แนวทางการพัฒนาความร่วมมือในการผลิตอุปกรณ์ทางทหารภายในประเทศ สำหรับหน่วยทหารขนาดเล็ก กรณีศึกษา : กรมรบพิเศษที่ 5
คำสำคัญ:
หุ้นส่วนการสร้างความร่วมมือ, การสร้างนวัตกรรม, ประสิทธิภาพทางการทหาร, ระบบนิเวศอุตสาหกรรมป้องกันประเทศบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาความร่วมมือในการผลิตอุปกรณ์ทางทหารภายในประเทศ สำหรับหน่วยทหารขนาดเล็ก โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการรวบรวมข้อมูล
ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาความร่วมมือในการผลิตอุปกรณ์ทางทหารสำหรับหน่วยทหารขนาดเล็กภายในประเทศ และประมวลผลการศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับการวิเคราะห์สรุปอุปนัย เพื่อพัฒนาแนวทางการร่วมมือและนำไปสู่การปฏิบัติ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ยุทโธปกรณ์ทางทหารประเภทใดที่หน่วยทหารขนาดเล็กมีความต้องการและเห็นว่าควรมีการผลิตภายในประเทศ พบว่า โดยส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ทางทหารที่มีความจำเป็นและเร่งด่วนเป็นอุปกรณ์สำหรับงานหรือภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานจริงที่ยังมีความขาดแคลนหรือไม่เพียงพอ เช่น กล้องตรวจการณ์เวลากลางคืน ระบบติดต่อสื่อสาร เป็นต้น ซึ่งส่งผลเกี่ยวเนื่องไปกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกเตรียมกำลังสำหรับการออกปฏิบัติงานจริงเช่นกัน 2) ประเมินศักยภาพและอุปสรรคของทางด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ในการผลิตอุปกรณ์ทางทหารของประเทศไทย พบว่า ประเทศไทยมีทรัพยากรหรือวัตถุดิบที่สามารถนำไปใช้ในการผลิตอุปกรณ์ทางทหารได้ผ่านการแปรรูปหรือแปรสภาพด้วยเทคโนโลยีแต่เนื่องด้วยต้นทุนและการขาดการสนับสนุนจากรัฐ ซึ่งมีหน้าที่อีกนัยหนึ่งคือผู้ควบคุมกฎ กติการในองค์ประกอบทำให้การผลผลิตจึงเป็นคุณภาพที่รองลงมา นอกจากนี้อุปสรรคสำคัญที่ส่งผลอย่างมีนัยยะสำคัญต่อการพัฒนา, วิจัย และผลิต คือ การขาดการกำหนดมาตราฐานของอุปกรณ์ให้มีมาตราฐานในระดับสากล และ 3) ระดับและแนวทางการพัฒนาความร่วมมือระหว่างรัฐ - เอกชน ในการผลิตอุปกรณ์ทางทหารภายในประเทศและนำไปสู่การปฏิบัติ พบว่า ในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การทั้ง 3 ส่วน คือ หน่วยงานด้านความมั่นคง, ภาคอุตสาหกรรม และสถาบันวิชาการ มีความสัมพันธ์กันอย่างผิวเผินหรือกล่าวได้ว่ามีการร่วมมือในบางโอกาสเท่านั้น และเป็นการร่วมงานในลักษณะงานที่เป็นงานด้านประชาสัมพันธ์หรืองานด้านกิจการพลเรือนเป็นหลัก นอกจากนี้ด้วยข้อจำกัดด้านการติดต่อประสานและแบ่งปันทรัพยากรระหว่างกันเนื่องจากแต่ละหน่วยงานและองค์กรมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน
References
Ansell, C. & Gash, A. (2008). Collaborative Governance in Theory and Practice. https://www.researchgate.net/publication/31311629_Collaborative_Governance_in_Theory
บดินทร์ สันทัด. (2560). การประยุกต์แนวคิดการแข่งขันสะสมอาวุธของ Samuel Huntingtonเพื่อวิเคราะห์ความมั่นคงระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. [วิทยานิพนปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ndsijournal/article/view/94836/74121
ธนินท์รัฐ สิทธิเวชธนาศิริ. (2564). การศึกษาการเพิ่มขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ. https://nc.rtaf.mi.th/images/pdf_research61/research64/5.pdf
อนุชา เครือประดับ. (2561). อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ 4.0. https://awc.rtaf.mi.th/images/File/AWC_Journal/awcjournal_3_Final_V2.pdf
ชัชพงษ์ พันธุ์พยัคฆ์. (2565). กลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของประเทศไทย. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/260825
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.