แนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในภารกิจศุลกากร ของด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ด่านศุลกากร, ภารกิจศุลกากร, เทคโนโลยีบล็อกเชนบทคัดย่อ
การศึกษางานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหา อุปสรรคและข้อจำกัดในการปฏิบัติงานและศึกษารูปแบบของเทคโนโลยีบล็อกเชนที่มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ใน
การปฏิบัติงานศุลกากร รวมไปถึงการศึกษาเพื่อหาข้อเสนอแนะ แสดงความคิดเห็นถึงแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในภารกิจของด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ ใช้วิธีการศึกษางานวิจัยเชิงคุณภาพโดยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 12 คน ได้แก่ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานศุลกากร กลุ่มผู้บริหารของด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศของกรมศุลกากรและเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำข้อมูลที่รวบรวมนำมาวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Content Analysis
ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากข้อจำกัดในการปฏิบัติงาน เรื่องของระบบ
การเชื่อมโยงในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างสมบูรณ์ เรื่องข้อจำกัดในข้อกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ รวมไปถึงการขาดทรัพยากรบุคคลที่เป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีไม่เพียงพอต่อปริมาณงาน และส่วนงานที่เห็นควรจะต้องนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหา อุปสรรคและลดข้อจำกัดที่จำเป็นมากที่สุด คือ ฝ่ายควบคุมและตรวจสอบทางศุลกากร การปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบตรวจสอบและคัดกรองผู้โดยสารล่วงหน้า (APPS) ในการปฏิบัติพิธีการทางศุลกากรผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนแบบส่วนตัว (private blockchain) ที่สอดคล้องกับภารกิจด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการปกป้องสังคมให้ปลอดภัยด้วยระบบควบคุมทางศุลกากร โดยมีข้อเสนอแนะในการวิจัยในครั้งนี้เห็นควรมีการปรับปรุงและแก้ไขระเบียบปฏิบัติหรือข้อกฎหมาย ก่อนการที่จะนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงานเห็นควรที่จะมีการแก้ระเบียบปฏิบัติหรือกฎหมายที่จำเป็นก่อนและควรมีการสร้างองค์ความรู้ (knowledge management :KM) แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานศุลกากรให้มากขึ้น
References
Yermack, D. (2017). Corporate governance and blockchains. Review of Finance, 21(1), 7-31.
สำนักงานที่ปรึกษาการศุลกากรประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบรัสเซลส์. 2561. Blockchain กับแผนยุทธศาสตร์ดิจิทัลของศุลกากรสิงคโปร์. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2566, จาก http://brussels.customs.go.th/.
ด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่. (2566). สถิติผลการดำเนินการตรวจผู้โดยสาร ปีงบประมาณ 2566. ฝ่ายควบคุมและตรวจสอบทางศุลกากร ด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่.
ธรินด์ เลิศสุขีเกษม. 2565. การปรับตัวขององค์การภาครัฐสู่รัฐบาลดิจิทัล: ศึกษากรณีการปรับตัวของกระทรวงการต่างประเทศสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลตามกรอบของแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2563 - 2565. [สารนิพนธ์ปริญญาโท]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Toshendra Kumar Sharma. (2023). Types of Blockchains Explained- Public Vs. Private Vs. Consortium. From https://www.blockchain-council.org/blockchain/types-of-blockchains-explained-public-vs-private-vs-consortium/
Thibodeau, M. (2019). 3 Types of Blockchain Explained. Retrieved January 13, 2024, From https://hedgetrade.com/3-types-of-blockchain-explained/.
Buterin, V. (2014). A next-generation smart contract and decentralized application platform. From white paper.
สำนักงานตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. (2565). การใช้ข้อมูลการเดินทางของผู้โดยสาร (PNR) ภายใต้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2567, จาก https://suvarnabhumipassenger.customs.go.th/
พิยวรรณ สุภัททธรรม. 2564. การศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการ (e-Project) กรณีศึกษากรมศุลกากร. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาโท]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภสุ เขียวสอาด. 2562. ทักษะทางดิจิทัลการแทรกแซงการพัฒนาองค์กรการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จิตวัต ธัญธีรภาพ. (2563). การพัฒนาระบบบริหารจัดการของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ให้สอดคล้องกับกระบวนการศุลกากรไปรษณีย์ในยุคปัจจุบัน : กรณีศึกษา แผนกไปรษณีย์ระหว่างประเทศ ศูนย์ไปรษณีย์กรุงเทพ. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาโท]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). 2565. แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 - 2570. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.).
อภิโชต ชมพล. (2563). องค์กรนวัตกรรมกับธรรมาภิบาลของศุลกากรไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 10(1), 118-125.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.