และ 7. ผลการเรียน รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมและพัฒนาปัจจัยทั้ง 7 เพื่อพัฒนาเจเนอเรชั่น Z ให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่สูงขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลดิจิทัลของรัฐบาล

References

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2566). แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566-2570. https://www.dga.or.th/

Ribble, M. (2015). Digital citizenship in schools: Nine elements all students should know (3rd ed.). International Society for Technology in Education.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (2565). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2565. http://www.etda.or.th/getattachment/78750426-4a58-4c36-85d3-d1c11c3db1f3/IUB-65-Final.pdf.aspx

Lu, C. & Gu, M. M. (2024). A systematic review and meta-analysis of factors and outcomes of digital citizenship among adolescents. Asia Pacific Journal of Education, (04), 1-16. https://doi.org/10.1080/02188791.2023.2296352

Al-Ali, A., Alsmairat, M., Qawasmeh, R., Mahrakani, N. & Alhazzani, N. (2024). Exploring the role of digital citizenship and digital empowerment to enhance academic erformance of business students. International Journal of Data and Network Science, 8(2), 1275-1284.

Ruenphongphun, P., Sukkamart, A. & Pimdee, P. (2022). Developing Thai undergraduate online digital citizenship skills (DCS) under the New Normal. Journal of Higher Education Theory and Practice, 22(9), 370-385. https://doi.org/10.18844/wjet.v13i3.5937

Jamal, B. & Rizvi, S. (2023). Analysis of the Digital Citizenship Practices among University Students in Pakistan. Pakistan Journal of Distance & Online Learning, 9(1), 50-68. http://doi.org/10.30971/pjdol.v9i1.1399

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2567). ทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 43(1), 43-53.

รยากร สุวรรณ์, สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล, ธรรมพร ตันตรา และสถาพร แสงสุโพธิ์ (2566). การศึกษาคุณสมบัติการเป็นพลเมืองดิจิทัลของสมาชิกสภาเยาวชน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 6(2), 1-16.

ชูชิต ชายทวีป, พิศณี พรหมเทพ และธนิษฐา สมัย. (2565). ทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 16(3), 147-156.

Mahadir, N. B., Baharudin, N. H. & Ibrahim, N. N. (2021). Digital Citizenship Skills among Undergraduate Students in Malaysia: A Preliminary Study. International Journal of Evaluation and Research in Education, 10(3), 835-844.

Suphattanakul, O., Maliwan, E., Eiamnate, N., & Thadee, W. (2023). Developing Digital Citizenship in Municipality: Factors and Barriers. International Journal of Sustainable Development & Planning, 18(5). 1499-1505.

จุไรรัตน์ ทองคำชื่นวิวัฒน์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะความฉลาดทางดิจิทัลกับพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัลของเยาวชนไทยใน กรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์, 25(3), 232-243.

ปาจรีย์ ติ้วสิขเรศ และศรันย์ พิมพ์ทอง. (2566). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 22(2), 364-387.

Joanna Briggs Institute. Joanna Briggs Institute Reviewers’ Manual: 2014 edition. The Joanna Briggs Institute. http://www.joannabriggs.org/sumari.html.

Ke, D. & Xu, S. (2017). A Research on factors affecting college students' digital citizenship. In 2017 International Conference of Educational Innovation through Technology (EITT) (pp. 61-64). IEEE.

สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2541). พฤติกรรมองค์การ : ทฤษฎีและการประยุกต์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Al-Zahrani, A. (2015). Toward digital citizenship: examining factors affecting participation and involvement in the Internet society among higher education students. International Education Studies, 8(12), 203-217.

Venkatesh, V., Morris, M. G., Davis, G. B. & Davis, F. D. (2003). User acceptance of information technology: Toward a unified view. MIS quarterly, 27(3), 425-478.

Engotoit, B., Kituyi, G.M. & Moya, M. B. (2016). Influence of performance expectancy on commercial farmers’ intention to use mobile-based communication technologies for agricultural market information dissemination in Uganda. Journal of Systems and Information Technology, 18(4), 346-363. https://doi.org/10.1108/JSIT-06-2016-0037

Bandura, A. & Wessels, S. (1997). Self-efficacy. Cambridge University Press.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2561). คู่มือพลเมืองดิจิทัล. สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. https://thaidigizen.com/wpcontent/uploads/2018/06/DigitalCitizenship-Book-ok.pdf

Dunaway, M. & Macharia, M. (2021). The effect of digital citizenship on negative online behaviors and learning outcomes in higher education. Journal of Information Systems Education, 32(4), 294-307.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-30

How to Cite

ปริสุทธิ์กุล ณ. (2025). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นพลเมืองดิจิทัลของเจเนอเรชั่น Z ในประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย, 7(1), 84–95. สืบค้น จาก https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1787