การมีส่วนร่วมของประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ กรณีศึกษาหมู่บ้านวังหาด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การอนุรักษ์, ทรัพยากรป่าไม้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ กรณีศึกษาหมู่บ้านวังหาด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่าน
ลานหอย จังหวัดสุโขทัย การวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลจากเอกสารและจากผู้นำชุมชน 5 คน เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้
3 คน และประชาชน 12 คน รวมทั้งสิ้น 20 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยใช้เแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอผลการวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ดังนี้ การมีส่วนร่วมในการทำแนวกันไฟ การมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังการลักลอบตัดไม้และการจับสัตว์ป่า การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ การมีส่วนร่วมในการติดต่อประสานงาน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการมีส่วนร่วมในการได้รับผลประโยชน์ 2) ปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ได้แก่ ปัญหาด้านงบประมาณ ปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาด้านความร่วมมือจากประชนชนในพื้นที่ ปัญหาด้านการติดต่อสื่อสาร ปัญหาการขาดความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าไม้และการแสวงหาผลประโยชน์จากป่าไม้โดยมิชอบ 3) ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ กรณีศึกษาหมู่บ้านวังหาด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐควรสนับสนุนงบประมาณให้มากขึ้นในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ควรจัดอบรมให้ความรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้แก่ประชาชนในพื้นที่
ควรส่งเสริมและพัฒนาป่าชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้แก่ประชาชน ประชาชน และหน่วยงานภาครัฐควรเฝ้าระวังและสังเกตการณ์บุคคลที่ลักลอบเข้าไปตัดไม้หรือล่าสัตว์
References
ศิรพร ชูประสูตร. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ กรณีศึกษาเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาพระแทว จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ศุภวิชญ์ จิราพงษ์ และธนัสถา โรจนตระกูล. (2564). แนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้แบบยั่งยืน. วารสาร Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(10), 441-458.
ทศพล พงษ์ต๊ะ, กอบกุลณ์ คำปลอด และยุทธศาสตร์ หน่อแก้ว. (2562). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการป่าชุมชนบ้านป่าซางวิวัฒน์ ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารการเมืองการปกครอง, 9(3), 71-94.
กนกวรรณ ทุมอนันต์, อดิศักดิ์ ทุมอนันต์ และฉัตรชัย ชมชารี. (2564). การจัดการป่าชุมชนแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาป่าชุมชนดงหัน บ้านท่าม่วง ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 5(1), 33-41.
ศิริลักษณ์ เทียนหอม. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนวัดสังฆราชาวาส เทศบาลเมืองสิงห์บุรี. วารสารโครงการทวิปริญญาทางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ, 1-17.
อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา. (2563). การหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการป่าชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนา, 15(2), 127-137.
วินิจ ผาเจริญ. (2562). การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการจัดการพื้นที่ป่าบ้านห้วยฮี้ ตำบลห้วยปูลิง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 4(2), 137-150.
ประดิษฐ์ หงส์สอง และสุวรัฐ แลสันกลาง. (2562). การบริหารการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 แพร่ แบบชุมชนมีส่วนร่วมในเขตพื้นที่ชุมชนห้วยบ่อเบี้ย ตำบลวังหงส์ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 2(3), 17-29.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.