การศึกษานโยบายการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ และการถอดบทเรียนประเทศนอร์เวย์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศสหราชอาณาจักร และประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุธามน สืบเส้ง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • นาอีม แลนิ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ยานยนต์ไฟฟ้า, นโยบาย, มาตรการเชิงนโยบาย, กรณีศึกษาเชิงเปรียบเทียบ, การถอดบทเรียน

บทคัดย่อ

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Change) เป็นหนึ่งในปัญหาที่นานาประเทศกำลังให้ความสนใจเพื่อการบรรเทาและยับยั้งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EVs) นับได้ว่าเป็นหนึ่งในทางเลือกที่หลายประเทศใช้เพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบนโยบายและถอดบทเรียนเชิงนโยบายการสนับสนุนการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยศึกษากรณีศึกษาเชิงเปรียบเทียบ (comparable case study method) ศึกษามาตรการนโยบายของประเทศนอร์เวย์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศสหราชอาณาจักร และประเทศไทย เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อค้นพบของงานวิจัยสำหรับเสนอแนะแนวทางให้แก่ภาครัฐในเรื่องของมาตรการนโยบายการสนับสนุนการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ทั้งสามประเทศ ประเทศนอร์เวย์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศสหราชอาณาจักรมีมาตรการนโยบายที่คล้ายกันในด้านการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้า คือ การกำหนดมาตรการภาษีสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าที่ออกในนามบริษัท (company car tax tax) กล่าวคือ ยานยนต์ไฟฟ้าที่ออกในนามของบริษัทจะได้รับการลดการจัดเก็บภาษีทั้งสำหรับตัวยานยนต์และภาษีการสร้างมลพิษของบริษัท อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสนับสนุนผ่านมาตรการทางภาษีเพื่อให้เกิดความร่วมจากภาคเอกชน ขณะที่ประเทศไทยภาครัฐจะสนับสนุนการออกยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อใช้ในที่ทำงานจะพบได้ในส่วนราชการ แต่ภาคเอกชนยังไม่ได้รับการสนับสนุนโดยตรงอย่างประเทศอื่น การส่งเสริมการใช้รถยนต์จึงต้องอาศัยมาตรการทางนโยบายที่ครอบคลุมและเชื่อมโยงระหว่างภาคส่วน นอกจากสนับสนุนภาคส่วนการผลิตยานยนต์แล้วการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมีความสำคัญในการผลักดันและสนับสนุนทั้งผู้ใช้ สถานที่อำนวยความสะดวกและระบบนิเวศการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า (EVs) เพื่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน

References

สหประชาชาติประเทศไทย. (2022). สาเหตุและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. https://thailand.un.org/th/174652-สาเหตุและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

European Environment Agency. ( 2015). Adoption of the EU Euro emissions standards for road vehicles in Asian countries. https://www.eea.europa.eu/data-and-maps/figures/number-of-international-environmental-agreements-adopted-1

LeasePlan. (2022). EV Readiness Index 2022. https://evmarketsreports.com/ev-readiness-index-2022-2/

Castles, F. G. (1992). The Comparative history of public policy. Polity.

Gomm, R., Hammersley, M. and Foster, P. (2000). Case study method key issues, key texts. SAGE Publications.

Rose, R. (1991). What Is Lesson-Drawing? Journal of Public Policy, 11(1), 3-30. https://www.jstor.org/stable/4007336

Dolowitz, D. P. and Marsh, D. (2000). Learning from Abroad: The Role of Policy Transfer in Contemporary Policy-Making. Governance, 13(1), 5-23. http://dx.doi.org/10.1111/0952-1895.00121

เกษียร เตชะพีระ, ทวิดา กมลเวชช, ธีรพัฒน์ อังศุซวาล, นิตยา โพธิ์นอก, พัชรี สิโรรส, พัชราภา ตันตราจิน, ภาคภูมิ ฤกขะเมธ, วรรณภา ติระสังขะ, วสันต์ เหลืิงประภัสร์, ศรีสัจจา เนียมสุวรรณ, โสภารัตน์ จารุสมบัติ, อมรศักดิ์ กิจธนานันท์, อรรถกฤต ปัจฉิมนันท์. (2558). เปิดกล่องนโยบายสาธารณะ หลากมุมในการศึกษานโยบายสาธารณะร่วมสมัย. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

statista. (2022). Estimated number of plug-in electric vehicles in use in selected countries as of 2022. https://www.statista.com/statistics/244292/number-of-electric-vehicles-by-country/

LeasePlan. (2022). EV Readiness Index 2022. https://evmarketsreports.com/ev-readiness-index-2022-2/

Norwegian Ministry of Climate and Environment. (n.d.). Norway’s Climate Action Plan for 2021-2030. https://www.regjeringen.no/contentassets/a78ecf5ad2344fa5ae4a394412ef8975/en-gb/pdfs/stm202020210013000engpdfs.pdf

Farstad, F. M., Tønnesen, A., Christensen, I., Grasbekk, B. S. & Brudevoll, K. (2022). Metagoverning through intermediaries: the role of the Norwegian “Klimasats” Fund in translating national climate goals to local implementation. POLICY STUDIES, 44(5), 646-665. https://doi.org/10.1080/01442872.2022.2142205

Norwegian Ministry of Climate and Environment. (2022). Norway’s Eighth National Communication. https://www.regjeringen.no/en/dokumenter/norways-eighth-national-communication/id2971116/?ch=1

HM Government. (2021). Transitioning to zero emission cars and vans: The Government’s 2035 Delivery Plan. https://www.gov.uk/government/publications/transitioning-to-zero-emission-cars-and-vans-2035-delivery-plan

Edwards, H., Stewart, I., Mawhood, B. and Bolton, P. (2023). Electric vehicles and infrastructure. https://commonslibrary.parliament.uk/research-briefings/cbp-7480/

Laadinfrastructuur, N. A. (2022). Dutch National Charging Infrastructure Agenda. September 2022. https://www.agendalaadinfrastructuur.nl/ondersteuning+gemeenten/documenten+en+links/documenten+in+bibliotheek/handlerdownloadfiles.ashx?idnv=1767173

Ministry of Economic Affairs and Climate Policy. (2019). Climate Agreement. https://www.klimaatakkoord.nl/documenten/publicaties/2019/06/28/national-climate-agreement-the-netherlands

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-30

How to Cite

สืบเส้ง ส., & แลนิ น. (2025). การศึกษานโยบายการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ และการถอดบทเรียนประเทศนอร์เวย์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศสหราชอาณาจักร และประเทศไทย. วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย, 7(1), 37–51. สืบค้น จาก https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1184