บทบาทขององค์กรผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ, องค์กรผู้ใช้น้ำ, ลุ่มน้ำปิงบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนบทบาทขององค์กรผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูลในบทความนี้ ได้มาด้วยกระบวนการศึกษาเชิงคุณภาพ จากแหล่งข้อมูล 2 ประเภท ได้แก่ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 และกฎหมายลำดับรอง และการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้างจากผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ จำนวน 5 คน ผลการศึกษาพบว่าการดำเนินงานองค์กรผู้ใช้น้ำมีความสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด แต่พบปัญหาหลายประการได้แก่ การขาดความรู้ความเข้าใจในหน้าที่อำนาจและความรู้ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตลอดจนแนวทางในการพัฒนาองค์กรผู้ใช้น้ำยังไม่มีความชัดเจน นอกจากนี้องค์กรผู้ใช้น้ำส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่ชลประทานไม่ครอบคลุมทั่วทั้งลุ่มน้ำ ส่งผลให้ขาดความเข้มแข็งในการเชื่อมโยงกันระหว่างเครือข่ายองค์กรผู้ใช้น้ำในพื้นที่ ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำขององค์กรผู้ใช้น้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีข้อเสนอแนะให้มีการจัดการองค์ความรู้องค์กรผู้ใช้น้ำ สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมทั้งภายในและภายนอก รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้น้ำตระหนักถึงความสำคัญเพื่อเชิญชวนให้เข้ามาจดทะเบียนเป็นองค์กรผู้ใช้น้ำ
References
วสันต์ เหลืองประภัสร์, นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และเกรียงชัย ปึงประวัติ. (2557). การศึกษาและรวบรวมตัวอย่างการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน (Collaborative Governance) ระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคมและชุมชน. รายงานวิจัยเสนอต่อ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) ภายใต้การสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพ (สสส.). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เกรียงศักดิ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.
ชูศุกดิ์ เอกเพชร. (2562). การบริหารจัดการเครือข่ายการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2566, จาก https://graduate.sru.ac.th/wp-content/uploads/2018/06/Educational-Network-Management.pdf
สำนักงานชลประทานที่ 4. (2564). ชป.เดินหน้าจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ช่วยกันแก้ไขปัญหาน้ำแล้ง/น้ำท่วมอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2567, จาก http://irrigation.rid.go.th/rid4/rid4-news/index.php/2021/03/19/38576
พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561. (2561, 28 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 112 ก. หน้า 48-55,60-61.
พระราชกฤษฎีกากำหนดลุ่มน้ำ พ.ศ.2564. (2564, 11 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนที่ 12 ก. หน้า 17-19.
กฎกระทรวงองค์กรผู้ใช้น้ำ พ.ศ. 2564. (2564, 2 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนที่ 8 ก. หน้า 16-17,19-20.
ฐานเศรษฐกิจ. (2564). สทนช. ตอบ 10 ข้อสงสัย ก้าวต่อไปหลังแจ้งเกิด “องค์กรผู้ใช้น้ำ”. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2567, จาก https://www.thansettakij.com/business/471974
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.